https://www.youtube.com/watch?v=5yzELu-t5S8&feature=youtu.be
...
เปิดตัว 'อีสานใหม่' อีสานที่จะไม่สยบยอม
Fri, 2015-03-20 20:06
ที่มา ประชาไท
'กลุ่มอีสานใหม่'จัดงานกลางกรุง นำเสนอประเด็นปัญหาผลกระทบต่อชุมชนในภาคอีสาน หลังการรัฐประหาร พร้อมข้อเสนอทางวิชาการต่อรัฐบาลให้ยกเลิกกฏอัยการศึก
...เราผุดขึ้นมาจากความแห้งแล้งในหัวใจของผู้ปล้นชิง เติบโตจากหยาดน้ำของความเคารพกันและกันของเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย เราขอประกาศว่า...
20 มี.ค. 2558 ที่ห้องโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้น 4 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “อีสาน กลางกรุง ลมหายใจผู้คน ท่ามกลางการพัฒนา” ซึ่งจัดโดย กลุ่มนักกิจกรรมรุ่นใหม่ ภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคอีสาน นักวิชาการ และนักศึกษา ที่รวมตัวกันในนามกลุ่ม'อีสานใหม่'
ภายในงานวันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 2 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นการนำเสนอประเด็นในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ถูกกระทำทั้งจากรัฐและทุน หลังการรัฐประหาร และการประกาศใช้กฏอัยการศึก โดยมีตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบการจากใช้อำนาจเข้าจัดการของเจ้าหน้าที่ทหารราว ราว 10 พื้นที่ในภาคอีสาน เสนอประเด็นปัญหาของแต่ละพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร อาทิ ปัญหาการไล่รื้อขุมชนใน สวนป่าโนนดินแดง บ้านเก้าบาตร จ.บุรีรัมย์ ปัญหาเหมืองทอง จ.เลย ปัญหาการขุดเจาะปิโตรเลียม หลุ่มเจาะดงมูล-บี จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ขอนแก่น ปัญหาการหยุดขบวนเดินเพื่อสายน้ำ เครือข่ายแม่น้ำชี จ.ร้อยเอ็ด ปัญหากรณีเหมืองแร่โปแตชจ.อุดรธานี ปัญหาไร่ลื้อชุมชนบ่อแก้วและชุมชนโคกยาว อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ปัญหากรณีโครงการเขื่อนโป่งขุนเพชร ภายใต้การประกาศใช้กฏอัยการศึก ปัญหากรณีโครงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นต้น
'กลุ่มอีสานใหม่'จัดงานกลางกรุง นำเสนอประเด็นปัญหาผลกระทบต่อชุมชนในภาคอีสาน หลังการรัฐประหาร พร้อมข้อเสนอทางวิชาการต่อรัฐบาลให้ยกเลิกกฏอัยการศึก
...เราผุดขึ้นมาจากความแห้งแล้งในหัวใจของผู้ปล้นชิง เติบโตจากหยาดน้ำของความเคารพกันและกันของเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย เราขอประกาศว่า...
20 มี.ค. 2558 ที่ห้องโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้น 4 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการจัดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “อีสาน กลางกรุง ลมหายใจผู้คน ท่ามกลางการพัฒนา” ซึ่งจัดโดย กลุ่มนักกิจกรรมรุ่นใหม่ ภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคอีสาน นักวิชาการ และนักศึกษา ที่รวมตัวกันในนามกลุ่ม'อีสานใหม่'
ภายในงานวันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 2 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นการนำเสนอประเด็นในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ถูกกระทำทั้งจากรัฐและทุน หลังการรัฐประหาร และการประกาศใช้กฏอัยการศึก โดยมีตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบการจากใช้อำนาจเข้าจัดการของเจ้าหน้าที่ทหารราว ราว 10 พื้นที่ในภาคอีสาน เสนอประเด็นปัญหาของแต่ละพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร อาทิ ปัญหาการไล่รื้อขุมชนใน สวนป่าโนนดินแดง บ้านเก้าบาตร จ.บุรีรัมย์ ปัญหาเหมืองทอง จ.เลย ปัญหาการขุดเจาะปิโตรเลียม หลุ่มเจาะดงมูล-บี จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ขอนแก่น ปัญหาการหยุดขบวนเดินเพื่อสายน้ำ เครือข่ายแม่น้ำชี จ.ร้อยเอ็ด ปัญหากรณีเหมืองแร่โปแตชจ.อุดรธานี ปัญหาไร่ลื้อชุมชนบ่อแก้วและชุมชนโคกยาว อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ปัญหากรณีโครงการเขื่อนโป่งขุนเพชร ภายใต้การประกาศใช้กฏอัยการศึก ปัญหากรณีโครงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นต้น
ชมคลิปการนำเสนอประเด็นในพื้นที่ เวทีช่วงเช้า
ในช่วงบ่ายได้มีการจัดเวที ข้อเสนอทางวิชาการ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สามชาย ศรีสันต์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อลงกรณ์ อรรคแสง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสุรชัย ตรงงาม มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ชมคลิปการนำเสนอข้อเสนอทางวิชาการ เวทีช่วงบ่าย
ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการอ่านคำประกาศเปิดตัว กลุ่มอีสานใหม่โดยมีใจความดังนี้
คำประกาศอีสานใหม่
“ไผน้อสิมาส่าง มาถางทางไห่เฮาอยู่
ปากบ่กัดตีนบ่สู้ ไผนั้นสิซอยแปง”
เราคือคนอีสาน... เราถูกเรียกว่าคนอีสานเพราะเกิดบนผืนดินที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ เมืองหลวงแห่งประเทศไทย
เรา คือคน... เราคือผลิตผลของผืนดินที่ถูกขนานนามว่าอีสาน บนดินแดนที่ในความทรงจำของผู้คนในประเทศนี้เห็นเพียงความแห้งแล้งกันดาร ผู้คนยากจนล้าหลังและโง่เขลา
ดินแดนอันอุดม เมื่ออยู่ในมือของผู้มีอำนาจจากส่วนกลาง อำนาจในการจัดการตนเองหลุดจากมือเราไปทีละน้อย อีสานเป็นได้เพียงดินแดนที่ผลิตแรงงานรับจ้างราคาถูก เกษตรกรยากจนที่คอยเสนอผลผลิตราคาถูกสนองนโยบาย ผืนป่าและแหล่งน้ำแหล่งแร่เพื่ออุตสาหกรรมทั้งของไทยและต่างชาติ
ไม่ ใช่เพียงผู้มีอำนาจที่สูงส่งที่เข้ามาครอบครองอีสาน แต่ยังมีผู้หวังดีอีกมากมายที่บ้างก็มาในนามของผู้ให้ความช่วยเหลือ บ้างมาในนามของผู้พัฒนา พร่ำกล่าวคำแนะนำให้ขยัน อดทน ประหยัด รู้จักประมาณตน หรืออื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายก็กล่อมเกลาเราให้สยบยอมต่อชะตากรรมที่ถูกหยิบยื่นให้อย่างเชื่อง เชื่อ
อีสานได้ลุกขึ้นสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ที่ผ่านมาก็ราวกับเป็นได้เพียงโศกนาฏกรรมหรือไม่ก็จำอวดของคณะหมอลำทำนอง ขมขื่นไปเปิดวงแสดงที่ศูนย์กลางอำนาจอย่างกรุงเทพฯ หลงไปว่าชนชั้นนำจะเป็นกรรมการชี้ขาดบนเวทีแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้อย่าง ยุติธรรม หวังว่าการเจรจาลอบบี้อ้อนวอนจะทำให้เหล่าผู้ปล้นชิงใจอ่อนสงสาร สุดท้ายก็มิวายม้วนเสื่อกลับบ้านไปหลบเลียแผลใจและเตรียมรับมือสะสางปัญหา ที่เกิดขึ้นรอบใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เฝ้ารอการเรียกประชุมกรรมการคณะต่างๆ ตามแต่เขาจะกรุณา
เราเคยหลงทิศทางในการลุกขึ้นสู้ บ้างก็หวนรำลึกถึงอดีตอันรุ่งเรือง จนกระทั่งหลงลืมตนจนไม่อาจเคลื่อนไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่าง เท่าทัน บ้างก็หันไปพึ่งพาอำนาจนอกระบบจนเผลอไผลไปร่วมมือกับกลุ่มที่ทำลายกติกา ประชาธิปไตยอย่างน่าละอาย การต่อสู้ที่ไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของอีสานและโลก การไม่ฟังและเคารพความต้องการและการตัดสินใจของพี่น้อง การไม่เคารพหลักการสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย การไปฝากความหวังไว้กับกลุ่มผู้กุมอำนาจ เป็นต้น
วันนี้ เรามาเพื่อประกาศถึงอีสานใหม่ อีสานที่ไม่สยบยอมต่อเหล่าผู้ปล้นสดมภ์ที่หยิบฉวยเอาความอุดมสมบูรณ์ของเรา ไป และหยิบยื่นความขมขื่นตอบแทนกลับมา
ก่อนอื่น เราปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะลดทอนความชอบธรรมของเรา โดยการกล่าวหาว่า เราเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่หวังเพียงผลทางการเมืองแบบน้ำเน่า เป็นกลุ่มติดอาวุธ กลุ่มนอกกฎหมายที่หวังก่อความวุ่นวาย หรือข้อกล่าวหาใด ๆ ที่อาจจะอ้างโดยผู้กุมอำนาจใดๆ การลุกขึ้นของเรานั้นคือสิทธิอันชอบธรรมของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเรียกร้องความยุติธรรมและความเท่าเทียม
และแม้เราจะใช้ชื่ออีสาน ใหม่ แต่เราไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อพี่น้องประชาชนทั้งมวลไม่ว่าจะภาคไหนกลุ่มใด เราเป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจที่แย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนไปเท่านั้น
เรา คืออีสานใหม่ เราผุดขึ้นมาจากความแห้งแล้งในหัวใจของผู้ปล้นชิง เติบโตจากหยาดน้ำของความเคารพกันและกันของเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย เราขอประกาศว่า
การลุกขึ้นมาของเราก็เพียงเพื่อเรื่องพื้นๆ ที่ไม่ยิ่งใหญ่อะไรนัก เราเพียงต้องการที่ดินทำกิน งานที่ยุติธรรม ที่อยู่อาศัยที่พึงมี อาหารที่เพียงพอ สุขอนามัย การศึกษา สภาพแวดล้อมที่ดี สิทธิในการจัดการตนเองและชุมชน เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความยุติธรรม และสันติภาพ
เราจะยืนยันสิทธิของเราด้วยความจริงเพื่อสู้กับคำลวงและการบิดเบือน
เรา จะสร้างอีสานใหม่ด้วยมือประชาชนคนอีสานผู้ทุกข์ยากลำบากมานาน การพัฒนาต้องมาจากประชาชน และประชาชนต้องกำหนดอนาคตของตนเอง บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย!
ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2558
อีสานใหม่
ooo
Mon, 2015-03-23 20:36
ที่มา ประชาไท
ทวีศักดิ์ เกิดโภคา : สัมภาษณ์/เรียบเรียง
คุยกับ สุทธิเกียรติ คชโส โฆษก ‘กลุ่มอีสานใหม่’ ในวันที่การเปิดตัวคือการก้าวข้ามความกลัว ที่มาและที่ไปของ ’อีสานใหม่’ ภาพสังคมที่อยากเห็น และความเชื่อมั่นในพลังคนรุ่นใหม่
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่าน กลุ่มคนที่รวมตัวกันในนาม ‘กลุ่มอีสานใหม่’ ได้จัดงานอีสานกลางกรุง ลมหายใจของผู้คนท่ามกลางการพัฒนา โดยเป็นการจัดเวทีนำเสนอปัญหาในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้อัยการศึก ตลอดเวลา 10 เดือนที่ประเทศตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
แววเสียงหนึ่งดังขึ้นจากเวที “เราอยากให้ทุกคนได้รับรู้ ว่าทั้งหมดนี่คือผลกระทบจากกฎอัยการศึก” ดูเหมือนว่าย่างก้าวแรกของการเปิดตัว ‘กลุ่มอีสานใหม่’ จะผ่านไปได้ด้วยดี ไร้การอ้างกฏอัยการศึกเข้าห้ามจัดงาน แต่พื้นที่ราว 10 พื้นที่ซึ่งได้ออกมาเสนอข้อมูลผลกระทบไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความสิ่งที่พวกเขาทำจะไม่มีต้นทุน หรือราคาที่ต้องจ่าย ภายใต้สภานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ ทว่าสิ่งที่เรียกร้องให้พวกเขาต้องออกมาทำอะไรสักอย่างคือ ความกลัว และเพื่อที่จะทำให้ความกลัวเหล่านั้นหายไป เขาเลือกที่จะพุ่งตัวเข้าหามัน และก้าวข้ามมันไป
ประชาไทคุยกับสุทธิเกียรติ คชโส โฆษก ‘กลุ่มอีสานใหม่’ ถึงที่มา และจุดมุ่งหมายของการก่อตั้ง ‘กลุ่มอีสานใหม่’ แนวคิดทางการเมือง ภาพฝันสังคมที่ต้องการ ความเชื่อมั่นในพลังคนรุ่นใหม่ และการมองปัญหาในเชิงโครงสร้าง
ประชาไท : ‘อีสานใหม่’ ก่อตัวขึ้นมาจากอะไร มีจุดมุ่งหมายอะไร และทำไมต้องเป็น ‘อีสานใหม่’
สุทธิเกียรติ : ‘อีสานใหม่’ เป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆ หรือแม้แต่ได้รับผลกระทบจากกฏหมายที่ประกาศขึ้นมา เช่น เรื่องป่าไม้ การประกาศเขตพื้นที่ป่าไม้ แล้วไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ หรือแม้แต่เรื่องการประกาศใช้กฎอัยการศึก คือต้องเข้าใจอย่างนี้ว่า การเคลื่อนไหวของชาวบ้านมันไม่ใช่อะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง แต่มันเกี่ยวข้องกับการเมืองทางอ้อม ซึ่งเขาเอาจริงๆ แล้วเขาเคลื่อนไหวกันในเรื่องสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน ก็เลยมาคิดหาทางออกร่วมกันว่า การเคลื่อนไหวที่ผ่านมามันเป็นแบบเก่าแล้ว เราต้องการที่จะทำให้มันเป็นแบบใหม่ขึ้นมา คือการเคลื่อนไหวแบบเก่ามันเป็นการเคลื่อนไหวแบบรายประเด็น พื้นที่ไหนมีประเด็นปัญหาอะไรก็เคลื่อนไหวแค่พื้นที่ตัวเอง แต่อีสานใหม่เป็นการเคลื่อนไหวแบบที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อที่จะผลักดันเป้าหมายไปที่การเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง แต่ว่าปัญหาคือ มันมีผลกระทบที่เพิ่งเกิดขึ้นมา เลยต้องจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง
เราก็เลยนิยามการเคลื่อนไหวแบบใหม่ที่ไม่ได้มองปัญหาเชิงเฉพาะหน้าแล้ว แต่ปัญหาทั้งระบบในเชิงโครงสร้างลงมา แบบนี้ว่าเป็น ‘อีสานใหม่’ โดยตอนแรกก็จะมีเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ภาคอีสาน ตอนนี้ก็มีประมาณ 10 พื้นที่ เราก็มีเครือข่ายคนที่ทำงานข้อมูล เก็บข้อมูลผลกระทบต่างๆ ในพื้นที่อยู่แล้ว
ประชาไท : การเปิดตัวที่ผ่านมา ต้องการที่จะส่งสารอะไรออกไปในสังคม
สุทธิเกียรติ : คิดว่าการเปิดตัวเมื่อวานนี้(20 มี.ค.2558) เป็นการเปิดตัวที่จะทำให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ได้ถูกรับรู้ออกไปในวงกว้าง การที่เรามาเปิดตัวที่กรุงเทพคือเราต้องการพื้นที่สื่อ เราต้องการสื่อสารให้กับคนในเมืองได้รู้ว่าสภาพปัญหาในพื้นที่ ที่มันเกิดขึ้นมันได้รับผลกระทบอะไรบ้าง และเหตุการหลังรัฐประหารที่มีกฎอัยการศึกคุมอยู่ด้วย มันได้รับผลการทบที่มากกว่าในสถานการณ์ปกติที่เป็นอยู่ในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
