วันเสาร์, มีนาคม 28, 2558

ร่อแร่หนัก SME ใกล้ฝีแตก! คสช.ฉุดความเชื่อมั่นดิ่งเหว ปี 58 โรงงานร่วงระนาว!




ร่อแร่หนัก SME ใกล้ฝีแตก! คสช.ฉุดความเชื่อมั่นดิ่งเหว ปี 58 กำลังซื้อชะลอตัว ส่งออก “ยาง” ม.ค.ลดลงกว่า 40%

ที่มา ที่นี่และที่นั่นวันนี้
March 27, 2015

รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งจัดทำโดย “ส่วนวิจัยและวิเคราะห์เตือนภัย สำนักข้อมูลและวิจัย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ซึ่งเป็นการสรุปข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ พร้อมวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ในปี 2558 โดยเฉพาะช่วงต้นปี 2558 ซึ่งเป็นยุครัฐบาล คสช. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะปฏิวัติว่าแท้ที่จริงแล้วเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะเช่นใด โดยได้มีการเปรียบเทียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าและในปีที่ผ่านมาเอาไว้โดยละเอียด ซึ่งได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในยุครัฐบาล คสช.นั้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งที่สำคัญคคือสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตกตกอย่างหนักในทุกปัจจัย ได้ส่งผลให้กำลังซื้อภายในประเทศหดตัวอย่างรุนแรง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสภาวะเศรษฐกิจของไทยใยระยะยาว

โดยรายงานดังกล่าว ได้ข้อสรุปข้อมูลเอาไว้ว่า ภาวะเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านธุรกิจภาคการค้าและบริการ โดย ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ เดือนมกราคม 2558 พบว่า มีค่าดัชนี 48.9 ปรับตัวลดลงจาก 53.6 ในเดือนก่อน โดยองค์ประกอบปรับตัวลดลง ได้แก่ กำไร ต้นทุน และยอดจำหน่าย เนื่องจากค่า ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือนธันวาคม 2557 มีการปรับตัวเพิ่มในระดับสูง อันเป็นผลจากในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเทศกาลปีใหม่เมื่อผ่านพ้นช่วงเทศกาลค่าดัชนีความเชื่อมั่นจึงมีแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางที่ ลดลงบ้าง อีกทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศในภาพรวมยังไม่สู้ดีนัก

เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่น 4 ภาคธุรกิจ ระหว่าง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาค การค้าและบริการ (TSSI) ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) และ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) พบว่า ทุกดัชนี ไม่ว่าจะเป็น TSSI TISI BSI และ CCI ปรับตัวลดลงจาก เดือนก่อน เนื่องจากความกังวลต่อการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ โดยเฉพาะกำลังซื้อในภาคเกษตร รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของ ผู้ประกอบการส่งออกไทย อีกทั้งภาครัฐยังไม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจน

ส่วนภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่าดัชนี (มูลค่าเพิ่ม) เดือนมกราคม 2558 อยู่ที่ 81.2 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.5 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตมีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีดัชนีอยู่ที่ 44.8

การจัดตั้งและสิ้นสภาพกิจการเดือนมกราคม 2558 พบว่า ในส่วนการจัดตั้งกิจการใหม่จำนวน 5,980 ราย ขยายตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.5 ส่วนการยกเลิกกิจการมีจำนวน 1,380 ราย หดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.8

เมื่อพิจารณาด้านการส่งออกเดือนมกราคม 2558 พบว่า SMEs มีมูลค่าการส่งออก 152,794.15 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเมื่ออยู่ในรูปดอลล่าร์สหรัฐฯ มีทิศทางหดตัวลงร้อยละ 1.3

โดยมี ข้อสังเกตที่น่าสนใจของสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ

1. สาเหตุที่มูลค่าการส่งออกหดตัวลง เนื่องจาก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกหดตัวสูง กดดัน ให้ราคาส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหดตัวและราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ กระทบมูลค่าส่งออก โดยราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเดือน ม.ค.58 อยู่ที่ 47.45 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ลดลงถึง ร้อยละ 53.6 (YoY) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งนับเป็นระดับราคาที่ต่ำสุดในรอบ 6 ปี เนื่องจาก ผลผลิตน้ำมันดิบมีมากเกินความต้องการในตลาดโลก อีกทั้งด้านการส่งออกสินค้าที่เชื่อมโยงกับ น้ำมันดิบอย่างน้ำมันสำเร็จรูป และพลาสติกนั้น หดตัวลงร้อยละ 11.0 (YOY) และ 10.8 (YOY) ตามลำดับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาส่งออกของสินค้าดังกล่าวที่มีสัดส่วนร้อยละ 10.1 ต่อการส่งออก ทั้งหมดของ SMEs ไทย

