5h
บอร์ดเกม “Patani Colonial Territory " คืออะไร
เกมนี้ถูกจัดทำและออกแบบโดยกลุ่ม Chachiluk Boardgame
เนื้อหาของเกมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอณาจักรปาตานีก่อนรวมกับสยาม รวบรวมประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งและเรื่องเล่าของคนในพื้นที่ ในรูปแบบการ์ดเกม ซึ่งผู้ผลิตตั้งใจที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์แก่ผู้เล่น ความสนุกในการเรียนรู้
#Wartani_NEWS #PATANI
---------------------------------------------------------------
Let us be the witnesses for peace in PATANI // ร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อสันติภาพ ณ ปาตานี // Bersama kita menjadi saksi demi kedamaian di PATANI
.....
Patani Colonial Territory บอร์ดเกมที่ชวนทุกคนตามรอยประวัติศาสตร์ที่หายไปของปาตานี
Patani (ปาตานี) คือพื้นที่ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูและมุสลิม อาณาจักรปาตานีเคยรุ่งเรืองเมื่อสี่ร้อยปีก่อนจะถูกสยามยึดครองในช่วงต้นของยุครัตนโกสินทร์ และแบ่งพื้นที่สืบต่อมาเป็นจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้เช่นปัจจุบัน
‘Patani Colonial Territory’ คือบอร์ดเกมที่เป็นผลผลิตจากกลุ่ม ‘Chachiluk (จะจีลุ)’ ร่วมกับสำนักพิมพ์ KOPI และได้รับทุนสนับสนุนโดย Common School มูลนิธิคณะก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้ไม่ให้หายไป
กลุ่มจะจีลุเล่าถึงที่มาของชื่อกลุ่มว่ามาจากการละเล่นพื้นบ้านของเด็กๆ ในพื้นที่ปาตานี โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อนี้เพราะอยากทำหน้าที่เป็นตัวแทนความสนุกสนาน และหวังเป็นสื่อในการเชื่อมต่อผู้คนให้ได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงนำเสนอเรื่องราวของปาตานีผ่านความสนุกในโลกของบอร์ดเกมที่จะชวนผู้เล่นมาประลองไหวพริบและกระตุ้นเตือนความทรงจำ ท้าทายให้ทุกคนได้ลองร้อยเรียงลำดับเหตุการณ์การผนวกรวมปาตานีเข้ากับสยาม โดยเกมนี้จะใช้จำนวนผู้เล่น 3 – 5 คน กับระยะเวลาเล่นราว 15 – 30 นาที
ในบอร์ดเกมหนึ่งชุดนั้นประกอบด้วย
1) การ์ดเกม 52 ใบ โดยแบ่งออกไปเป็น 4 สี สีละ 13 ใบ
2) โทเคน 30 ชิ้น ประกอบด้วยโทเคนที่มีตัวเลข 1 – 5 สีละหนึ่งชุด และโทเคนไม่มีตัวเลข 5 สี บรรจุในถุงผ้า
3) ใบกำกับกติกาการเล่นแบบ 2 กติกา พร้อมกระดานนับคะแนนที่อยู่ในแผ่นเดียวกัน แบ่งเป็นแผ่นหน้าและหลัง
บอร์ดเกม Patani Colonial Territory ผลิตออกมาทั้งหมด 50 ชุด ซึ่งในช่วงเริ่มต้นนี้ทางทีมงานได้มีมติว่า จะแจกบอร์ดเกมทั้งหมดให้องค์กรต่างๆ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
สำหรับใครที่สนใจการ์ดเกม Patani Colonial Territory ติดตามความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมได้ทางสำนักพิมพ์ KOPI
Patani (ปาตานี) คือพื้นที่ที่ครอบคลุมจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางอำเภอในจังหวัดสงขลา ผู้คนที่อาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูและมุสลิม อาณาจักรปาตานีเคยรุ่งเรืองเมื่อสี่ร้อยปีก่อนจะถูกสยามยึดครองในช่วงต้นของยุครัตนโกสินทร์ และแบ่งพื้นที่สืบต่อมาเป็นจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้เช่นปัจจุบัน
‘Patani Colonial Territory’ คือบอร์ดเกมที่เป็นผลผลิตจากกลุ่ม ‘Chachiluk (จะจีลุ)’ ร่วมกับสำนักพิมพ์ KOPI และได้รับทุนสนับสนุนโดย Common School มูลนิธิคณะก้าวหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้ไม่ให้หายไป
กลุ่มจะจีลุเล่าถึงที่มาของชื่อกลุ่มว่ามาจากการละเล่นพื้นบ้านของเด็กๆ ในพื้นที่ปาตานี โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อนี้เพราะอยากทำหน้าที่เป็นตัวแทนความสนุกสนาน และหวังเป็นสื่อในการเชื่อมต่อผู้คนให้ได้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ รวมถึงนำเสนอเรื่องราวของปาตานีผ่านความสนุกในโลกของบอร์ดเกมที่จะชวนผู้เล่นมาประลองไหวพริบและกระตุ้นเตือนความทรงจำ ท้าทายให้ทุกคนได้ลองร้อยเรียงลำดับเหตุการณ์การผนวกรวมปาตานีเข้ากับสยาม โดยเกมนี้จะใช้จำนวนผู้เล่น 3 – 5 คน กับระยะเวลาเล่นราว 15 – 30 นาที
ในบอร์ดเกมหนึ่งชุดนั้นประกอบด้วย
1) การ์ดเกม 52 ใบ โดยแบ่งออกไปเป็น 4 สี สีละ 13 ใบ
2) โทเคน 30 ชิ้น ประกอบด้วยโทเคนที่มีตัวเลข 1 – 5 สีละหนึ่งชุด และโทเคนไม่มีตัวเลข 5 สี บรรจุในถุงผ้า
3) ใบกำกับกติกาการเล่นแบบ 2 กติกา พร้อมกระดานนับคะแนนที่อยู่ในแผ่นเดียวกัน แบ่งเป็นแผ่นหน้าและหลัง
บอร์ดเกม Patani Colonial Territory ผลิตออกมาทั้งหมด 50 ชุด ซึ่งในช่วงเริ่มต้นนี้ทางทีมงานได้มีมติว่า จะแจกบอร์ดเกมทั้งหมดให้องค์กรต่างๆ กลุ่มนักศึกษา และกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
สำหรับใครที่สนใจการ์ดเกม Patani Colonial Territory ติดตามความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมได้ทางสำนักพิมพ์ KOPI
ฝ่ายความมั่นคงไปยึดบอร์ดเกม "Patani Colonial Territorial" มาตรวจสอบด้วยท่าทีขึงขังขนาดนั้นที่ร้านกาแฟ คิดว่าคนทั่วไปก็เดาได้ว่าทำไมภาครัฐถึง "กังวล" กับการตีความประวัติศาสตร์ท้องถิ่นปัตตานีแบบนี้... ถ้าใครสนใจบอร์ดเกมนี้ ก็ตามอ่านกันต่อได้ในลิงค์นี้เลย.https://t.co/UAIHbj8pss
— อดีตกินได้ The Edible Past (@ediblepast) November 29, 2022
แปะข่าวนี้ไว้ก่อน. https://t.co/Evo1tWpmPn
— อดีตกินได้ The Edible Past (@ediblepast) November 29, 2022