TUE, 03/17/2015 - 14:42 JOM
ที่มา Thai Voice Media
ที่มา Thai Voice Media
นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) และทนายความ ภาพจากมติชน |
กรณีที่ น.ส.ณัฐธิดา มีวังปลา หรือ น้องแหวน พยานปากสำคัญในคดี 6 ศพที่วัดปทุมฯ เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 53 ได้ถูกทหารจับตัวไปอย่างเงียบๆ เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา โดยไม่มีการแจ้งให้ญาติๆ ทราบ จนมีกระแสข่าวกดดันจากสังคม ล่าสุด ทหารได้ออกมายอมรับว่า มีการจับกุมตัวน้องแหวนไปจริง พร้อมทั้งตั้งข้อกล่าวหา ร่วมวางแผนก่อเหตุระเบิดที่ศาลอาญา รัชดา เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา โดยศาลทหารไม่อนุญาติให้ประกันตัว พร้อมทั้งได้นำตัวไปฝากขังผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน นั้บตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของน้องแหวน ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia ว่า ขณะที่น้องแหวนถูกจับกุมไปนั้นถูกปิดตา และถูกข่มขู่ด้วยวาจา แต่ไม่พบการทารุณแต่อย่างใด และขณะทีทหารนำตัวน้องแหวนมาศาลทหารกรุงเทพฯ ก็ถูกกีดกันไม่ให้ผู้ต้องหาได้รับความเป็นธรรม โดยไม่ให้ทนายที่ ผู้ต้องหาพึงประสงค์ ร่วมฟังการพิจารณาคดีก่อนการฝากขังด้วย ทำให้เป็นห่วงว่ากระบวนการพิจารณาคดีโดยศาลทหารอาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรม และอาจจะโยงไปถึงการที่ น้องแหวน เป็นพยานปากสำคัญในคดี 6 ศพที่วัดปทุมฯ เมื่อปี 53 ด้วย
ooo
ศาลทหารฝากขัง 12 วัน 'พยานวัดปทุม' คดีอั้งยี่โยงระเบิดศาลอาญา
'ณัฎฐธิดา มีวังปลา' ภาพจากมติชน |
Wed, 2015-03-18 06:17
ที่มา ประชาไท
ศาลทหาร ฝากขัง 12 วัน 'ณัฎฐธิดา มีวังปลา' กับพวกรวม 3 คน ฐานเกี่ยวโยงคดีปาระเบิดศาลอาญา และไม่อนุมัติการขอประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีร้ายแรง
18 มี.ค. 2558 - ที่ศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนส่งตัว 3 ผู้ต้องหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีปาระเบิดศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย น.ส.ณัฎฐธิดา มีวังปลา หรือ แหวน พยาบาลอาสาและพยานปากสำคัญคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม นายณเรษ อินทร์โสภา และ น.ส.วาสนา บุตรดี
ในรายงานของ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) เปิดเผยว่า ได้ยื่นคัดค้านการฝากขังพร้อมทั้งยื่นหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ในการขอประกัน น.ส.ณัฎฐธิดา 6 แสนบาท และ น.ส.วาสนา 4 แสนบาท เพราะเห็นว่าบุคคลทั้งสองอยู่ห่างไกลจากข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน ในส่วนของ น.ส.ณัฎฐธิดา นั้น ถูกลากไปเกี่ยวโยงกับการโอนเงิน เพราะเจ้าตัวไปยืมเงินจำนวนหนึ่งกับบุคคลที่กระทำความผิด ซึ่งรู้จักกันก่อนหน้านี้ จึงถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยง
สำหรับ น.ส.วาสนา ให้บุคคลที่ไม่รู้จักยืมบัญชีธนาคารไปใช้ โดยที่ไม่รู้วัตถุประสงค์ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ส่วนที่บุคคลทั้งหมดถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย (อั้งยี้) ซึ่งถือเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง ในส่วนของนายณเรษ จะมีญาติมายื่นขอประกันในวันที่ 18 มีนาคมนี้ จากนั้นคณะตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาอ่านคำร้องที่เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 3 คน พร้อมรับฝากขัง ผลัดแรก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 17 - 28 มีนาคม ซึ่งขณะนี้ศาลทหารกรุงเทพ ไม่อนุมัติการประกันตัว เนื่องจากเป็นความผิดในคดีร้ายแรง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีและเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. ยืนยัน ทหารไม่ได้เข้าควบคุมตัว น.ส.ณัฎฐธิดา ไปจากบ้านพัก โดยการเชิญหรือควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ต้องแสดงตนชัดเจน ขอให้ประชาชนมั่นใจ และต่อมาวันที่ 17 มี.ค. พ.อ.วินธัย ยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนคดีความมั่นคงสำคัญของทหารและตำรวจ ไปขอเชิญตัว น.ส.ณัฎฐธิดา เพื่อไปให้ข้อมูลกับทางเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทำงานในชุดสืบสวนคดีสำคัญได้พบข้อมูลความเชื่อมโยงสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวกับคดีความมั่นคง ที่กำลังสืบสวนอยู่ในขณะนี้ โดยคาดว่า น.ส.ณัฎฐธิดา อาจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการคลี่คลายคดี โดยยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่วัดปทุมวนาราม เมื่อปี 2553 เพราะคดีดังกล่าวจบไปแล้ว
ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้อง คสช. กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสอบสวนการทรมานผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญาระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก โดยอ้างว่าได้รับร้องเรียนจากผู้ต้องหา 4 รายที่ถูกจับกุมในคดีวางระเบิดศาลอาญาว่าถูกซ้อมทรมานระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกวันที่ 9-15 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยผู้ต้องหา 4 รายได้แก่ นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นายชาญวิทย์ จริยานุกูล นายนรพัฒน์ เหลือผล และนายวิชัย อยู่สุข (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ศูนย์ทนายสิทธิฯ เผยผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลถูกซ้อม จี้ คสช.-ทหารหยุดใช้กฎอัยการศึกจับคน
ศาลทหาร ฝากขัง 12 วัน 'ณัฎฐธิดา มีวังปลา' กับพวกรวม 3 คน ฐานเกี่ยวโยงคดีปาระเบิดศาลอาญา และไม่อนุมัติการขอประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีร้ายแรง
18 มี.ค. 2558 - ที่ศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนส่งตัว 3 ผู้ต้องหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีปาระเบิดศาลอาญา เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วย น.ส.ณัฎฐธิดา มีวังปลา หรือ แหวน พยาบาลอาสาและพยานปากสำคัญคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม นายณเรษ อินทร์โสภา และ น.ส.วาสนา บุตรดี
ในรายงานของ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) เปิดเผยว่า ได้ยื่นคัดค้านการฝากขังพร้อมทั้งยื่นหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ในการขอประกัน น.ส.ณัฎฐธิดา 6 แสนบาท และ น.ส.วาสนา 4 แสนบาท เพราะเห็นว่าบุคคลทั้งสองอยู่ห่างไกลจากข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน ในส่วนของ น.ส.ณัฎฐธิดา นั้น ถูกลากไปเกี่ยวโยงกับการโอนเงิน เพราะเจ้าตัวไปยืมเงินจำนวนหนึ่งกับบุคคลที่กระทำความผิด ซึ่งรู้จักกันก่อนหน้านี้ จึงถูกกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยง
สำหรับ น.ส.วาสนา ให้บุคคลที่ไม่รู้จักยืมบัญชีธนาคารไปใช้ โดยที่ไม่รู้วัตถุประสงค์ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ส่วนที่บุคคลทั้งหมดถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย (อั้งยี้) ซึ่งถือเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง ในส่วนของนายณเรษ จะมีญาติมายื่นขอประกันในวันที่ 18 มีนาคมนี้ จากนั้นคณะตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาอ่านคำร้องที่เจ้าหน้าที่พนักงานสอบสวนยื่นขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 3 คน พร้อมรับฝากขัง ผลัดแรก 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 17 - 28 มีนาคม ซึ่งขณะนี้ศาลทหารกรุงเทพ ไม่อนุมัติการประกันตัว เนื่องจากเป็นความผิดในคดีร้ายแรง เกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีและเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษก คสช. ยืนยัน ทหารไม่ได้เข้าควบคุมตัว น.ส.ณัฎฐธิดา ไปจากบ้านพัก โดยการเชิญหรือควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ต้องแสดงตนชัดเจน ขอให้ประชาชนมั่นใจ และต่อมาวันที่ 17 มี.ค. พ.อ.วินธัย ยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนคดีความมั่นคงสำคัญของทหารและตำรวจ ไปขอเชิญตัว น.ส.ณัฎฐธิดา เพื่อไปให้ข้อมูลกับทางเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทำงานในชุดสืบสวนคดีสำคัญได้พบข้อมูลความเชื่อมโยงสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวกับคดีความมั่นคง ที่กำลังสืบสวนอยู่ในขณะนี้ โดยคาดว่า น.ส.ณัฎฐธิดา อาจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการคลี่คลายคดี โดยยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่วัดปทุมวนาราม เมื่อปี 2553 เพราะคดีดังกล่าวจบไปแล้ว
ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้อง คสช. กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสอบสวนการทรมานผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญาระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก โดยอ้างว่าได้รับร้องเรียนจากผู้ต้องหา 4 รายที่ถูกจับกุมในคดีวางระเบิดศาลอาญาว่าถูกซ้อมทรมานระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกวันที่ 9-15 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยผู้ต้องหา 4 รายได้แก่ นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นายชาญวิทย์ จริยานุกูล นายนรพัฒน์ เหลือผล และนายวิชัย อยู่สุข (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ooo
ศูนย์ทนายสิทธิฯ เผยผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลถูกซ้อม จี้ คสช.-ทหารหยุดใช้กฎอัยการศึกจับคน
Wed, 2015-03-18 00:30
ที่มา ประชาไท
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเผยผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญา 4 รายถูกซ้อมทรมานเพื่อรีดข้อมูล เรียกร้อง คสช.-ทหารหยุดใช้กฎอัยการศึกควบคุมตัวบุคคล จี้ สตช.สอบสวน นำตัวคนซ้อมมาลงโทษ
18 มี.ค.2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสอบสวนการทรมานผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญาระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก
แถลงการณ์ระบุว่า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ต้องหา 4 รายที่ถูกจับกุมในคดีระเบิดศาลอาญา โดยได้รับแจ้งว่าถูกซ้อมทรมานจากการชกต่อย กระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และถูกข่มขู่ว่าทำร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล แถลงการณ์ระบุว่ามีผู้ต้องหาบางรายถูกช็อตด้วยไฟฟ้า โดยยังคงปรากฏร่องรอยบริเวณผิวหนัง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ต้องหาทั้ง 4 ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ระหว่างวันที่ 9-15 มีนาคมที่ผ่านมา
ในแถลงการณ์ยังระบุถึงความกังวลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อการใช้อำนาจควบคุมตัวบุคคลตามกฎอัยการศึก โดยปราศจากสิทธิในการแจ้งญาติ สิทธิในการเข้าถึงทนายความเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน และการไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวโดยเฉพาะหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา ทำให้ขาดความโปร่งใส และสุ่มเสี่ยงในการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ การซ้อมทรมาน ปฏิบัติโหดร้ายทารุณ บังคับสูญหาย
แถลงการณ์ระบุว่า การซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และละเมิดต่อพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามมาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อเรียกร้องต่อ คสช. กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเรียกร้องให้ คสช.และทหารให้ยุติการใช้อำนาจกฎอัยการศึกในการนำบุคคลผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ขั้นตอนตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการออกหมายจับ การสอบสวนและการดำเนินคดีได้อยู่แล้ว
สำหรับข้อเรียกร้องต่อกรมราชทัณฑ์ ขอให้ผู้ต้องหาได้พบแพทย์ซึ่งเป็นกลางและเป็นอิสระ ตรวจร่างกายและจิตใจของผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย รวมถึงผู้ต้องหารายอื่นๆ อีก 5 รายในคดีเดียวกัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกซ้อมทรมาน และขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการสอบสวน เก็บพยานหลักฐาน ร่องรอยในการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหากลุ่มดังกล่าวและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
รายละเอียดแถลงการณ์
แถลงการณ์เรียกร้องให้มีการสอบสวนการทรมานผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญา และยุติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก
เผยแพร่วันที่ 17 มีนาคม 2558