คนในเมืองบ้างส่วนก็จะบอกว่า รัฐประหารก็ดีแล้วจะได้เป็นการจัดการความขัดแย้งพื้นที่ทางการเมือง แต่สำหรับตัวชาวบ้านเองที่อยู่ในพื้นที่มันไม่ใช่แบบนั้น เราเลยต้องมาแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมันรุนแรง จนถึงขนาดมีคนเจ็บ มีการถูกทำร้าย โดยการนำของอำนาจมึดบางส่วนด้วยซ้ำไป
เราพยายามที่จะสร้างให้ชาวบ้านหรือแม้แต่ภาคอื่นๆ ตื่นตัวขึ้นมาว่า เราไม่ควรจะใส่ใจกับปัญหาผลกระทบที่มันเกิดขึ้นในพื้นที่จนลืมไปว่า เรากำลังอยู่กับโครงสร้างที่มันเป็นปัญหาหลักที่ต้องถูกแก้เสียก่อน การที่เราไปสู้รายประเด็นปัญหา อย่างไรโครงสร้างมันก็ไม่ถูกปรับเปลี่ยน มันก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นซ้ำๆ
ประชาไท : อะไรคือความหวังของ ‘อีสานใหม่’
สุทธิเกียรติ : เรามีความหวังแน่นอน เอาเข้าจริงแล้วชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังมองไม่เห็นถึงปัญหาที่แท้จริง คือปัญหาผลกระทบที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าสำหรับตัวเขาต้องได้รับการแก้ก่อน โดยที่เขาอาจจะลืมไปว่าจริงๆ แล้วเนี่ยปัญหามันเกิดมาจากข้างบน มันมีนโยบายมาจากโครงสร้าง มันมีกฏหมายที่ออกมาจากระบบโครงสร้าง ถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาระดับโครงสร้างตรงนี้ แม้แต่การคิดว่าจะไปขอให้อำนาจเผด็จการช่วยเหลือในรายประเด็นแบบนี้ก็ยังมียู่เหมือนกัน เราก็เลยพยายามที่จะลบความหวังแบบนี้ และพยายามสร้างความหวังอันใหม่ขึ้นมาว่า เราสามารถที่จะรวมกันได้โดย ‘อีสานใหม่’ เป็นเพียงแค่การเปิดหัว เป็นที่แรกเฉยๆ เพราะว่าเอาจริงๆ แล้วในพื้นที่อื่น ภาคเหนือ หรือภาคใต้เองก็เคยมีการเคลื่อนไหวแบบนี้อยู่เหมือนกัน แต่ว่าตอนนี้มันหายไป เราก็อยากสร้างบรรยากาศแบบนั้นขึ้นมาอีก
ประชาไท : ‘อีสานใหม่’ พูดถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง แล้วคือโครงสร้างที่ต้องการผลักให้เกิดขึ้น
สุทธิเกียรติ : ภาพโครงสร้างที่เราอยากเห็น ก็เป็นระบบประชาธิปไตยแบบปกติ โครงสร้างที่ไม่จำเป็นต้องผูกขาดอยู่กับนักการเมืองที่มองไม่เห็นประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่เราก็ไม่ได้โฟกัสเพียงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเพียงประเด็นเดียว เพียงนั้น เราก็พยายามที่จะโฟกัสหลายๆ เรื่อง ดีไม่ดีเราอยากให้ชาวบ้าน สามัญชนคนธรรมดา ที่โดนผลกระทบนี่แหละ เข้าไปเป็นนักการเมืองด้วยซ้ำ เพราะเขาเข้าใจในปัญหาของเขา และเขาสามารถที่แก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวความคิดของเขาเอง
ประชาไท : หากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างกันอยู่ และประเทศเรามีการเลือกตั้ง ปัญหาที่ชาวบ้านเผชิญจะเป็นอย่างไรต่อไป
สุทธิเกียรติ : พูดกันตรงๆ ถ้าอนาคตเรามีรัฐบาลที่มาจกการเลือตั้ง ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะยังอยู่เหมือนเดิม ปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ จากนโยบายของรัฐ มันยังอยู่เหมือนเดิมมันก็ไม่ได้มีการแก้ไข เพราะถึงแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ มันก็อยู่ในมือของรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหารทุกครั้ง มันก็ให้อำนาจกับกลุ่มอำนาจเดิม ซึ่งก็ไม่ได้ให้อำนาจอะไรกับชาวบ้านเลย หรือแม้แต่การล่ารายชื่อที่เขาเปลี่ยนระบบใหม่ คือคุณสามารถที่จะล่ารายชื่อที่จะ แก้ไขกฎหมาย หรือเสนอกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติมันก็ทำไม่ได้ พอเอาเข้าไปในระบบมันก็ตก ร่างนั้นก็ตกไปเลยโดยปริยาย เพราะว่ามันก็มีแต่คนระดับสูงๆ ที่เข้าไปเป็นนักการเมืองในสภาซึ่งต้องมีหน้าที่พิจารณา คือเขาก็เป็นนักการเมืองที่เป็นนักการเมืองระดับชาติซึ่งต้องเห็นแก่ผลประโยชน์ระดับชาติ เห็นด้วยกับนโยบายที่ว่า ชาติต้องได้ ชาติต้องมาก่อน ทั้งที่ระบอบประชาธิปไตยบอกว่า ประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่พอมาถึงในทางปฏิบัติเสียงของประชาชนก็ถูกกลบหายไปจากสารบบ
