วันจันทร์, พฤศจิกายน 21, 2565

การประชุมผู้นำนานาชาติ และการชุมนุมประท้วง เป็นของคู่กันมาตั้งแต่ปี 1972 เค้าเอาอะไรมาวัดว่าประเทศไหน "อารยะ" ?


Our History: เรื่อง เล่า เรา โลก
13h

การประชุมผู้นำนานาชาติ และการชุมนุมประท้วง เป็นของคู่กันมาตั้งแต่ปี 1972 ใน UN Summit เพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งแรกที่กรุงสตอคโฮม นอกจากผู้นำประเทศในเครือ UN จะมารวมตัวกัน ยังมีผู้คนเกือบหมื่น ที่หวั่นวิตกในประเด็นสิ่งแวดล้อม ออกมาผลักดันความเชื่อของตัวเอง
ประเด็นหลักๆ ที่ถูกปราศรัย ได้แก่ ความหวั่นวิตกว่าจำนวนประชากรจะมากล้นเกินทรัพยากร โรคมินามานะ ที่เกิดจากสารเคมีอุตสาหกรรมตกค้างในสัตว์ทะเล
อนึ่ง ความมุ่งหวังของฝูงชน และกลุ่มผู้นำประเทศ เอาเข้าจริงก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก คำถามก็คือ แล้วพวกเขามารวมตัวกันทำไม นักประวัติศาสตร์อธิบายว่า การออกมาเดินขบวนของผู้คนบนท้องถนน ในงานชุมนุมผู้นำ ยกระดับเรื่องสิ่งแวดล้อม ให้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองระดับนานาชาติ บางคนถึงกับนับเอา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของ Green Generation ของพลเมืองสีเขียว ที่ตระหนักรู้ในปัญหาสิ่งแวดล้อม
หลังจากนั้น งาน summit ก็กลายเป็นของคู่กันกับการชุมนุมบนท้องถนน การชุมนุม G20 ของกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ หลายครั้ง จะมีคนออกมาประท้วง หนนี้ไม่ใช่แค่การแสดงพลัง แต่เป็นการประท้วงเหล่าผู้นำประเทศมหาอำนาจโดยตรง ซึ่งทางประเทศเจ้าภาพ ก็ต้องจัดการ ควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรง
ความมีอารยะของการจัดการฝูงชนต่างหาก คือตัวชี้วัดความมีอารยะของประเทศเจ้าภาพอย่างแท้จริง