วันอังคาร, มีนาคม 31, 2558

ผู้เชี่ยวชาญวงการการบินแฉ! เบื้องลึกแบนสายการบินไทย คนไทยตกค้าง สนามบินอินชอน



โดย ไทยรัฐออนไลน์
30 มี.ค. 2558

เผยเบื้องลึกแบนสายการบินของไทย กรมการบินพลเรือนไทย ปล่อยผีใบอนุญาตประกอบการบิน ทะลักทลาย 9 เดือน 42 สายการบิน ต้นเหตุไอซีเอโอเข้ามาตรวจลึก พบหลักฐานสำคัญไม่ได้มาตรฐานการบิน หวั่นกระทบบานปลาย อดบินเข้าเกาหลี-จีน-ยุโรป

วันที่ 30 มี.ค.2558 ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า จากกรณีที่ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือไอซีเอโอ ตรวจพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย เกี่ยวกับกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศในประเทศไทย จนส่งผลให้ กรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (Japan Civil Aviation Bureau หรือ JCAB ) ไม่อนุมัติให้มีการขยาย หรือเปลี่ยนบริการขนส่งทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มท่าอากาศยาน หรือเปลี่ยนแบบอากาศยาน เครื่องบินที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่จะทำการบินไปยังประเทศญี่ปุ่น สำหรับสายการบินที่ขอเปิดทำการบินแบบเช่าเหมาลำ

นอกจากนี้ ทางกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น จะเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบ Ramp service มากขึ้นด้วย ซึ่งผลจากที่ไอซีเอโอตรวจพบข้อบกพร่อง ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าผลกระทบอาจจะไม่หยุดที่เส้นทางบินญี่ปุ่นเท่านั้น แต่อาจจะส่งผลกระทบและถูกห้ามไปยังเส้นทางบินอื่นๆ ที่สายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยบินไป เช่น เกาหลี, จีน, ออสเตรเลีย, ประเทศในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้

ผู้สื่อข่าวยังได้รายงานต่อว่า ในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญในวงการการบินกล่าวว่า สาเหตุหลักๆ ที่ทาง ไอซีเอโอ เข้ามาตรวจรายละเอียด เกี่ยวกับกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศในประเทศไทยและพบข้อบกพร่องนั้น เนื่องมาจากทางไอซีเอโอพบข้อผิดปกติที่ทางกรมการบินพลเรือน (บพ.) ของไทย ได้มีการอนุญาตสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยจำนวนมาก ในระยะเวลาสั้น ซึ่งจากการรวบรวมพบว่า มีการให้ใบอนุญาตรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศในไทยกว่า 42 สายการบิน ประกอบด้วย ผู้ดำเนินการเดินอากาศด้วยเครื่องบินที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินระหว่างประเทศถึง 22 สายการบิน ในช่วงระยะเวลาเพียง 9 เดือน

นอกจากนั้น ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดจึงมีอุบัติเหตุทางการบิน เครื่องบินตกในภูมิภาคเอเชียจำนวนมากและถี่มาก ซึ่งจากปัจจัยต่างๆ จึงทำให้คณะผู้ตรวจสอบ เข้ามาตรวจสอบและพบข้อบกพร่องที่มีนัยว่า กระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC Certification) และการออกข้อกำหนดการปฏิบัติการ ซึ่งรวมถึงการรับรองการปฏิบัติการบินแบบพิเศษ การรับรองย่อยต่างๆ และการดำเนินการตามกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ขั้นตอนแนวทางปฏิบัติ มีไม่ครบถ้วนและเป็นระบบ รวมถึงยังพบหลักฐานรับรองการปฏิบัติการบินแบบพิเศษ เช่น ILs. CAT II/III. และการปฏิบัติการบินแบบ ETOPS ไม่ผ่านกระบวนการรับรองอย่างถูกต้อง