ฉะนั้นโครงสร้างการเมืองในภาพฝันนักการเมืองมันก็ต้องมาจาก สามัญชนคนธรรมดา ที่มองเห็นปัญหาอย่างแท้จริง จึงจะทำให้เสียงของประชาชนเป็นเสียงของประชาชนจริงๆ ที่สามารถมีน้ำหนัก ในการออกกฎหมาย ออกนโยบาย หรือแม้แต่ระบบการปกครองด้วยซ้ำ
ประชาไท : เท่าที่เห็นเหมือนกับว่า พลังคนรุ่นใหม่ จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักๆ ให้กับ ‘อีสานใหม่’ อะไรที่เป็นแรงดึงดูดให้คนรุ่นใหม่มารวมตัวกัน
สุทธิเกียรติ : จริงๆ คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับ ’อีสานใหม่’ ก็เป็นนักศึกษามาก่อน แล้วตอนที่ยังเป็นนักศึกษา พวกเขาก็ทำกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหา ประเด็นความเดือดร้อนของชาวบ้านที่มีอยู่ในสังคมอยู่แล้ว และพอหลุดออกมาจากการเป็นนักศึกษา เข้ามาทำงานก็ต้องการที่จะออกมาทำงานที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม โดยส่วนหนึ่งคือนักศึกษาที่มีอุดมการณ์ที่อยากเห็นสังคมที่ดีกว่า
เราเรียกตัวเองว่านักกิจกรรม แล้วอยากเห็นสังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เราก็เลยมีการรวมตัวกัน จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีคนจากภาคอีสานเท่านั้น แต่เป็นคนรุ่นใหม่จากหลายพื้นที่ที่คิดร่วมกันว่า เรามีภาพความฝันความหวังที่เป็นแบบนั้น เอาจริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้มีแต่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ว่าจะมีคนรุ่นใหม่อยู่ในกลุ่มในจำนวนที่เยอะหน่อย เพราะว่าบางที่คนรุ่นเก่า ก็คิดแค่เรื่องเก่าๆ มันก็เลยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงสักที ฉะนั้นพื้นที่นี้ก็อาจะเป็นพื้นที่ ที่คนรุ่นใหม่อยากแสดงออกว่าบางทีมันก็ต้องมีทางเลือกใหม่ๆ เพื่อที่จะแสดงจุดยืนให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ก็มีความสามารถที่จะเทียบเท่าคนรุ่นเก่า หรือมีความคิดดีกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำไป
ประชาไท : ทุกการออกมาเคลื่อนไหวในช่วงสถานะการณ์ไม่ปกติ ยอมมีต้นทุน หรือราคาที่ต้องจ่าย ‘อีสานใหม่’ ประเมินเรื่องนี้อย่างไร
สุทธิเกียรติ : เราก็ประเมินไว้เหมือนกันว่ามันจะคุ้มหรือไม่ ในสภาวะสถานการณ์บ้านเมืองที่มันเป็นแบบนี้ แต่เราก็คิดว่าถ้าเราไม่ทำอะไรเลย มันก็จะไม่เกิดผลอะไร แต่ถ้าเราทำแล้วมันเกิดผลสะเทือนขึ้นมามันก็คุ้มค่า กับสิ่งที่เราอาจจะเสีย เช่นออกมาทำแบบนี้อาจจะทำให้โดนจับตามอง ซึ่งทำหรือไม่ทำก็โดนจับตามองอยู่แล้ว หรือแม้แต่การที่เราออกมาพูดเสียดสีผู้มีอำนาจ ถ้าเราไม่กล้าพูด คนอื่นก็ไม่กล้าพูด อาจจะเป็นการเปิดเพื่อให้หลุดพ้นจากความกลัวซะมากกว่า ฉะนั้นคิดว่าคุ้มค่ามากกับสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น ถ้ามันส่งผลสะเทือนไปถึงคนอื่นๆ ถ้ามีการรับรู้แม้แต่คนในเมือง หรือคนภาคอื่นๆ ก็ตาม
ประชาไท : เป้าหมายในระยะยาวคือ การมองไปที่ปัญหาโครงสร้าง และเข้าไปจัดการกับมัน แล้วอะไรคือเป้าหมายระยสั้น ที่ ’อีสานใหม่’ เห็นว่าต้องรีบแก้ไขมากที่สุด
สุทธิเกียรติ :เป้าหมายในสภาวะแบบนี้ เราคิดว่าต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง คือถ้าแค่เราเปิดตัวแล้วหายไปคนก็จะคิดว่า โฆษณาว่ามีกลุ่มนี้อยู่ หรือแค่โฆษณาเพื่อที่เรียกราคาให้ตัวเอง ให้มีพื้นที่ยืนในสังคม
แต่ว่าสิ่งที่เราจะทำต่อไป มันก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่เองด้วย เพราะเวลาที่เราทำงานกับชาวบ้านเราก็จะยึดถือ ชาวบ้านเป็นหลัก เพราะชาวบ้านมีอำนาจทางความคิดนำพวกเรา พวกเราจะไม่เข้าไปครอบงำว่าให้ชาวบ้านทำตามเรา เราต้องเอาข้อเสนอและความคิดเห็นของเขา แล้วช่วยให้เห็นภาพใหญ่ๆ เท่านั้นเองว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา มันเป็นเรื่องของอำนาจ เป็นเรื่องของโครงสร้างทั้งนั้น
