หรือที่ชาวบ้านหยอกล้อว่า 'สภาน้องชาย'
เนื่องเนาจากการที่ 'คุณสมชาย' (คสช.) เป็นคนตั้ง
ครั้งนี้ดังกว่าครั้งไหน มีน้องๆ คุณสมชายถึงเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์
ไร่เรียงเป็นรายตนได้ตะหานร้อยห้า ตำหวดแค่สิบ
อีกแปดสิบห้า มาจากผู้นิยม ปชต. ยั่งยืน สองสามสาย
มีกลุ่มอธิการดีบ่ เหล่า สว. ลากตั้ง อีกทั้งพวกเจ้าสัวน้ำเลี้ยง
พวกหน้าเก่า เจ้าเดิมก็เยอะ กล้าณรงค์-สมชาย-บุญถนอม-เลิศฤทธิ์- (สอง) สมคิด และบุญชัย
นี่หาใช่สภาผัวเมีย หากแต่มีพี่มีน้อง (ตระกูลทอง) และรุ่นพี่ (๑๒) รุ่นน้อง (๑๕) ตห.
อิตถีเพศก็เบียดเข้ามาได้ตั้งสิบหล่อน (เท่ากับห้าเปอร์เซ็นต์)
เด่นกว่าใครต้องคุณหญิงยอดมณี ผู้ที่เคยตอก 'เมกา หน้าหงาย
คราวนี้แม่เจ้าประคุณเป็นหัวหอก เชียร์ท่านผู้นำควบนายกฯ
ไฮไล้ท์ได้กับ พรเพชร วิชิตชลชัย นักชงล้มเลือกตั้ง เปิดทาง รปห.
ฝีมือขนาดนี้นัยว่าหนีไม่พ้นตำแหน่งประธาน สนช. แทนที่นรนิติ
ooo
ภาพเปรียบเทียบสัดส่วนทหารที่เข้ามานั่งในตำแหน่ง สนช.หลังการรัฐประหารทั้ง 3 ครั้ง
ที่มา UDD Thailand
สำหรับคราวนี้ ลองมาดูใครเป็นใครใน สนช.
1. นายทหาร ตำรวจ ชื่อดัง
- พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ (รักษาสันติภาพติมอร์/ไฟใต้)
- พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร (อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 กรณีเขาพระวิหาร)
- พลเอก ธีรเดช มีเพียร (อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน)
- พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ (ผบ สส ยุค คมช)
- พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ (อดีต ผบทร)
- พลโท ปรีชา จันทร์โอชา (น้องชายพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)
- พลตรี จารึก อารีราชการัณย์
- พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
- พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
- พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
- พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
- พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์
- พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย (พ่อน้องพิมพ์ดาว พานิชสมัย)
- พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม (อดีต สว)
- พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ (ผบทร)
- พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
- พลเอก อู้ด เบื้องบน (ปลัดกระทรวงกลาโหม)
- พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์
2. ภาคธุรกิจเอกชน/การเงิน
- กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูล (Toshiba)
- นายบุญชัย โชควัฒนา (ประธานกรรมการสหพัฒนพิบูลย์)
- นายสม จาตุศรีพิทักษ์ (พี่ชายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เคยเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์สมัยรัฐบาลพลเอกเชาวลิต)
- นายบุญทักษ์ หวังเจริญ (CEO ธนาคารทหารไทย)
- นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ (นายกสมาคมอาหารแช่แข็งไทย)
- นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ (นายกสมาคมผู้ผลิตสบู่/ที่ปรึกษากฎหมาย)
- นางเสาวณี สุวรรณชีพ (ธนาคารแห่งประเทศไทย, กรรมการบริษัท)
- นายอิสระ ว่องกุศลกิจ (ประธานกรรมการกลุ่มน้ำตาลมิตรผล)
3. รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานในกำกับรัฐ
- นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (ปตท)
- นายสมพล เกียรติไพบูลย์ (ประธาน กลต)
- นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร (อดีตประธานกรรมการบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย)
- นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย (ผู้บริหารบริษัท/ บอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง)
- นายสุพันธุ์ มงคลสุธี (ประธานสภาอุตสาหกรรม)
4. นักวิชาการ เทคโนแครต มหาวิทยาลัย
- นายณรงค์ชัย อัครเศรณี (ความเชี่ยวชาญเศรษฐกิจการค้า)
- นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (NIDA)
- นายนรนิติ เศรษฐบุตร (ธรรมศาสตร์ อดีตอธิการบดี)
- นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ (อธิการบดี ม เกษตรศาสตร์)
- นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ (อธิการบดี ม ธรรมศาสตร์)
- นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย (อธิการบดี ม ขอนแก่น)
- นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (อธิการบดี มศว.)
- นางนิสดารก์ เวชยานนท์ (NIDA)
- นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต (อธิการบดี ม เชียงใหม่)
- นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ (NIDA)
- นายภิรมย์ กมลรัตนกุล (อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน (อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)
- นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
5. ข้าราชการ อดีต/ปัจจุบัน
- นายปรีชา วัชราภัย (เลขาธิการ ก.พ.)
- นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร (อดีตผู้ว่า กรรมการ ก.พ - รัฐศาสตร์จุฬา)
- นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ (อดีตอธิบดีกรมการค้าภายใน และปลัดกระทรวงพาณิชย์)
- นายสีมา สีมานันท์ (อดีตเลขาธิการ ก.พ.)