ดังนั้น ไอซีเอโอจึงต้องการให้กรมการบินพลเรือน ระงับการอนุญาตให้ปฏิบัติการบินแบบพิเศษ และให้มาเริ่มกระบวนการพิจารณาตรวจสอบ เพื่อออกใบรับรองใหม่ทั้งหมด รวมถึงระงับการอนุญาตให้ขนส่งสินค้าอันตราย และมาตรวจสอบเพื่อทำการรับรองใหม่ ซึ่งในส่วนผู้ได้รับอนุญาตสินค้าอันตรายนี้มีทั้งสิ้น 7 ราย

นอกจากนี้ ไอซีเอโอยังได้กำหนดให้กรมการบินพลเรือน เสนอแผนแก้ไขทั้งระยะสั้น ระยะกลาง สำหรับกระบวนการพิจารณาตรวจสอบ เพื่อทำการรับรองใหม่รวมถึงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดคู่มือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบ การจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อฝึกอบรมและแนะนำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ รวมถึงให้เสนอแผนระยะยาวเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาความร้ายแรงให้ไอซีเอโอ ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 58 นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ส่วนผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง หากกรมการบินพลเรือน ไม่ปรับปรุงตามข้อท้วงติงของไอซีเอโอ อาจส่งผลให้องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FAA ปรับลดระดับมาตรฐานการบินพลเรือนของไทยเป็นประเภท 2 หรือต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำของไอซีเอโอ และในลักษณะเดียวกัน อาจส่งผลให้สหภาพยุโรป พิจารณาประกาศห้ามสายการบินของไทยไม่ให้ทำการบินไปยังสหภาพยุโรปได้ทันที ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของไทยที่ทำการบินไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าว และกลุ่มประเทศที่ใช้ผลการประเมินมาตรฐานการบิน เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสิทธิการบิน และทำการบินภายใต้ความตกลงการใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกันทั้งหมดได้.

ooo


ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
30 มี.ค. 2558

คนไทย 500 คน ตกค้างที่สนามบินอินชอน หลังสายการบินเช่าเหมาลำของไทยผวา กลัวโดนแบนในเกาหลีใต้ไปด้วย หวั่นบินไปแล้วจะบินออกไม่ได้

จากกรณีกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่นห้ามเครื่องบิน เช่าเหมาลำ หรือชาร์เตอร์ไฟลต์สัญชาติไทยบินเข้าญี่ปุ่น ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบกับนักท่องเที่ยวไทยที่จองแพ็กเกจไปเที่ยวญี่ปุ่นไม่ได้เดินทางตามกำหนดแล้ว ล่าสุดยังขยายวงกระทบไปถึงกรุ๊ปทัวร์ญี่ปุ่นมาไทย และกลุ่มเที่ยวเกาหลีด้วย

โดยผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายเจริญ วังอนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ถึงกรณีนี้ว่า นอกจากนักท่องเที่ยวไทยที่จองแพ็กเกจไปเที่ยวญี่ปุ่นไม่ได้เดินทางตามกำหนดแล้ว ชาวญี่ปุ่นที่จะมาท่องเที่ยวประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยประมาณการว่าในเดือน เม.ย.นี้ชาวญี่ปุ่นที่จะเดินทางมาไทยจะหายไป 2,000 คน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ใช้บริการผ่านสายการบินเอเชีย แอตแลนติก แอร์ไลน์ (AAA) และสายการบินเจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ (JF) ซึ่งปกติจะบินสองขาคือ นำคนไทยไปญี่ปุ่น และนำคนญี่ปุ่นมาไทยด้วย แต่สายการบินดังกล่าวได้หยุดบินออกจากไทยแล้ว เพราะกลัวว่าแม้จะยังไม่ถึงวันที่ 1 เม.ย. แต่เมื่อบินเข้าไปญี่ปุ่นแล้ว ในวันที่บินออกมาเพื่อนำผู้โดยสารกลับหากไปตรงกับวันที่ 1 เม.ย.จะบินออกมาไม่ได้ แล้วจะยิ่งเกิดความวุ่นวายมากขึ้น