อย่างข้อเสนอให้มีการยกเลิกกฎอัยศึก นี่ก็เป็นข้อเสนอที่สะท้อนออกมาจากชาวบ้านเองเลย เพราะการมีกฎอัยการศึกมันทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำอะไรได้เลย นอกจากจำยอมต่ออำนาจ
ทวีศักดิ์ เกิดโภคา : สัมภาษณ์/เรียบเรียง
คุยกับ สุทธิเกียรติ คชโส โฆษก ‘กลุ่มอีสานใหม่’ ในวันที่การเปิดตัวคือการก้าวข้ามความกลัว ที่มาและที่ไปของ ’อีสานใหม่’ ภาพสังคมที่อยากเห็น และความเชื่อมั่นในพลังคนรุ่นใหม่
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่าน กลุ่มคนที่รวมตัวกันในนาม ‘กลุ่มอีสานใหม่’ ได้จัดงานอีสานกลางกรุง ลมหายใจของผู้คนท่ามกลางการพัฒนา โดยเป็นการจัดเวทีนำเสนอปัญหาในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้อัยการศึก ตลอดเวลา 10 เดือนที่ประเทศตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
แววเสียงหนึ่งดังขึ้นจากเวที “เราอยากให้ทุกคนได้รับรู้ ว่าทั้งหมดนี่คือผลกระทบจากกฎอัยการศึก” ดูเหมือนว่าย่างก้าวแรกของการเปิดตัว ‘กลุ่มอีสานใหม่’ จะผ่านไปได้ด้วยดี ไร้การอ้างกฏอัยการศึกเข้าห้ามจัดงาน แต่พื้นที่ราว 10 พื้นที่ซึ่งได้ออกมาเสนอข้อมูลผลกระทบไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้ไม่ได้หมายความสิ่งที่พวกเขาทำจะไม่มีต้นทุน หรือราคาที่ต้องจ่าย ภายใต้สภานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติ ทว่าสิ่งที่เรียกร้องให้พวกเขาต้องออกมาทำอะไรสักอย่างคือ ความกลัว และเพื่อที่จะทำให้ความกลัวเหล่านั้นหายไป เขาเลือกที่จะพุ่งตัวเข้าหามัน และก้าวข้ามมันไป
ประชาไทคุยกับสุทธิเกียรติ คชโส โฆษก ‘กลุ่มอีสานใหม่’ ถึงที่มา และจุดมุ่งหมายของการก่อตั้ง ‘กลุ่มอีสานใหม่’ แนวคิดทางการเมือง ภาพฝันสังคมที่ต้องการ ความเชื่อมั่นในพลังคนรุ่นใหม่ และการมองปัญหาในเชิงโครงสร้าง
00000
ประชาไท : ‘อีสานใหม่’ ก่อตัวขึ้นมาจากอะไร มีจุดมุ่งหมายอะไร และทำไมต้องเป็น ‘อีสานใหม่’
สุทธิเกียรติ : ‘อีสานใหม่’ เป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาต่างๆ หรือแม้แต่ได้รับผลกระทบจากกฏหมายที่ประกาศขึ้นมา เช่น เรื่องป่าไม้ การประกาศเขตพื้นที่ป่าไม้ แล้วไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ หรือแม้แต่เรื่องการประกาศใช้กฎอัยการศึก คือต้องเข้าใจอย่างนี้ว่า การเคลื่อนไหวของชาวบ้านมันไม่ใช่อะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง แต่มันเกี่ยวข้องกับการเมืองทางอ้อม ซึ่งเขาเอาจริงๆ แล้วเขาเคลื่อนไหวกันในเรื่องสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน ก็เลยมาคิดหาทางออกร่วมกันว่า การเคลื่อนไหวที่ผ่านมามันเป็นแบบเก่าแล้ว เราต้องการที่จะทำให้มันเป็นแบบใหม่ขึ้นมา คือการเคลื่อนไหวแบบเก่ามันเป็นการเคลื่อนไหวแบบรายประเด็น พื้นที่ไหนมีประเด็นปัญหาอะไรก็เคลื่อนไหวแค่พื้นที่ตัวเอง แต่อีสานใหม่เป็นการเคลื่อนไหวแบบที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อที่จะผลักดันเป้าหมายไปที่การเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง แต่ว่าปัญหาคือ มันมีผลกระทบที่เพิ่งเกิดขึ้นมา เลยต้องจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง
เราก็เลยนิยามการเคลื่อนไหวแบบใหม่ที่ไม่ได้มองปัญหาเชิงเฉพาะหน้าแล้ว แต่ปัญหาทั้งระบบในเชิงโครงสร้างลงมา แบบนี้ว่าเป็น ‘อีสานใหม่’ โดยตอนแรกก็จะมีเครือข่ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ภาคอีสาน ตอนนี้ก็มีประมาณ 10 พื้นที่ เราก็มีเครือข่ายคนที่ทำงานข้อมูล เก็บข้อมูลผลกระทบต่างๆ ในพื้นที่อยู่แล้ว
ประชาไท : การเปิดตัวที่ผ่านมา ต้องการที่จะส่งสารอะไรออกไปในสังคม
สุทธิเกียรติ : คิดว่าการเปิดตัวเมื่อวานนี้(20 มี.ค.2558) เป็นการเปิดตัวที่จะทำให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ได้ถูกรับรู้ออกไปในวงกว้าง การที่เรามาเปิดตัวที่กรุงเทพคือเราต้องการพื้นที่สื่อ เราต้องการสื่อสารให้กับคนในเมืองได้รู้ว่าสภาพปัญหาในพื้นที่ ที่มันเกิดขึ้นมันได้รับผลกระทบอะไรบ้าง และเหตุการหลังรัฐประหารที่มีกฎอัยการศึกคุมอยู่ด้วย มันได้รับผลการทบที่มากกว่าในสถานการณ์ปกติที่เป็นอยู่ในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่