ตามที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดหน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 และมีการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดในคดีดังกล่าว 9 รายนั้น วันนี้ (17 มีนาคม 2558) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ต้องหา 4 ราย ได้แก่ นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นายชาญวิทย์ จริยานุกูล นายนรพัฒน์ เหลือผล และนายวิชัย อยู่สุข ว่ามีการซ้อมทรมานผู้ต้องหาทั้งสี่รายโดยการชกต่อย การกระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และข่มขู่ว่าจะทำร้ายเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลจากผู้ต้องหาดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ต้องหาบางรายยังโดนช็อตด้วยไฟฟ้าและยังคงปรากฏร่องรอยดังกล่าวบริเวณผิวหนัง ระหว่างการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ระหว่างวันที่ 9 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนห่วงกังวลถึงการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกในการควบคุมตัวบุคคลโดยที่ผู้ถูกควบคุมตัวปราศจากสิทธิในการแจ้งญาติ สิทธิในการเข้าถึงทนายความเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน และที่ผ่านมาการควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกภายหลังมีการรัฐประหารมักไม่เปิดเผยสถานที่ในการควบคุมตัว ทำให้ขาดความโปร่งใส ปราศจากการตรวจสอบโดยองค์กรใดๆ รวมถึงกรณีล่าสุดในการใช้อำนาจควบคุมตัวนางสาวณัฏฐธิดา มีวังปลา ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่ามีการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหาร การควบคุมตัวบุคคลภายใต้ตามกฎอัยการศึก จึงมีความสุ่มเสี่ยงในการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ การซ้อมทรมาน ปฏิบัติโหดร้ายทารุณ บังคับสูญหาย ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว รวมถึงการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวซึ่งถือว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และละเมิดต่อพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามมาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ทหารยุติการใช้อำนาจกฎอัยการศึก ในการนำบุคคลผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ขั้นตอนตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการออกหมายจับ การสอบสวนและการดำเนินคดีได้อยู่แล้ว
ขอให้กรมราชทัณฑ์ซึ่งเป็นสถานที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหาในปัจจุบันจัดให้ผู้ต้องหาได้พบแพทย์ซึ่งเป็นกลางและเป็นอิสระตรวจร่างกายและจิตใจของผู้ต้องหาทั้งสี่ราย รวมถึงผู้ต้องหารายอื่นๆ ในคดีเดียวกันซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการถูกซ้อมทรมานในช่วงเวลาตามกฎอัยการศึก
ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการสอบสวน เก็บพยานหลักฐาน ร่องรอยในการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหากลุ่มดังกล่าวและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
คุมตัว 4 มือระเบิดศาลอาญา ศาลทหารอนุมัติ 5 หมายจับข้อหา 'ก่อการร้าย-อั้งยี่'
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเผยผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญา 4 รายถูกซ้อมทรมานเพื่อรีดข้อมูล เรียกร้อง คสช.-ทหารหยุดใช้กฎอัยการศึกควบคุมตัวบุคคล จี้ สตช.สอบสวน นำตัวคนซ้อมมาลงโทษ
18 มี.ค.2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติสอบสวนการทรมานผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญาระหว่างถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก
แถลงการณ์ระบุว่า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ต้องหา 4 รายที่ถูกจับกุมในคดีระเบิดศาลอาญา โดยได้รับแจ้งว่าถูกซ้อมทรมานจากการชกต่อย กระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และถูกข่มขู่ว่าทำร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล แถลงการณ์ระบุว่ามีผู้ต้องหาบางรายถูกช็อตด้วยไฟฟ้า โดยยังคงปรากฏร่องรอยบริเวณผิวหนัง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ต้องหาทั้ง 4 ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ระหว่างวันที่ 9-15 มีนาคมที่ผ่านมา
ในแถลงการณ์ยังระบุถึงความกังวลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อการใช้อำนาจควบคุมตัวบุคคลตามกฎอัยการศึก โดยปราศจากสิทธิในการแจ้งญาติ สิทธิในการเข้าถึงทนายความเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน และการไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวโดยเฉพาะหลังการรัฐประหารเป็นต้นมา ทำให้ขาดความโปร่งใส และสุ่มเสี่ยงในการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ การซ้อมทรมาน ปฏิบัติโหดร้ายทารุณ บังคับสูญหาย