2. มูลค่าการส่งออกยางและของทำด้วยยาง ยังไม่ฟื้นตัว โดยในเดือน ม.ค. 58 หดตัวลงอีก กว่าร้อยละ 39.6 (YOY) ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรหลักอื่นๆ เช่น น้ำตาลและข้าว กลับมาหดตัว อีกครั้งในช่วงต้นปีนี้ โดยมูลค่าการส่งออกน้ำตาล และข้าวลดลงร้อยละ 9.7 (YOY) และ 5.4 (YOY) ตามลำดับ เช่นเดียวกับการส่งออกอาหารทะเล กระป๋องและแปรรูปที่หดตัวลงร้อยละ 7.1 (YOY) เป็นผลมาจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลให้การส่งออกสินค้า ดังกล่าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปติดลบถึงร้อยละ 21.9 (YOY)

3. การส่งออกผ่านชายแดนของ SMEs หดตัวลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นด่านประเทศพม่า โดยเฉพาะด่านประเทศมาเลเซียมีการหดตัวสูงที่สุด ถึงร้อยละ 12.5 สะท้อนถึงการชะลอตัวการบริโภค ในประเทศชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งเป็นผลจากค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงจาก 1 ริงกิต ต่อ 10 บาท เป็น 1 ริงกิต ต่อ 8.80 บาท ทำให้สินค้าจากไทยเข้ามาเลเซียมีราคาแพงขึ้น ส่งผลให้ผู้นำเข้าอาจชะลอการนำเข้า สินค้าไปก่อน หรือนำเข้าในจำนวนที่น้อยลง รวมทั้งเศรษฐกิจของมาเลเซียชะลอตัวอีกด้วย





ที่มา ที่นี่และที่นั่นวันนี้
March 26, 2015

แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช.จะพยายามออกมายืนยันด้วยตัวเลขต่างๆนาๆว่า เศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้เงื้อมมือของขุนทหารผู้ล้มประชาธิปไตย ฉีกรัฐธรรมนูญ จะสามารถเดินหน้าไปได้ แต่ดูเหมือน “คำพูด” ของ นายกรัฐมนตรีและบรรดาคณะรัฐมนตรี ไปจนถึงมือเศรษฐกิจฝ่ายรัฐบาลจะสวนทางกับเศรษฐกิจในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง

โดยเฉพาะกับภาวะเศรษฐกิจปาก-ท้อง ของประชาชน ที่นับวันยิ่งจะแย่ลงมากขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญปรากฏกระแสข่าวการถูกเลิกจ้างของแรงงานและการปิดกิจการของผู้ประกอบการมากขึ้นๆ

ล่าสุดพบว่า รายงาน “ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” ประจำเดือนมกราคม 2558 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการจัดทำ “ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2558” กลับพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือน ธันวาคม 2557 แต่ถ้าพิจารณาเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2557) ยังคงมีอัตราที่หดตัวลงถึง ร้อยละ 1.3

นอกจากนี้ยังพบว่า จำนวน “การเปิด-ปิดโรงาน” เดือนมกราคม 2558 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจํานวน 330 ราย ลดลงจากเดือนธันวาคม 2557 ร้อยละ 7.0 โดยอุตสาหกรรมที่สําคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน ยานพาหนะที่ทําด้วยยาง มีจํานวน 3 โรง จํานวนเงินทุน 763.71 ล้านบาท และจํานวนคนงาน 334 คน

สําหรับโรงงานที่ “ปิดการดําเนินกิจการ” มีจํานวนมากถึง 107 ราย มากกว่าเดือนธันวาคม 2557 ร้อยละ 109.8 และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่ามีโรงงานที่ปิดดําเนินกิจการมากกว่า ร้อยละ 25.9

ส่วนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เดือนมกราคม 2558 มีจํานวนโครงการที่ขอรับการส่งเสริม การลงทุนจาก BOI ทั้งสิ้น 36 โครงการ เงินลงทุน 7,660 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 48.57 และ 62.02 ตามลําดับ โดยประเภทกิจการที่ขอรับการส่งเสริมมากที่สุด คือ หมวด บริการ และ สาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนคิดเป็นร้อยละ 76.76

นอกจากนี้ ในส่วนของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ติดลบหรือ หดตัวร้อยละ 1.3 อุตสาหกรรมสําคัญที่ส่งผลให้การผลิตลดลง คือ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ น้ำตาล และเม็ดพลาสติก

ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศเกาหลีใต้ขยายตัวต่อเนื่องได้เป็นเดือนที่สอง ที่ร้อย ละ 1.7 ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศไต้หวันขยายตัวดีต่อเนื่องร้อยละ 9.7 อย่างไรก็ตามข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประจําเดือนมกราคม 2558 ยังไม่มีการเผยแพร่ แต่มีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่อง จากเดือนก่อนหน้า โดยในเดือนธันวาคม 2557 การผลิตในภาคอุตสาหกรรมประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 7.9 และ 5.2 ตามลําดับ