คนในเมืองบ้างส่วนก็จะบอกว่า รัฐประหารก็ดีแล้วจะได้เป็นการจัดการความขัดแย้งพื้นที่ทางการเมือง แต่สำหรับตัวชาวบ้านเองที่อยู่ในพื้นที่มันไม่ใช่แบบนั้น เราเลยต้องมาแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมันรุนแรง จนถึงขนาดมีคนเจ็บ มีการถูกทำร้าย โดยการนำของอำนาจมึดบางส่วนด้วยซ้ำไป
เราพยายามที่จะสร้างให้ชาวบ้านหรือแม้แต่ภาคอื่นๆ ตื่นตัวขึ้นมาว่า เราไม่ควรจะใส่ใจกับปัญหาผลกระทบที่มันเกิดขึ้นในพื้นที่จนลืมไปว่า เรากำลังอยู่กับโครงสร้างที่มันเป็นปัญหาหลักที่ต้องถูกแก้เสียก่อน การที่เราไปสู้รายประเด็นปัญหา อย่างไรโครงสร้างมันก็ไม่ถูกปรับเปลี่ยน มันก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นซ้ำๆ
ประชาไท : อะไรคือความหวังของ ‘อีสานใหม่’
สุทธิเกียรติ : เรามีความหวังแน่นอน เอาเข้าจริงแล้วชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังมองไม่เห็นถึงปัญหาที่แท้จริง คือปัญหาผลกระทบที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าสำหรับตัวเขาต้องได้รับการแก้ก่อน โดยที่เขาอาจจะลืมไปว่าจริงๆ แล้วเนี่ยปัญหามันเกิดมาจากข้างบน มันมีนโยบายมาจากโครงสร้าง มันมีกฏหมายที่ออกมาจากระบบโครงสร้าง ถ้าเราไม่แก้ไขปัญหาระดับโครงสร้างตรงนี้ แม้แต่การคิดว่าจะไปขอให้อำนาจเผด็จการช่วยเหลือในรายประเด็นแบบนี้ก็ยังมียู่เหมือนกัน เราก็เลยพยายามที่จะลบความหวังแบบนี้ และพยายามสร้างความหวังอันใหม่ขึ้นมาว่า เราสามารถที่จะรวมกันได้โดย ‘อีสานใหม่’ เป็นเพียงแค่การเปิดหัว เป็นที่แรกเฉยๆ เพราะว่าเอาจริงๆ แล้วในพื้นที่อื่น ภาคเหนือ หรือภาคใต้เองก็เคยมีการเคลื่อนไหวแบบนี้อยู่เหมือนกัน แต่ว่าตอนนี้มันหายไป เราก็อยากสร้างบรรยากาศแบบนั้นขึ้นมาอีก
ประชาไท : ‘อีสานใหม่’ พูดถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง แล้วคือโครงสร้างที่ต้องการผลักให้เกิดขึ้น
สุทธิเกียรติ : ภาพโครงสร้างที่เราอยากเห็น ก็เป็นระบบประชาธิปไตยแบบปกติ โครงสร้างที่ไม่จำเป็นต้องผูกขาดอยู่กับนักการเมืองที่มองไม่เห็นประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่เราก็ไม่ได้โฟกัสเพียงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเพียงประเด็นเดียว เพียงนั้น เราก็พยายามที่จะโฟกัสหลายๆ เรื่อง ดีไม่ดีเราอยากให้ชาวบ้าน สามัญชนคนธรรมดา ที่โดนผลกระทบนี่แหละ เข้าไปเป็นนักการเมืองด้วยซ้ำ เพราะเขาเข้าใจในปัญหาของเขา และเขาสามารถที่แก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวความคิดของเขาเอง
ประชาไท : หากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างกันอยู่ และประเทศเรามีการเลือกตั้ง ปัญหาที่ชาวบ้านเผชิญจะเป็นอย่างไรต่อไป
สุทธิเกียรติ : พูดกันตรงๆ ถ้าอนาคตเรามีรัฐบาลที่มาจกการเลือตั้ง ปัญหาเหล่านี้ก็อาจจะยังอยู่เหมือนเดิม ปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ จากนโยบายของรัฐ มันยังอยู่เหมือนเดิมมันก็ไม่ได้มีการแก้ไข เพราะถึงแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ มันก็อยู่ในมือของรัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหารทุกครั้ง มันก็ให้อำนาจกับกลุ่มอำนาจเดิม ซึ่งก็ไม่ได้ให้อำนาจอะไรกับชาวบ้านเลย หรือแม้แต่การล่ารายชื่อที่เขาเปลี่ยนระบบใหม่ คือคุณสามารถที่จะล่ารายชื่อที่จะ แก้ไขกฎหมาย หรือเสนอกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติมันก็ทำไม่ได้ พอเอาเข้าไปในระบบมันก็ตก ร่างนั้นก็ตกไปเลยโดยปริยาย เพราะว่ามันก็มีแต่คนระดับสูงๆ ที่เข้าไปเป็นนักการเมืองในสภาซึ่งต้องมีหน้าที่พิจารณา คือเขาก็เป็นนักการเมืองที่เป็นนักการเมืองระดับชาติซึ่งต้องเห็นแก่ผลประโยชน์ระดับชาติ เห็นด้วยกับนโยบายที่ว่า ชาติต้องได้ ชาติต้องมาก่อน ทั้งที่ระบอบประชาธิปไตยบอกว่า ประชาชนเป็นเสียงส่วนใหญ่ แต่พอมาถึงในทางปฏิบัติเสียงของประชาชนก็ถูกกลบหายไปจากสารบบ
