วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 19, 2566

วิบากกรรมของ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (ปัจจุบันยังอยู่ในสมณเพศ)

วิบากกรรมของ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (ปัจจุบันยังอยู่ในสมณเพศ) จากบันทึกของ @SamyanPress ว่า การชนะคดีที่ฟ้องร้องรัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมการปกครองนั้น ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาต้องเป็นคู่กรณีในคดีของศาลปกครอง

เมื่อ ๑๖ ตุลา ๖๒ ตัวแทนสมาคมแอมเนสตี้ฯ ยื่นฟ้องนายทะเบียนสมาคม กรุงเทพฯ ข้อหา “ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในกรณีมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนแต่งตั้ง เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เป็นกรรมการสมาคมแอมเนสตี้ ประเทศไทย

รายละเอียดคำฟ้องระบุว่าเนติวิทย์เป็นสมาชิกของสมาคมมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ครั้นปี ๖๑ มีตำแหน่งกรรมการว่างลงที่หนึ่ง เนติวิทย์ได้สมัครเข้ารับตำแหน่ง เขาได้รับเลือกจากการประชุมใหญ่สมาชิกของสมาคม เมื่อ ๒๑ กรกฎา ปีนั้น

ทว่าเมื่อสมาคมฯ ยื่นจดทะเบียนเพื่อบรรจุเนติวิทย์เป็นกรรมการคนใหม่ นายทะเบียนซึ่งคือ #อธิบดีกรมการปกครอง กลับปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนให้ “ทางสมาคมฯ จึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย”

ก็ได้รับการปฏิเสธอีก ด้วยข้ออ้างว่าเนติวิทย์ “มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม หรือขัดต่อคุณสมบัติการเป็นกรรมการ” จึงได้มีการฟ้องร้องทั้งรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และอธิบดี ร.ต.ท.อาทิตย์ บุญญะโสภัต โทษฐาน ละเลยปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจมิชอบ

ศาลปกครองพิพากษาว่า รมว.มหาดไทยและอธิบดีกรมการปกครอง ใช้อำนาจ ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙ ซึ่งระบุให้ถือผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด “ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด” อีกทั้งเนติวิทย์ไม่เคยถูกพิพากษาความผิดในการแสดงออกทางความคิดของเขา

“การที่อธิบดีกรมการปกครองมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม ในรายนายเนติวิทย์...เป็นการจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การรับรอง และเป็นการใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเกินขอบเขตแห่งความจำเป็น”

เช่นกันกับการที่ รมว.มหาดไทยออกคำสั่งยกอุทธรณ์ โดยอ้างว่าเนติวิทย์ถูกดำเนินคดีอาญาหลายคดี เป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบด้วย โดยเฉพาะคดีอาญาที่ว่าเป็นข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบฯ หรือคณะยึดอำนาจ คสช.เสียด้วย

ศาลปกครองเคยให้เขาชนะคดีมาแล้วครั้งหนึ่ง ในปี ๒๕๖๓ จากการที่เขาต้องหลุดจากการเป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ในปี ๒๕๖๐ หลังจากเขาและเพื่อนนิสิต ๘ คน ลุกออกจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาน แล้วถูกตัดคะแนนความประพฤติ

หลังคำตัดสินครั้งนั้น เขาได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรรัฐศาสตร์ และนายก อบจ. (องค์กรบริหารจุฬา) ก็ยังไม่วายโดนกลั่นแกล้ง ในปี ๖๕ เขาได้รับเลือกเป็นนายกสโมสรนิสิตฯ อีกครั้ง แต่ถูกปลดด้วยข้อหา “เชิญ @PavinKyoto @PanusayaS @paritchi มาปฐมนิเทศนิสิตใหม่”

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=5892553877496679&set=a.139796502772474, https://prachatai.com/journal/2019/10/84775 และถ้าสนใจอ่านฉบับเต็มเรื่อง “การศึกษาของนิสิตเลว: 5 ปีในรั้วจุฬาฯ” สั่งซื้อได้ที่ https://samyanpress.bentoweb.com/th/product/857718/product-857718…)