วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 05, 2566

ความเห็นแก่ตัวของนักการเมือง พรรคการเมือง ที่ไม่กล้าแตะ 112 จะคอยรับแต่อานิสงส์จากการเสียสละของประชาชนได้อย่างไร ?!?


Somsak Jeamteerasakul
5h
"มาตรา 112 เรียนตามตรงผมไม่เคยอ่านเลย เพราะไม่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผม"
ผมต้องอ่านซ้ำหลายเที่ยวกลัวผิด มิน่า วชิราลงกรณ์ถึงไว้ใจขนาดนี้
https://www.prachachat.net/politics/news-1194318
"อนุทินทิ้งท้ายด้วยเงื่อนไข ถ้าอยากได้พรรคภูมิใจไทยร่วมรัฐบาลว่า “เอาที่ไม่จับมือ คือ อย่างแรก อย่ามาแตะมาตรา 112 ถ้าเราไม่คิดอะไร 112 ไม่มีอิทธิพลกับเราเลย ถ้าเรามั่นใจว่าประเทศของเราต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ เป็นขนบธรรมเนียมที่ดี มีความเป็นปึกแผ่น”
มาตรา 112 เรียนตามตรงผมไม่เคยอ่านเลย เพราะไม่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของผม
“ส่วนที่จะจับมือ มีเงื่อนไขเยอะแยะไปหมด แต่ที่แท้และแน่วแน่คืออย่ามาแตะ 112”

สุรพศ ทวีศักดิ์
การคงอยู่หรือแก้ไข, ยกเลิก 112 มีนักการเมือง พรรคการเมืองเป็นตัวแปรสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะมีนักการเมือง พรรคการเมืองส่วนใหญ่ปกป้อง หรือไม่กล้าแตะ ดังนั้น จะบอกว่าไม่ควรเรียกร้อง กดดันนักการเมือง พรรคการเมือง ปล่อยให้มวลชนสู้กันไปจนกว่าจะเปลี่ยนความคิดคนส่วนใหญ่ในสังคมได้ คิดแบบนี้คือโยนภาระให้มวลชนและในด้านกลับก็เป็นการสนับสนุนให้นักการเมือง พรรคการเมือง "ลอยนวลพ้นความรับผิดชอบ" ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นอาสาเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชนใน "ระบอบ ปชต." รับตำแหน่ง เงินเดือน เกียรติและสิทธิพิเศษอื่นๆ จากภาษีประชาชน จะคอยรับแต่อานิสงส์จากการเสียสละของประชาชนได้อย่างไร ฝ่ายประชาธิปไตยเคยมีบทเรียนไม่พอใจที่ พธม., กปปส.ด่านักการเมือง เกลียดนักการเมืองมากเกินไปจนเข้าทางอำนาจนอกระบบ ถึงตอนนี้เลยปกป้อง ทะนุถนอม หรือ "แบก" นักการเมือง พรรคการเมืองมากเกิน แค่มีใครเรียกร้องให้นักการเมือง พรรคการเมืองแสดงจุดยืนแก้ไขหรือยกเลิก 112 ก็กลายเป็นว่าคนเรียกร้องเช่นนั้น กำลังเรียกร้องในสิ่งที่ไม่ควรเรียกร้อง ยังไม่ถึงเวลา บลา บลา