ที่มา เฟสบุ๊ค ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
รัฐธรรมนูญไทย 19 ฉบับใน 82 ปี สามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. แบบมุ่งสู่ประชาธิปไตย
2. แบบเผด็จการทหาร-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยม
3. แบบเผด็จการครึ่งค่อนใบ
รัฐธรรมนูญแบบเผด็จการทหาร-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยม คือ ฝ่ายทหารคุมอำนาจบริหาร ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติในแบบสภาแต่งตั้งเพื่อรับรองความชอบธรรมฝ่ายบริหาร (Share => Knowledge)
ต้นแบบของรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการทหาร-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยม คือรัฐธรรมนูญฉบับปี 2502 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ทำให้หัวหน้าคณะยึดอำนาจมีอำนาจเบ็ดเสร็จ และสืบอำนาจเบ็ดเสร็จในแบบการมีรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในมาตราสำคัญ (ม.17) ที่สรุปได้ว่า คำสั่งหรือการกระทำของนายกฯถือเป็นกฎหมาย
กระจายผลประโยชน์และอำนาจในหมู่ทหาร ทั้งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ฉบับ 2502 ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นครั้งแรก) เพื่อให้ทหารบก-เรือ-อากาศ-ตำรวจ-ข้าราชการ เข้ามีตำแหน่งในสภานี้ ที่ได้ทั้งชื่อเสียงเกียรติยศเงินทอง และในตำแหน่งฝ่ายบริหารทั้งรัฐมนตรี อธิบดีกรมกอง บอร์ดในรัฐวิสาหกิจ และการเป็นศูนย์อำนาจที่ใครๆ ต้องวิ่งเข้าหา รวมทั้งกระชับการปกครองท้องถิ่นเข้าสู่อำนาจของฝ่ายรัฐราชการผ่านระบบการแต่งตั้ง
สรุป การยึดอำนาจปี 2557 นี้ คือการหวนกลับไปสู่ความยิ่งใหญ่ของฝ่ายทหารอย่างสมบูรณ์แบบในยุคจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอม เมื่อเกือบหกสิบปีมาแล้วนั่นเอง
รัฐธรรมนูญที่เดินตามแบบฉบับรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการทหาร-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยมปี 2502 รวมมีทั้งสิ้น 7 ฉบับ รวมระยะเวลาบังคับใช้ 15 ปีกว่า ในช่วง 57 ปีที่ผ่านมา = 1 ใน 4 การเมืองไทยเป็นระบอบเผด็จการทหารอย่างสมบูรณ์ โดยพลังจารีตรัฐราชการ
รัฐธรรมนูญที่เดินตามแบบฉบับรัฐธรรมนูญแบบเผด็จการทหาร-อำมาตย์-อนุรักษ์นิยมปี 2502 มีดังนี้
ฉบับที่ 7 : 2502 (ใช้ 9 ปี 4 เดือน)
ฉบับที่ 9 : 2515 (ใช้ 2 ปี)
ฉบับที่ 11 : 2519 (ใช้ 1 ปี)
ฉบับที่ 12 : 2520 (ใช้ 1 ปี 2 เดือน)
ฉบับที่ 14 : มี.ค. 2534 (ใช้ 9 เดือน)
ฉบับที่ 17 : 2549 (ใช้ 10 เดือน)
ฉบับที่ 19 : 2557 (22 ก.ค.) (ใช้ ? ปี)
วิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ TP 123 Modern Thai Politics
บรรยายโดย นายรัฐศาสตร์ (นรศ.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์