ฉะนั้นโครงสร้างการเมืองในภาพฝันนักการเมืองมันก็ต้องมาจาก สามัญชนคนธรรมดา ที่มองเห็นปัญหาอย่างแท้จริง จึงจะทำให้เสียงของประชาชนเป็นเสียงของประชาชนจริงๆ ที่สามารถมีน้ำหนัก ในการออกกฎหมาย ออกนโยบาย หรือแม้แต่ระบบการปกครองด้วยซ้ำ
ประชาไท : เท่าที่เห็นเหมือนกับว่า พลังคนรุ่นใหม่ จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักๆ ให้กับ ‘อีสานใหม่’ อะไรที่เป็นแรงดึงดูดให้คนรุ่นใหม่มารวมตัวกัน
สุทธิเกียรติ : จริงๆ คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับ ’อีสานใหม่’ ก็เป็นนักศึกษามาก่อน แล้วตอนที่ยังเป็นนักศึกษา พวกเขาก็ทำกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหา ประเด็นความเดือดร้อนของชาวบ้านที่มีอยู่ในสังคมอยู่แล้ว และพอหลุดออกมาจากการเป็นนักศึกษา เข้ามาทำงานก็ต้องการที่จะออกมาทำงานที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม โดยส่วนหนึ่งคือนักศึกษาที่มีอุดมการณ์ที่อยากเห็นสังคมที่ดีกว่า
เราเรียกตัวเองว่านักกิจกรรม แล้วอยากเห็นสังคมมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เราก็เลยมีการรวมตัวกัน จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีคนจากภาคอีสานเท่านั้น แต่เป็นคนรุ่นใหม่จากหลายพื้นที่ที่คิดร่วมกันว่า เรามีภาพความฝันความหวังที่เป็นแบบนั้น เอาจริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้มีแต่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ว่าจะมีคนรุ่นใหม่อยู่ในกลุ่มในจำนวนที่เยอะหน่อย เพราะว่าบางที่คนรุ่นเก่า ก็คิดแค่เรื่องเก่าๆ มันก็เลยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงสักที ฉะนั้นพื้นที่นี้ก็อาจะเป็นพื้นที่ ที่คนรุ่นใหม่อยากแสดงออกว่าบางทีมันก็ต้องมีทางเลือกใหม่ๆ เพื่อที่จะแสดงจุดยืนให้เห็นว่า คนรุ่นใหม่ก็มีความสามารถที่จะเทียบเท่าคนรุ่นเก่า หรือมีความคิดดีกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำไป
ประชาไท : ทุกการออกมาเคลื่อนไหวในช่วงสถานะการณ์ไม่ปกติ ยอมมีต้นทุน หรือราคาที่ต้องจ่าย ‘อีสานใหม่’ ประเมินเรื่องนี้อย่างไร
สุทธิเกียรติ : เราก็ประเมินไว้เหมือนกันว่ามันจะคุ้มหรือไม่ ในสภาวะสถานการณ์บ้านเมืองที่มันเป็นแบบนี้ แต่เราก็คิดว่าถ้าเราไม่ทำอะไรเลย มันก็จะไม่เกิดผลอะไร แต่ถ้าเราทำแล้วมันเกิดผลสะเทือนขึ้นมามันก็คุ้มค่า กับสิ่งที่เราอาจจะเสีย เช่นออกมาทำแบบนี้อาจจะทำให้โดนจับตามอง ซึ่งทำหรือไม่ทำก็โดนจับตามองอยู่แล้ว หรือแม้แต่การที่เราออกมาพูดเสียดสีผู้มีอำนาจ ถ้าเราไม่กล้าพูด คนอื่นก็ไม่กล้าพูด อาจจะเป็นการเปิดเพื่อให้หลุดพ้นจากความกลัวซะมากกว่า ฉะนั้นคิดว่าคุ้มค่ามากกับสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น ถ้ามันส่งผลสะเทือนไปถึงคนอื่นๆ ถ้ามีการรับรู้แม้แต่คนในเมือง หรือคนภาคอื่นๆ ก็ตาม
ประชาไท : เป้าหมายในระยะยาวคือ การมองไปที่ปัญหาโครงสร้าง และเข้าไปจัดการกับมัน แล้วอะไรคือเป้าหมายระยสั้น ที่ ’อีสานใหม่’ เห็นว่าต้องรีบแก้ไขมากที่สุด
สุทธิเกียรติ :เป้าหมายในสภาวะแบบนี้ เราคิดว่าต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง คือถ้าแค่เราเปิดตัวแล้วหายไปคนก็จะคิดว่า โฆษณาว่ามีกลุ่มนี้อยู่ หรือแค่โฆษณาเพื่อที่เรียกราคาให้ตัวเอง ให้มีพื้นที่ยืนในสังคม
แต่ว่าสิ่งที่เราจะทำต่อไป มันก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่เองด้วย เพราะเวลาที่เราทำงานกับชาวบ้านเราก็จะยึดถือ ชาวบ้านเป็นหลัก เพราะชาวบ้านมีอำนาจทางความคิดนำพวกเรา พวกเราจะไม่เข้าไปครอบงำว่าให้ชาวบ้านทำตามเรา เราต้องเอาข้อเสนอและความคิดเห็นของเขา แล้วช่วยให้เห็นภาพใหญ่ๆ เท่านั้นเองว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา มันเป็นเรื่องของอำนาจ เป็นเรื่องของโครงสร้างทั้งนั้น
อย่างข้อเสนอให้มีการยกเลิกกฎอัยศึก นี่ก็เป็นข้อเสนอที่สะท้อนออกมาจากชาวบ้านเองเลย เพราะการมีกฎอัยการศึกมันทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำอะไรได้เลย นอกจากจำยอมต่ออำนาจ