ทั้งนี้ กรณีที่ชาวญี่ปุ่นเดินทางมาไทยไม่ได้ยังรวมถึงการเดินทางโดยเครื่องของสายการบินไทย (ทีจี) เส้นทางกรุงเทพฯ-โคมัตสึ และฮิโรชิมา ที่เป็นชาร์เตอร์ไฟลต์ที่ถูกกรมการบินพลเรือนของญี่ปุ่นยกเลิกด้วย โดยมีจำนวนผู้โดยสารเที่ยวบินละ 200-300 ที่นั่ง ส่วนกรณีที่สายการบินนกสกู๊ตสามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้โดยไปหาเครื่องอื่นมาทดแทนเครื่องของนกสกู๊ตที่ขายไปแล้ว 20,000 ที่นั่ง ถ้าแก้ปัญหาได้ 10,000 ที่นั่งก็ถือว่าเก่งแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า การที่กรมการบิน พลเรือนญี่ปุ่นห้ามไม่ให้สายการบินชาร์เตอร์ไฟลต์สัญชาติไทยบินเข้าญี่ปุ่นนั้น ล่าสุดความหวาดผวา ของสายการบินเช่าเหมาลำของไทยลามไปถึงการบินไปรับผู้โดยสารชาวไทยที่ประเทศเกาหลีใต้ด้วย เนื่องจากเกรงว่าบินไปแล้วจะบินออกไม่ได้เปรียบเสมือนถูกยึดเครื่อง จนเป็นเหตุให้มีผู้โดยสารคนไทยต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ร่วม 500 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารที่ต้องเดินทางด้วยสายการบินเอเชีย แอตแลนติก แอร์ไลน์ (AAA) และสายการบินเจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ (JF) ซึ่งเป็นเที่ยวบินละประมาณ 250 คน

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดทางบริษัททัวร์ได้หาเครื่องบินสายการบินอื่นมาทดแทนคือ สายการบิน Jetasia และ Korea Air โดยได้นำคนไทยเดินทางออกจากเกาหลีใต้เพื่อมาประเทศไทยในช่วงบ่ายของวันที่ 29 มี.ค.และมาถึงประเทศไทยในช่วงค่ำของวันเดียวกันแล้ว

นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังพบว่าเมื่อค่ำของวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวชาวไทยตกค้างที่สนามบินสุวรรณภูมิเนื่องจากสายการบินเจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ ไม่กล้าบินไปยังสนามบินอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นกรุ๊ปที่ซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวระหว่างวันที่ 28 มี.ค.-1 เม.ย. โดยทางสายการบินแจ้งว่าจะได้เดินทางในคืนวันที่ 29 มี.ค.นี้แน่นอน โดยจะได้รับการดูแลให้เดินทางท่องเที่ยวต่อโดยครบถ้วนตามโปรแกรมและกำหนดการเดิม 5 วัน 3 คืน และเดินทางกลับในวันที่ 2 เม.ย. รวมทั้งจะได้รับเงินแทนคำขอบคุณจากสายการบินเจ็ท เอเชีย แอร์เวย์ คนละ 3,000 บาท ขณะที่ในระหว่างรอการเดินทางสู่สนามบินในช่วงค่ำ ให้ผู้โดยสารสามารถพักผ่อนและใช้บริการต่างๆ ในโรงแรมที่พักได้จนถึงเวลาขึ้นเครื่อง ภายใต้การดูแลของสายการบิน ส่วนผู้โดยสารที่ประสงค์จะยกเลิกการเดินทาง จะได้รับคืนเงินค่าทัวร์เต็มจำนวน โดยการโอนเงินผ่านทางตัวแทนท่องเที่ยวที่ได้ซื้อทัวร์มา และได้รับเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะเดินทางกลับ คนละ 1,000 บาท โดยทาง ทัวร์โฮลเซลจะเป็นผู้ดูแลสำรองจ่ายเงินดังกล่าวไป ก่อน แล้วค่อยเบิกจ่ายกับทางสายการบินในภายหลัง

ooo




Steve Herman
Voice of America
March 30, 2015

BANGKOK—Thailand's government on Monday scrambled to address "significant safety concerns" by the U.N.'s International Civil Aviation Organization (ICAO) that has the kingdom's airlines facing bans on international flights.