แถลงการณ์ระบุว่า การซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และละเมิดต่อพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามมาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อเรียกร้องต่อ คสช. กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเรียกร้องให้ คสช.และทหารให้ยุติการใช้อำนาจกฎอัยการศึกในการนำบุคคลผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ขั้นตอนตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการออกหมายจับ การสอบสวนและการดำเนินคดีได้อยู่แล้ว
สำหรับข้อเรียกร้องต่อกรมราชทัณฑ์ ขอให้ผู้ต้องหาได้พบแพทย์ซึ่งเป็นกลางและเป็นอิสระ ตรวจร่างกายและจิตใจของผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย รวมถึงผู้ต้องหารายอื่นๆ อีก 5 รายในคดีเดียวกัน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการถูกซ้อมทรมาน และขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการสอบสวน เก็บพยานหลักฐาน ร่องรอยในการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหากลุ่มดังกล่าวและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
รายละเอียดแถลงการณ์
แถลงการณ์เรียกร้องให้มีการสอบสวนการทรมานผู้ต้องหาคดีระเบิดศาลอาญา และยุติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก
เผยแพร่วันที่ 17 มีนาคม 2558
ตามที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดหน้าศาลอาญาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2558 และมีการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมดในคดีดังกล่าว 9 รายนั้น วันนี้ (17 มีนาคม 2558) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ต้องหา 4 ราย ได้แก่ นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นายชาญวิทย์ จริยานุกูล นายนรพัฒน์ เหลือผล และนายวิชัย อยู่สุข ว่ามีการซ้อมทรมานผู้ต้องหาทั้งสี่รายโดยการชกต่อย การกระทืบบริเวณศีรษะ ทรวงอก หลัง และข่มขู่ว่าจะทำร้ายเพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลจากผู้ต้องหาดังกล่าว นอกจากนี้ผู้ต้องหาบางรายยังโดนช็อตด้วยไฟฟ้าและยังคงปรากฏร่องรอยดังกล่าวบริเวณผิวหนัง ระหว่างการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก ระหว่างวันที่ 9 มีนาคม 2558 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนห่วงกังวลถึงการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกในการควบคุมตัวบุคคลโดยที่ผู้ถูกควบคุมตัวปราศจากสิทธิในการแจ้งญาติ สิทธิในการเข้าถึงทนายความเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน และที่ผ่านมาการควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกภายหลังมีการรัฐประหารมักไม่เปิดเผยสถานที่ในการควบคุมตัว ทำให้ขาดความโปร่งใส ปราศจากการตรวจสอบโดยองค์กรใดๆ รวมถึงกรณีล่าสุดในการใช้อำนาจควบคุมตัวนางสาวณัฏฐธิดา มีวังปลา ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงในภายหลังว่ามีการควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหาร การควบคุมตัวบุคคลภายใต้ตามกฎอัยการศึก จึงมีความสุ่มเสี่ยงในการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ การซ้อมทรมาน ปฏิบัติโหดร้ายทารุณ บังคับสูญหาย ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว รวมถึงการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมตัวซึ่งถือว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และละเมิดต่อพันธกรณีตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามมาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ทหารยุติการใช้อำนาจกฎอัยการศึก ในการนำบุคคลผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้ขั้นตอนตามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการออกหมายจับ การสอบสวนและการดำเนินคดีได้อยู่แล้ว
ขอให้กรมราชทัณฑ์ซึ่งเป็นสถานที่ในการควบคุมตัวผู้ต้องหาในปัจจุบันจัดให้ผู้ต้องหาได้พบแพทย์ซึ่งเป็นกลางและเป็นอิสระตรวจร่างกายและจิตใจของผู้ต้องหาทั้งสี่ราย รวมถึงผู้ต้องหารายอื่นๆ ในคดีเดียวกันซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการถูกซ้อมทรมานในช่วงเวลาตามกฎอัยการศึก
ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการสอบสวน เก็บพยานหลักฐาน ร่องรอยในการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหากลุ่มดังกล่าวและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
คุมตัว 4 มือระเบิดศาลอาญา ศาลทหารอนุมัติ 5 หมายจับข้อหา 'ก่อการร้าย-อั้งยี่'