https://www.facebook.com/watch/?v=406874258776263&t=0
ประชาไท Prachatai.com
6h·
“การไปเป็นทหาร มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องไปทำร้ายคนอื่น หรือต้องไปฆ่ากันเอง มันยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อนเลย”
หนึ่งในความคิดเห็นของ ‘ซูปัน’ หญิงสาวอายุประมาณ 18 ปีที่หนีการเกณฑ์ทหารเข้ามาในประเทศไทย แม้ปัจจุบันกองทัพพม่ามีคำสั่งชะลอการเกณฑ์ทหารหญิงออกไปก่อน แต่เธอก็ไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะเดินทางกลับประเทศเมียนมาหรือพม่า
เช่นเดียวกันกับคนหนุ่มสาวอีกจำนวนมากที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลังจากกองทัพพม่าประกาศคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งแม้รายละเอียดระบุว่าจะเริ่มดำเนินการช่วงเมษายน แต่ในความเป็นจริงกลับมีการดำเนินการในบางพื้นที่ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“เขาตามถึงในเรือเลย ทำประมงอยู่ หนีกระโดดลงจากเรือก็มี แล้วก็หนีไปที่อื่น ต้องหนีกันทั้งคืนก็มี” ตีฮา (23 ปี) และ ตูหยะ (20 ปี) เล่าถึงประสบการณ์ที่พบเจอระหว่างทำงานบนเรือประมงที่มะริด ก่อนตัดสินใจลักลอบเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ทั้งสองเล่าว่าถึงแม้ไม่อยากออกไปไหน แต่ก็ต้องพยายามหางานทำ จนกระทั่งวันหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับและถูกเรียกเงินไปกว่าห้าพันบาท อีกทั้งยังยังถูกโกงเงินจากการทำใบอนุญาตทำงาน
“แม้แต่ฝั่งประชาชนเองก็ยังแยกกันสู้คนละฝ่าย ในข่าวก็มีบางที่ที่ยึดพื้นที่ได้ กลุ่มชาติพันธุ์ก็เอากลุ่มพม่าออก มันก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ ก็เลยยังไม่กล้าคาดหวังอะไรมาก” ‘ฉ่วย’ (22 ปี) กล่าวถึงหนึ่งในเหตุผลที่หนีเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทั้งเขาและ ‘จ่อ’ (26 ปี) ให้ความเห็นว่าหากรัฐบาลไทยมีกฎหมายหรือนโยบายที่ช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยสามารถอยู่อาศัยในไทยอย่างถูกกฎหมายอย่างน้อยเป็นการชั่วคราวได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก
#เมียวดี #พม่า #หนีทหาร
ประชาไท Prachatai.com
6h·
“การไปเป็นทหาร มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องไปทำร้ายคนอื่น หรือต้องไปฆ่ากันเอง มันยิ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อนเลย”
หนึ่งในความคิดเห็นของ ‘ซูปัน’ หญิงสาวอายุประมาณ 18 ปีที่หนีการเกณฑ์ทหารเข้ามาในประเทศไทย แม้ปัจจุบันกองทัพพม่ามีคำสั่งชะลอการเกณฑ์ทหารหญิงออกไปก่อน แต่เธอก็ไม่รู้สึกปลอดภัยที่จะเดินทางกลับประเทศเมียนมาหรือพม่า
เช่นเดียวกันกับคนหนุ่มสาวอีกจำนวนมากที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลังจากกองทัพพม่าประกาศคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งแม้รายละเอียดระบุว่าจะเริ่มดำเนินการช่วงเมษายน แต่ในความเป็นจริงกลับมีการดำเนินการในบางพื้นที่ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“เขาตามถึงในเรือเลย ทำประมงอยู่ หนีกระโดดลงจากเรือก็มี แล้วก็หนีไปที่อื่น ต้องหนีกันทั้งคืนก็มี” ตีฮา (23 ปี) และ ตูหยะ (20 ปี) เล่าถึงประสบการณ์ที่พบเจอระหว่างทำงานบนเรือประมงที่มะริด ก่อนตัดสินใจลักลอบเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ทั้งสองเล่าว่าถึงแม้ไม่อยากออกไปไหน แต่ก็ต้องพยายามหางานทำ จนกระทั่งวันหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับและถูกเรียกเงินไปกว่าห้าพันบาท อีกทั้งยังยังถูกโกงเงินจากการทำใบอนุญาตทำงาน
“แม้แต่ฝั่งประชาชนเองก็ยังแยกกันสู้คนละฝ่าย ในข่าวก็มีบางที่ที่ยึดพื้นที่ได้ กลุ่มชาติพันธุ์ก็เอากลุ่มพม่าออก มันก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ ก็เลยยังไม่กล้าคาดหวังอะไรมาก” ‘ฉ่วย’ (22 ปี) กล่าวถึงหนึ่งในเหตุผลที่หนีเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทั้งเขาและ ‘จ่อ’ (26 ปี) ให้ความเห็นว่าหากรัฐบาลไทยมีกฎหมายหรือนโยบายที่ช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยสามารถอยู่อาศัยในไทยอย่างถูกกฎหมายอย่างน้อยเป็นการชั่วคราวได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก
#เมียวดี #พม่า #หนีทหาร
วิดีโอนี้ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการการยืนหยัดท่ามกลางวิกฤตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Staying Resilient Amidst Multiple Crises in Southeast Asia) ภายใต้ความริเริ่มของ SEA Junction โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิ CMB