วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 28, 2557

ไทยดังทั่วโลกอีกแล้ว...หลังศาลอาญาไทยตีตก คดีฆาตกรรมประชาชน


Thai court dismisses murder charges against former PM, deputy
BANGKOK Thu Aug 28, 2014 8:31am BSTSource : Reuter

(Reuters) - A Thai criminal court on Thursday threw out charges of murder and abuse of power faced by a former prime minister, Abhisit Vejjajiva, and his then deputy over a deadly crackdown on street protesters in 2010.

The decision, three months after the army seized power in a bloodless May 22 coup, is sure to spark the anger of Thailand's "red shirt" activists, who have spotlighted the country's long culture of impunity for holders of political office.

But with power firmly in the hands of military rulers who have quelled all dissent, the court's decision will hardly make a ripple in the country's political trajectory.

The court said it did not have jurisdiction to hear the case because the two men held public office at the time of the protest.

"The court has no jurisdiction to consider the case because the two were a prime minister and deputy prime minister," a judge said on Thursday. "The charges relate to political office holders. The criminal court therefore dismisses the charges."

Thailand's public prosecutors had charged the two over the crackdown on protesters who were mostly from the red shirt movement, formally known as the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD). Both men have denied the charges.

Abhisit, head of the conservative, pro-establishment Democrat Party, faced popular opposition in 2010, after tens of thousands of red shirt activists demanding fresh elections took to the streets of the Thai capital, accusing his government of being elitist and army-backed.

The other man freed of charges on Thursday, Abhisit's former deputy Suthep Thaugsuban, quit the party last year and went on to lead months of street protests that culminated in the ouster of Prime Minister Yingluck Shinawatra and the May coup.

As deputy premier Suthep authorised security forces to end weeks of protests that reduced parts of downtown Bangkok to battle zones. Since the May coup, he has become a Buddhist monk, and appeared in court wearing saffron robes.

The red shirts broadly support fugitive former premier Thaksin Shinawatra and his sister, ousted premier Yingluck. The army toppled Thaksin in 2006, after he won two landslide election victories, mostly on the back of support from voters in the rural north and northeast.

He later fled Thailand to avoid a 2008 jail term for corruption and has lived abroad since.

The red shirts formed after his ouster and staged numerous demonstrations against what they see as conservative forces that control business and power in Thailand.

They accused Abhisit, who rose to power after Thaksin's ouster, of becoming prime minister with the backing of the 2006 coup-makers, an accusation he denies.

Following the coup last May, the junta neutralised the red shirts and detained prominent leaders of the group.

But legal avenues of action against Abhisit and Suthep have not been exhausted, with both targeted in a separate petition to anti-graft panel the National Anti-Corruption Commission (NACC).

If it finds enough evidence, the panel could send the case to the Supreme Court's division for criminal action against holders of political posts.

"The case is currently under review by the NACC, we will see what happens next," said Sawat Charoenpol, Suthep's lawyer.

(Reporting by Aukkarapon Niyomyat; Writing by Amy Sawitta Lefevre; Editing by Clarence Fernandez)
ooo

ยกฟ้อง‘มาร์ค-สุเทพ’สลายม็อบปี 53 ส่งผลให้คดี 99 ศพในศาลอาญายุติทั้งหมด

ที่มา ข่าวสดออนไลน์


เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 28 ส.ค. ที่ห้องพิจารณา 707 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.4552/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83, 84 และ 90 จากกรณีออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553

ศาลพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 2 ที่ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธปืนจริงและกระสุนจริงทำให้มีผู้ชุมนุม ประชาชน และเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต เป็นการออกคำสั่งในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 แต่การปฏิบัติต้องทำไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และไม่เกินกว่าเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ใช้อาวุธปืนจริงและกระสุนปืนจริง การใช้อำนาจของจำเลยทั้ง 2 จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

คดีนี้มีข้อที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยทั้งสองมีการกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการหรือไม่ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 และประกาศของ คสช. ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ระบุให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง และอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เมื่อวิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288, 80, 83, 84 และ 90 เห็นได้ว่ามูลเหตุแห่งคดี เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และผอ.ศอฉ. ซึ่งเป็นความผิดตามอำนาจหน้าที่ราชการ และเป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หาใช่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญาไม่

ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ทั้ง 2 สำนวน จึงพิพากษายกฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง และยกฟ้องการขอเป็นโจทก์ร่วม
ooo

เปิดความเห็นแย้งของ "อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา" คดี 99 ศพ


ที่มา ข่าวสดออนไลน์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 28 ส.ค. ที่ห้องพิจารณา 707 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดประชุมคดีและตรวจพยานหลักฐาน คดีหมายเลขดำที่ อ.4552/2556 ที่พนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีพิเศษ 1 สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83, 84 และ 90 จากกรณีออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เมื่อปี2553

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้นายอภิสิทธิ์ และพระสุเทพ เดินทางมาศาลตามนัด พร้อมนายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความและคณะ โดยมีกลุ่มอดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ และกปปส. เช่น นายเทพไท เสนพงศ์ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข มาร่วมฟังคำสั่งและให้กำลังใจ

ศาลอ่านคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 2 ที่ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธปืนจริงและกระสุนจริง ทำให้มีผู้ชุมนุม ประชาชน และเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต เป็นการออกคำสั่งในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ไม่ใช่การกระทำทางอาญาที่กระทำโดยส่วนตัว หรือนอกเหนือหน้าที่ราชการ แต่การปฏิบัติต้องทำไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และไม่เกินกว่าเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ใช้อาวุธปืนจริงและกระสุนปืนจริง การใช้อำนาจของจำเลยทั้ง 2 จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