The ICAO negative review quickly led Japan and South Korea to block charter and new flights from Thailand. There is concern other countries, including the United States, will take similar action, especially if the ICAO downgrades Thailand from Category 1 to Category 2.

A U.S. government source - who is not authorized to speak on the record - explained the ICAO report would probably trigger an audit of Thailand's aviation sector by the Federal Aviation Administration. He called the ICAO audit results a "real red flag for the FAA."

Japan and South Korea do not conduct their own assessments and usually rely on ICAO findings to take action.

Decision by Japan

Japan's Civil Aviation Bureau said that for now, no new charter flights operated by airlines registered in Thailand would be allowed to fly to Japanese airports because of concerns the carriers may not meet international safety standards.

Under particular scrutiny is the department of civil aviation, supervised by the transport ministry. Officials of the ministry and department, including Civil Aviation department Director-General Somchai Piputvat, met on Monday with Prime Minister Prayuth Chan-ocha.

The prime minister, who seized control of Thailand's government in a military coup last May when he was army chief, said he discussed the Japanese and South Korean bans on new flights with the leaders of both countries and they promised to further consider the matter.

Prayuth also stated he would use powers under Section 44 of the interim charter to rectify the problems of Thailand's airlines.

Section 44 effectively allows the junta boss to issue any orders he deems appropriate without judicial or other oversight.

“This is a national issue. The transport ministry will quickly solve the problem" because "dominos are starting to fall," transport Minister Prajin Juntong told reporters after the meeting.

Previous administrations blamed

Officials of Thailand's government, under control of a military junta since last May's coup, are blaming previous administrations for not paying heed to the problem.

"The ICAO has warned us since 2005 about our aviation management and asked us to improve our systems," Prajin said.

The ICAO has rejected the civil aviation department's enhancement plan, submitted March 2, reportedly because it proposed a two-year period to fix problems.

Critics have said Thailand's civil aviation sector suffers from frequent changes of government, corruption, complacency and incompetence.

The ICAO's regional office in Bangkok said it was not authorized to comment on the audit, which has not been made public, and referred all inquiries to its headquarters in Montreal, Canada.

Some media reports Monday said Thailand passed only 21 out of 100 areas reviewed by auditors, garnering a lower overall score than any other ASEAN nation.

ICAO concerns

Thailand's civil aviation department did not give details of the ICAO's concerns but said additional training will be provided to its staff and airline inspections will be increased.

Industry sources said the most serious concerns involve shortcomings for safety regulations for low-cost carriers, including certifications for air operations and the transportation of hazardous goods.

On professional pilots' forums on the Internet, comments about the ICAO safety warning have prompted comments by industry workers alleging government inspectors were bribed with cash and massages to favorably sign off on paperwork.

A commentator who said he worked for a "substandard" Thai charter airline for nearly 17 months wrote he was told that executives had decided to not purchase any more parts for maintenance and he quit after refusing to fly planes that had defects.

The FAA is likely to conduct its own aviation safety assessment of Thailand that would three critical areas: airworthiness of aircraft, airman licensing and operator requirements, said a U.S. government official familiar with the procedures.

FAA downgrade

An FAA downgrade for Thailand would mean, among other things, a suspension of code share operations where a Thai carrier is the operating carrier.

Currently operated flights have not been affected by the ICAO audit.

But additional flights, including those for Thailand's mid-April Songkran festival, are now grounded. That has affected tens of thousands of tickets sold to travel agencies or individual travelers.

Travel operators said this has caused the cost of some package tours during the Songkran holiday to nearly double.

Other than the kingdom's flag carrier, Thai Airways, the ICAO safety warning is also affecting low-cost carriers Thai Air Asia X, NokScoot and Asia Atlantic Airlines.

Travel industry officials in Thailand worry the perception that the country's airlines are now unsafe could further hurt tourism. The crucial sector for the Thai economy, employing millions of people, has been beset over the past 18 months by concerns about tourists' safety and political unrest.