ที่มา เวปที่นี่และที่นั่นวันนี้
กรณีเจ้าหน้าที่ทหาร ได้ควบคุมตัว น.ส.ณัฎฐธิดา มีวังปลา หรือแหวน พยานคนสำคัญคดีการเสียชีวิตของประชาชน 6 ศพ ในพื้นที่วัดปทุมวนาราม ระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนในเดือนพฤษภาคม 2553 สร้าง “คำถาม” ต่างๆมากมายให้กับ “รัฐบาล คสช.” ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
..ด้วยเพราะ น.ส.ณัฎฐธิดา คือ “พยานคนสำคัญ” ในคดีที่ประชาชนถูกยิงเสียชีวิต จาก “กระสุน” ของเจ้าหน้าที่ทหาร
..ด้วยเพราะ “เจ้าหน้าที่ทหาร” ที่ “ศาล” ได้คำวินิจฉัยว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้ “6 ศพ” ต้องเสียชีวิต ในขณะนั้น เกี่ยวโยงไปถึง “ผู้สั่งการ” และ “ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ใน “ศอฉ.(ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน)” ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
ทำให้ “คำถาม” สำคัญ ภายหลัง “เจ้าหน้าที่ทหาร” ถูกสังคมจับได้ว่า “ควบคุมตัว” น.ส.ณัฐฎธิดา ไปยาวนานกว่าสัปดาห์โดยไม่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน ก็คือ “การควบคุมตัว” ลึกลับ ดังกล่าว มี “วาระซ่อนเร้น” เกี่ยวกับคดีการเสียชีวิตของประชาชน 6 ศพในวัดปทุมวนารามโดย “กระสุนของทหาร” หรือไม่ ?
แม้ในภายหลัง คสช.พยายามออกตัวว่า “การควบคุมตัว” ดังกล่าว ไม่ได้มีการ “ปกปิด/ปิดบัง” ใดๆ พร้อมกับมอบ “ข้อหาก่อการร้าย” ให้กับ “น.ส.ณัฎฐธิกา” เพิ่มมากขึ้น
แต่ก็ไม่ได้ทำให้การกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร มีความ “สมจริง” มากขึ้นแต่อย่างใดๆ
กลับทำให้ “สังคม” ตั้งคำถามกับการกระทำของ เจ้าหน้าที่ทหาร และ คสช. ไปจนถึง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็น การทำลายน้ำหนักของพยาน ไปถึงการ ข่มขู่พยาน หรือแม้แต่การยัดข้อหา
โดยโฟกัสของสังคม ขณะนี้จับจ้องอยู่ที่ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคดี !
ล่าสุดดูเหมือน “ภาครัฐ” และหน่วยงานในกำกับต่างๆ จะมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ “คดีการสลายการชุมนุมของประชาชน ในปี 2553” เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น เมื่อพบว่า “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” ได้มีการตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553” ขึ้น และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการสอบสวนกรณีเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของประชาชน ในปี 2553 อีกครั้ง ทั้งๆที่ในอดีต “ดีเอสไอส” เคยสรุปสำนวนการสอบสวนในคดีต่างๆ พร้อมส่งเรื่องให้อัยการส่งฟ้องต่อศาล และหลายต่อหลายคดี “ศาล” ได้มีคำสั่ง-วินิจฉัยไปเรียบร้อยแล้ว
โดยพบว่า นางสุวนา สุวรรณจูฑะ อธิบดีดีเอสไอ ได้มีคำสั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ 242/2558 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่อง“ตั้งศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 และแต่งตั้งข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์”
เนื้อหาระบุว่า “ตามมติคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2553 ให้การกระทำความผิดทางอาญากรณีก่อการร้าย การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ การทำร้ายนประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ อันเกี่ยวกับการชุมนุมที่มิชอบด้วยกฎหมายในช่วงปลายปี พ.ศ.2552 เป็นต้นไป ในราชอาณาจักร รวมถึงความผิดที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกันเป็นคดีพิเศษและกรมสอบสวนคดีพิเศษอยู่ระหว่างการดำเนินการสอบสวน นั้น
เพื่อให้การดำเนินคดีพิเศษตามมติ กพค. ในกรณีดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงมีคำสั่ง ดังนี้
1.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการในการดำเนินคดีพิเศษตามมติ กพค. ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2553
2.ให้ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 เป็นหน่วยงานภายใน อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและกำกับดูแลของรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (พันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง)
3.แต่งตั้งข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการกบางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 จำนวน 14 ราย ดังนี้
1) พันโท กิตติ ภักดีรักษ์พงศ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ส่วนคดีอาญาพิเศษ 2 สำนักคดีอาญาพิเศษ 3
2) นายอมรเทพ อรุโณประโยชน์ ผู้อำนวยการศูนย์ (พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ) ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
3) พันตรี อภิชัย เตียยะกุล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาคตะวันออก สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
4) พันโท สุรพันธ์ โชคปมิตต์กุล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ส่วนคดีปราบปรามยาเสพติด 3 ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด สำนักคดีอาญาพิเศษ 3