คดีนี้มีข้อที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยทั้ง 2 มีการกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการหรือไม่ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) และประกาศ คสช.ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ระบุให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง และหาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ต้องยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เมื่อวิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยทั้ง2ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83, 84 และ 90 เห็นได้ว่ามูลเหตุแห่งคดี เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และผอ.ศอฉ. ซึ่งเป็นความผิดตามอำนาจหน้าที่ราชการ และเป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หาใช่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญาไม่

ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ทั้ง2สำนวน จึงพิพากษายกฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 และยกฟ้องการขอเป็นโจทก์ร่วม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตามในคดีนี้ นายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีความเห็นแย้งไว้ในสำนวนด้วย โดยเห็นว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และญาติผู้ตายที่เป็นผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมูลเหตุที่นำมาฟ้องคดีซึ่งเกิดจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา จากเหตุสลายการชุมนุม และพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ดำเนินการสอบสวนมากระทั่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย

ขณะที่ในการฟ้อง หากคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีเฉพาะข้อหากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ดังนั้น เมื่อมีการกล่าวหาจำเลยทั้งสองในความผิดอาญาฐานร่วมกันมีเจตนาฆ่าผู้อื่น กรณีนี้จึงไม่ใช่เรื่องศาลทั้งสองมีอำนาจขัดแย้งกัน อีกทั้งปัจจุบันคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกล่าวหาจำเลยทั้งสอง ก็ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. ตามพ.ร.บว่าด้วยการปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 ซึ่ง ป.ป.ช.ยังไม่ได้มีคำสั่งไปทางหนึ่งทางใด หากไต่สวนได้ข้อยุติว่าไม่มีมูล ก็ย่อมมีผลเฉพาะต่อข้อกล่าวหาทำผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อความผิดในการใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่นตามฟ้องของอัยการโจทก์ จึงเห็นควรว่าศาลอาญามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

และว่า แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่าจำเลยทั้งสอง เป็นเจ้าพนักงาน แต่ก็เป็นเพียงคำบรรยายเพื่อให้ปรากฎที่มา ของการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธสงครามยิงผู้ตาย ย่อมเป็นการกระทำนอกเหนือตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสอง

นอกจากนี้ความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าคนตายตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 84 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี แต่คดีที่ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนนั้นเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้นความผิดที่โจทก์ฟ้องฐานใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่น จึงเป็นบทหนัก โทษสูงกว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างมาก

แม้ป.ป.ช.จะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่องค์กรศาล ไม่มีอำนาจชี้ขาดหรือพิพากษาลงโทษผู้ใดได้ เพียงแต่ให้อำนาจตามมาตรา 66 ในการใช้ดุลยพินิจว่าสมควรไต่สวนหรือไม่เท่านั้น

ซึ่งความผิดฐานฆ่าผู้อื่นดังกล่าวก็สืบเนื่องจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ แล้วฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าเจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้อาวุธปืนสงครามยิงผู้ตาย โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้กระทำความผิด จึงเป็นความผิดคนละฐานและแตกต่างอย่างสิ้นเชิง หากป.ป.ช.เห็นว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่มีมูล ก็ย่อมทำให้ความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่นยุติไปด้วย หากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับป.ป.ช.ทำหน้าที่ศาลในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งไม่ใช่ความมุ่งหมายของกฎหมายป.ป.ช.มาตรา 66


ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่าภายหลังฟังคำสั่งนายอภิสิทธิ์และพระสุเทพ ไม่ได้ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด โดยนายอภิสิทธิ์เดินทางกลับพรรคทันที เพื่อประชุมหารือกับทีมทนายความ

ด้านนายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความของนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อศาลมีคำสั่งชี้ว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจ ตนจะนำคำสั่งดังกล่าวไปประกอบเป็นพยานหลักฐานนำสืบคดีที่ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ กับพวก ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ปฏิบัติหน้าที่มิชอบต่อศาลอาญาด้วย ขณะที่คำสั่งชี้อำนาจฟ้องของโจทก์วันนี้ ฝ่ายอัยการโจทก์ก็ยังมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ได้ตามขั้นตอนกฎหมาย

ส่วนนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้ตาย กล่าวว่า จากคำพิพากษายกฟ้องที่เห็นว่า การสั่งการให้เกิดการตาย เป็นการเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ แต่จากความเห็นแย้งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา รวมทั้งฝ่ายโจทก์อธิบายและยกตัวอย่างหลายคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา เนื่องจากการฆ่าคนตายไม่ใช่อำนาจหน้าที่ คำพิพากษาวันนี้เหนือความคาดหมาย เพราะตนดูข้อกฎหมายแล้วเชื่อว่าอยู่ในอำนาจของศาลอาญาที่จะพิจารณาได้ตามความเห็นแย้งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา

"หลังจากนี้อัยการโจทก์และผมในฐานะทนายของโจทก์ร่วมจะยื่นอุทธรณ์ให้ศาลพิจารณาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอาญาส่วนอัยการก็มีอำนาจฟ้องและดีเอสไอมีอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา คาดว่าจะยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน" นายโชคชัยกล่าว
ooo

สังคมชักโครก


ความตายหล่นหายไปอย่างนี้
เรียบง่ายไม่มีร่องรอยเหลือ
รูช่องร่องปากมากเหลือเฟือ
เลือดเนื้อฟอกซักชักโครกไป
คนที่สั่งกลายเป็นบริสุทธิ์
คนที่ทำก็หลุดคดีได้
คนที่ตายตายแล้วช่างปะไร
คนที่ดูร้องไห้ไร้น้ำตา

Kasian Tejapira
....

...