Brad Adams - HRW |
ที่มา ประชาไท
Fri, 2014-08-22
22 สิงหาคม 2557 ฮิวแมนไรท์วอทซ์ กล่าวถึงการได้ผู้นำการทำรัฐประหาร 22 พ.ค. 57 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นการเริ่มต้นของเผด็จการ และความมืดมนของสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยของไทย
“ในฐานะนายกฯ และหัวหน้าคณะรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์สามารถใช้อำนาจได้กว้างขวางโดยปราศจากการตรวจสอบ นี่เป็นการเริ่มต้นวันอันมืดมนของสิทธิมนุษยชนและอนาคตของประชาธิปไตยของประเทศไทย” แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย ฮิวแมนไรท์วอทซ์ กล่าว
ฮิวแมนไรท์วอทซ์ยังกล่าวด้วยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเพียงตรายางสำหรับ คสช. และมิได้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบอำนาจของ คสช. แต่อย่างใด
“สามเดือนภายใต้การปกครองของทหาร รัฐบาลทหารได้แสดงความไม่เคารพต่อสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง คนที่วิพากษ์วิจารณ์ ถูกลงโทษ เสรีภาพในการพูดถูกจำกัด และระวางโทษ ผู้คนนับร้อยถูกกักขังอย่างไร้กฎเกณฑ์” อดัมส์กล่าว
ฮิวแมนไรท์วอทซ์ยังได้กล่าวถึง สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่แย่ลงของประเทศไทย เช่น การข่มขู่หนังสือพิมพ์ผู้จัดการสุดสัปดาห์ การปิดสื่อ เคเบิลทีวี และที่สำคัญที่สุด การดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับประชาชน เช่นในคดี ละครเจ้าสาวหมาป่า และคดี นายยุทธศักดิ์ (คนขับแท็กซี่) และการลงโทษจำคุกสูงถึง 30 ปี กับผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง ข้อกล่าวหาต่อทหารว่า มีการซ้อมทรมานและปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมกับผู้ถูกกักขัง เช่น กริชสุดา คุณะแสน นักกิจกรรมเสื้อแดง และ นายวรวุฒิ เทือกชัยภูมิ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น
“ตั้งแต่การรัฐประหารในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เหล่านายพลได้กระชับอำนาจในมือมากขึ้น แทนที่จะผ่อนคลายความตึงเครียด แทนที่จะกลับสู่เส้นทางสู่ประชาธิปไตยอย่างที่ได้สัญญาไว้ผ่านการเลือกตั้ง ทหารไทยกลับเลือกเข้าสู่ถนนแห่งเผด็จการเสียมากกว่า” อดัมส์กล่าว
ooo
Source : Voice of America
VOA News
August 22, 2014 4:42 AM
A leading human rights group says General Prayuth Chan-ocha's appointment as Thailand's prime minister "does not advance human rights or a return to democratic rule," saying widespread repression continues three months after the military seized power.
Thursday's unanimous election of the 60-year-old army chief was a foregone conclusion, since he was the only candidate for the post. Prayuth has led the junta since forcing Prime Minister Yingluck Shinawatra's government out of power on May 22.
In a statement Friday, Human Rights Watch said the junta "continues its crackdown on those exercising their fundamental rights and freedoms and has made no genuine progress towards restoring democratic rule."
It said the military "has enforced widespread censorship, largely banned public gatherings and other political activity, carried out hundreds of arbitrary arrests and detentions, and disregarded allegations of torture and ill-treatment."
Prayuth will step down as army chief next month. He plans to stay in power until new elections are held in late 2015.
Thailand has been plagued by political unrest since 2006, when former Prime Minister Thaksin Shinawatra, Yingluck Shinawatra's older brother, was also ousted in a military coup. Thaksin and his sister were bitterly opposed by Bangkok's traditionalist political elite.
Thaksin, a telecommunications billionaire, has been living overseas in self-imposed exile to avoid prison on corruption charges.
The new prime minister says he wants to impose a series of political reforms aimed at restoring order, but critics see the takeover as an attempt to wipe out Thaksin's influence.
Prayuth's election must be approved by Thai King Bhumibol Adulyadej, a move that is believed to be a mere formality.