5) พันตรี อรรคริน ลัทธศักดิ์ศิริ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศา ส่วนคดีความมั่นคง 2 สำนักคดีความมั่นคง
6) ร้อยเอก สิริพงศ์ วัฒนวิบูลย์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ส่วนคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ 3 สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ
7) พันตรี วิรัช กุลละวณิชย์ พนักวานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการ ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 2 สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
8) พันตำรวจโท สายัณห์ พูนเพิ่มบุญ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ศูนย์ปฏิบัติปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 2 สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
9) ร้อยเอกหญิง ยุคลธร อ่าวลึกน้อย เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ส่วนคดีความมั่นคง 2 สำนักคดีความมั่นคง
10) นางสาวดวงสมร สังข์แป้น เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ส่วนอำนวยการคดี สำนักคดีความมั่นคง
11) นายอนุชา ไวยรูป เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ส่วนคดีปราบปรามยาเสพติด 3 ศูนย์ปราบปรามยาเสพติด สำนักคดีอาญาพิเศษ 3
12) นางสาวสุคนธา เต็มนา เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ส่วนอำนวยการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
13) นางวรรรนานัน บำรุงผล เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
14) นางสาวเบญจมาศ มีมุข เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ส่วนอำนวยการคดี สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา
4.ให้พันโทกิตติ ภักดีรักษ์พงศ์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 และให้ข้าราชการตามข้อ 3.ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 โดยขาดจากต้นสังกัดเดิม ยกเว้นพันตรีอภิชัย เตียยะกุล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ ให้ปฏิบัติหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่ง
5.ให้ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553 ตั้งอยู่ที่ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 8 กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยให้สำนักบริหารงานกลาง สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และกลุ่มค่าใช้จ่ายคดีพิเศษ จัดสรรพัสดุ ครุภัณฑ์ งบประมาณ และทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553
ให้ยกเลิกบรรดาคำสั่งอื่นใดที่ขัดแย้งกับคำสั่งนี้ และให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง”
ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า การแต่งตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการกลางเพื่อการสอบสวนคดีพิเศษกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ.2553” ขึ้นมาใหม่ อีกครั้ง ทั้งๆที่เหตุการณ์ผ่านมากว่า 5 ปี และที่สำคัญคือก่อนหน้านี้ “ดีเอสไอ” ได้มีการสอบสวน สรุปสำนวน ส่งเรื่องต่อให้อัยการ จนมีการพิจารณาสั่งฟ้อง และหลายต่อหลายสำนวนคดี “ศาล” ก็ได้มี “คำสั่ง” และ “คำวินิจฉัย” ไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะคดีการเสียชีวิต 6 ศพในพื้นที่เขตอภัยทาน วัดปทุมวนาราม ในช่วงการสลายการชุมนุมของประชาชน เดือนพฤษภาคม 2553 ที่ “ศาล” ได้มีคำสั่งไปแล้วว่า “เสียชีวิตจากกระสุนของเจ้าหน้าที่ทหาร”
คำสั่งดังกล่าวนี้ จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “สาระสำคัญของคดี” หรือไม่ ??
“คนฆ่า” จะยังเป็น “คนฆ่า” อยู่หรือไม่ ??
ที่สำคัญ “ความยุติธรรม” จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยหรือไม่ ??
น่าจับตา ??
ชัดๆ อีกที!!!
ไม่มีหรอกชายชุดดำ หรือคนเสื้อแดงยิงกันเอง อย่างที่ฝ่ายเผด็จการพยายามสร้างพยานและหลักฐานเท็จเพื่อหนีความผิด
มีแต่ #ทหาร ที่ฆ่าประชาชนมือเปล่า โดยใช้อาวุธสงครามยิงจากรางรถไฟฟ้า BTS ลงไปยังวัดปทุมวนาราม
หลักฐานชัดขนาดนี้ อย่าพยายามโกหก ตอแหล อ้างว่าคดี 6 ศพวัดปทุมฯ เป็นฝีมือใครอื่นเลยนะครับ ไอ้พวกเผด็จทหารไทย!!!!
/ ปลาสอด
May19,2010 หลักฐานSniperยิงเสื้อแดงวัดปทุม
ไม่มีหรอกชายชุดดำ หรือคนเสื้อแดงยิงกันเอง อย่างที่ฝ่ายเผด็จการพยายามสร้างพยานและหลักฐานเท็จเพื่อหนีความผิด
มีแต่ #ทหาร ที่ฆ่าประชาชนมือเปล่า โดยใช้อาวุธสงครามยิงจากรางรถไฟฟ้า BTS ลงไปยังวัดปทุมวนาราม
หลักฐานชัดขนาดนี้ อย่าพยายามโกหก ตอแหล อ้างว่าคดี 6 ศพวัดปทุมฯ เป็นฝีมือใครอื่นเลยนะครับ ไอ้พวกเผด็จทหารไทย!!!!
/ ปลาสอด
May19,2010 หลักฐานSniperยิงเสื้อแดงวัดปทุม
https://www.youtube.com/watch?v=N13NKFKz7Yg
ooo
https://www.youtube.com/watch?v=mUVU7KI1ti4
Published on Oct 25, 2012
รัฐบาลอภิสิทธิ์ สุเทพ ผอ. ศอฉ. ขอคืนพื้นที่ สลายชุมนุมฯปชช.ด้วยกำลังทหาร อาวุธจริง ไม่เลือกช่วงเวลา คนตาย 99 ศพ บาดเจ็บและพิการ 2,000 กว่าคน #ขอคืนพื้นที่2553