Lower Klity Creek - Lead Contamination - ลำห้วยคลิตี้
อ้างอิงจากบทความใน Status ส่วนตัว: Lower Klity Creek - Lead Contamination - ลำห้วยคลิตี้
Status ชุดนี้ อาจจะดูไม่สำคัญ หรือ บางท่านอาจจะเบื่อ ไม่แคร์นัก เพราะไม่มีผลกระทบใดๆ กับตัวท่าน แต่ดิฉันก็อยากจะเสนอให้เพื่อนๆ ได้รับทราบ มันอยู่ที่ว่า จะมีใครให้ความสนใจกับเรื่องเหล่านี้บ้าง และผู้รับผิดชอบทั้งหลายแหล่นั้น จะ "ถ่วง" กันไปนานอีกแค่ไหนเท่านั้น...
อยากให้ชมกันในระบบ HD จะได้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น
**************
เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2558 เป็นวันที่เรียกกันว่า วันน้ำโลก หรือ World Water Day ที่ทางองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนดำเนินการตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมสหประชาชาติปี ค.ศ. 1992 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
เพื่อนที่ติดตาม Facebook ของดิฉันท่านหนึ่ง ส่งข้อความมาให้อ่าน รวมทั้งลิ้งค์วิดีโอของ Human Rights Watch มาให้ชม เกี่ยวกับเรื่องของ ลำห้วยคลิตี้ล่าง ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในแถบนี้ ได้มีสารตะกั่วในร่างกายสูงมาก (Lead poisoning) สืบเนื่องจาก การตั้งโรงงานของบริษัท ตะกั่วคอนเซนเทรทส์ในประเทศไทย ถึงแม้ว่า โรงงานจะปิดตัวไปมากกว่า 15 ปีแล้วก็ตาม แต่สารมลพิษเหล่านั้น ก็ยังคงอยู่ตามธรรมชาติ ห้วยคลอง รวมไปถึงสัตว์บก สัตว์น้ำเหมือนเช่นเดิม
**************
คำตัดสินจากศาลเพื่อให้มีการดำเนินการทำความสะอาดอย่างเร่งด่วน ก็ไม่สามารถกระทำกันได้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของใคร ประชาชนชาวบ้านแถบนั้น ก็ยังคงรอความช่วยเหลือจากทางการอยู่เป็นเวลาหลายปีแล้ว ส่วนทางกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็อ้างถึงเรื่อง ที่จะต้อง "ถ่วง" เก็บข้อมูลเพื่อการทดสอบเพิ่มอยู่อย่างเสมอมา ช่าวบ้านที่อยู่แถบนั้น ก็ยังคง "รับกรรม" ต่อไปอย่างนั้นหรือ?
จากคำสัมภาษณ์ของอธิบีดกรมควบคุมมวลพิษ ลำห้วยคลิตี้มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร แต่ไม่สามารถสำรวจอย่างทั่วถึงได้ แถมยังมีการอ้างอิงต่อว่า ให้ธรรมชาติเป็นผู้รักษาเยียวยาของมันเอง แต่ไม่มีใครตอบได้ว่า จะต้องใช้เวลากันเท่าไร เป็นสิบๆ หรือ 100 ปีหรือเปล่า กว่าที่สารมลพิษเหล่านั้นจะออกจากระบบนิเวศน์ไปได้
**************
ยังมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับกิจการเหมืองแร่ ที่ผุดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เป็นต้นว่า ที่มาบตาพุด (Map Ta Phut) - (จังหวัดระยอง) , เหมืองทองคำที่จังหวัดพิจิตร (Pichit Province), และที่บ้านนาหนองบง (Na Nong Bong) - (เหมืองแร่ทองที่จังหวัดเลย) เป็นต้น เมื่อมีอุตสาหกรรมเหมืองแร่เกิดขึ้น ระบบนิเวศน์ต่างๆ จะกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถบนั้นแน่นอน และสุดท้ายก็คือ อาหารการกินก็เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ อย่างที่ท่านได้ชมจากวิดีโอกัน
************
เรื่องราวของความยุติธรรมอันล่าช้าที่เกิดขึ้นในลำห้วยคลิตี้ล่างนั้น เป็นตัวอย่างที่ท่านได้เห็นกันว่า การทำความสะอาดก็ยังไม่เกิดขึ้นถึงแม้ว่า ทางศาลฎีกาของไทยได้ตัดสินเรียบร้อยแล้วเมื่อ สองปีที่ผ่านมา (เกี่ยวพันกับรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลชุดปัจจุบันด้วย) นั่นก็แสดงให้ทราบว่า ถ้าคนเราไม่มีเส้นสายใดๆ ก็ต้องรอไปอีก "ชาติหนึ่ง" แน่นอน...
วิดีโอชุดนี้ จัดทำโดย องค์กร ฮิวแมนไรท์วอทช์ (Human Rights Watch) ซึ่งทำการเผยแพร่เรื่องนี้ออกไปทั่วโลก เมื่อเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว และเนื่องจากวันที่ 22 มีนาคม เป็นวันน้ำโลก เรื่องของลำห้วยคลิตี้ล่าง ก็ได้ถูกนำขึ้นมาสนทนาวิเคราะห์กันอีกครั้งหนึ่ง
วิดีโอชุดนี้ ใช้เวลาชมทั้งหมด 12 นาทีเศษๆ แต่มันจะทำให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันว่า ประชาชนผู้เสียภาษีในสถานที่แห่งหนึ่งนั้น ไม่ได้รับบริการใดๆ หรือความสนใจจากสังคม เท่าเทียมกันกับบุคคลที่อยู่ในเมืองหลวงของประเทศเลย
************
อ้างอิงเอกสารของ GreenPeace เกี่ยวกับเรื่องราวของ ลำห้วยคลิตี้ จากลิ้งค์นี้:
ไม่ต้องโยนกันไปโยนกันมาเลย เพราะปัญหามันอยู่คู่ประเทศไทยมายาวนานหลายปีมาแล้ว และเรื่องเหล่านี้ ก็ไม่เกี่ยวกับ สีเสื้อว่าจะเป็นแดงหรือเป็นเหลือง แต่มันเป็นชีวิตจริงๆ ที่ผู้คนในสถานที่เหล่านั้นจะต้องเผชิญกันทุกๆ วัน ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหนองน้ำนี้ เขาจะมีโอกาสได้เห็นการทำความสะอาดในล้ำห้วย เกิดขึ้นในชั่วชีวิตของพวกเขาหรือเปล่าเท่านั้นเอง.....
Doungchampa Spencer-Isenberg