- นายกล้านรงค์ จันทิก (อดีตเลขา ปปช)
- นายกิตติ วะสีนนท์ (อดีตทูต)
- นายชาญวิทย์ วสยางกูร (อดีตผู้ว่า รัฐศาสตร์จุฬา)
- นายแพทย์ธํารง ทศนาญชลี (อดีตข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการโรงงานยาสูบ)
- นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด รัฐศาสตร์ จุฬา)
- นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา (อดีตผู้ว่าฯ - เคยขึ้นเวทีมัฆวาน ในการชุมนุมของพันธมิตร)
- นายภาณุ อุทัยรัตน์ (อดีต ผอ ศอ บต - รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
- นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ (อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัด)
- นายประมุท สูตะบุตร (อดีตข้าราชการสำนักนายกรัฐมนตรี)
- นายพรศักดิ์ เจียรณัย (ผู้ว่าราชการจังหวัด - รัฐศาสตร์ราม)
- นายวันชัย ศารทูลทัต (อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่า อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม)
- นายวิทยา ฉายสุวรรณ (ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
- นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ (อดีตทูต)
- นายศิระชัย โชติรัตน์ (อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
- นายสถิตย์ สวินทร (อดีตอธิบดีกรมป่าไม้)
- นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล (อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ)
- นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ (ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ)
- นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ)
- นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล (เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน/ประธานบริษัท ที่ปรึกษา)
- คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ (สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา)
- นายอําพน กิตติอําพน (อดีตเลขา ครม/ ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ประธานบอร์ดการบินไทย)
- นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ (อดีตอธิบดีกรมที่ดิน)
- นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช (อดีตอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
- นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ (เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
6. สว เก่า
- นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย)
- นายสมชาย แสวงการ
- นายสมพล พันธุ์มณี
- นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย (อดีตรองประธานวุฒสภา คนที่ 1 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์)
- นายเจตน์ ศิรธรานนท์ (แพทยศาสตร์ มหิดล)
- นายชัชวาล อภิบาลศรี
- นายตวง อันทะไชย (นิติศาสตร์)
- นายธานี อ่อนละเอียด (นิติศาสตร์)
- นายพีระศักดิ์ พอจิต (นิติศาสตร์)
- นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ (อดีตผู้บริหารโรงแรม และมูลนิธิ/องค์กรไม่แสวงหากำไร)
- นายวิทวัส บุญญสถิตย์ (อดีตผู้บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม)
- นายสมบูรณ์ งามลักษณ์
- นายสุธรรม พันธุศักดิ์
- นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
7. มีประสบการณ์ทางการเมือง
- นายสมพร เทพสิทธา
8. นักกฎหมาย ตุลาการ
- นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ (กรรมการกฤษฎีกา ที่ปรึกษาศาลปกครอง)
- นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ (อดีตเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา)
- คุณพรทิพย์ จาละ (อดีตเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา)
- นายพรเพชร วิชิตชลชัย (อดีตตุลาการศาลฎีกา มือร่างกฎหมายของ คสช)
- นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง (เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม)
- นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด (ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา)
9. มูลนิธิ/ NGO
- นายสนิท อักษรแก้ว (ศาสตราจารย์ด้านวนศาสตร์/ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย)
10. อื่น ๆ
- คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี (บุตรสาวจอมพลถนอม กิตติขจร)
- นายมณเฑียร บุญตัน (นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย อดีต สว.)
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000087140
ooo
สมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญชี้รายชื่อ สนช. ไม่หลากหลายขัด ม.7 รธน.57ที่มา ประชาไท
1 ส.ค. 2557 สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยออกแถลงการณ์ "คัดค้านการประกาศรายชื่อ สนช. ที่ไม่หลากหลายขัด ม.7 รธน.57" เตรียมยื่นคำร้องหรือยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 7 หรือไม่
ทั้งนี้รายละเอียดทั้งหมดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้
แถลงการณ์
สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
คัดค้านการประกาศรายชื่อ สนช. ที่ไม่หลากหลายขัด ม.7 รธน.57
ตามที่ได้มีการประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมานั้น ปรากฏโดยชัดแจ้งว่า รายชื่อ สนช.ที่ประกาศส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มาจากตัวแทนของตำรวจทหารมากกว่า 112 คนหรือ 56 % (ประกอบด้วยทหารบก 66 คน ทหารเรือ 19 คน ทหารอากาศ 18 คน ตำรวจ 9 คน) มีฝ่ายพลเรือนเพียง 88 คนเท่านั้นและไม่หลากหลายตามกลุ่มต่าง ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 7 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “การถวายคำแนะนำเพื่อทรงแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คำนึงถึง ความรู้ความสามารถ ความหลากหลายของบุคคลจากกลุ่มต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ”
การประกาศรายชื่อ สนช. ดังกล่าวจึงเข้าข่ายการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวโดยชัดแจ้งดังนั้น สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงขอใช้สิทธิตามมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวดังกล่าว ในการยื่นคำร้องหรือยื่นเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่าประกาศแต่งตั้ง สนช.ดังกล่าว เข้าข่ายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 7 หรือไม่ และจะขอให้ผู้ตรวจการส่งเรื่องให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อระงับการปฏิบัติหน้าที่ของ สนช.ไว้พรางก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมา โดยสมาคมฯ จะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินในวันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2557 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ หลักสี่ กทม.
ประกาศมา ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2557
นายศรีสุวรรณ จรรยา
เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
ooo
เงินเดือนประจำตำแหน่ง...