วันพุธ, พฤศจิกายน 30, 2565

จับตาคดีสหพันธรัฐไท"...ผมไม่ได้ถูกติดเพราะเป็นขโมย เป็นโจร เป็นฆาตกร EM อยู่ที่ขาผมเพราะผมต้องการประเทศที่ดีกว่าเดิมก็เท่านั้น” อีกราย "เราเจอแต่คนจนในคุก รู้เลยว่ามีแค่คนรวย คนมีเงินเท่านั้นที่จะรอดไปได้, ส่วนวรรณภาเป็นคนจนก็ต้องไปติดคุก…”


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
12h

“เวลาคนมองมาที่ EM ตรงขาผม ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ เพราะเราถูกให้ติดจากคดีการเมือง มันไม่ใช่ความผิดเลย… ผมไม่ได้ถูกติดเพราะเป็นขโมย เป็นโจร เป็นฆาตกร EM อยู่ที่ขาผมเพราะผมต้องการประเทศที่ดีกว่าเดิมก็เท่านั้น”
.
.
จับตา! พรุ่งนี้ ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีสหพันธรัฐไท ของ ‘#กฤษณะ’ หนึ่งในจำเลยคดีนี้ ผู้ต้องใส่ EM มานานมากกว่า 4 ปี ตั้งแต่ปี 2561 หากศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 1 ปี ตามศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น กฤษณะจะถูกส่งตัวเข้าเรือนจำทันทีในฐานะ “#นักโทษเด็ดขาด
.
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2561 กฤษณะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับกลุ่มสหพันธรัฐไท โดยการแจกใบปลิว-จำหน่ายเสื้อสีดำ จนถูกอุ้มเข้าค่ายทหารนานถึง 7 วัน คดีลากยาวเรื่อยมาจนถึงชั้นฎีกา โดยตลอด 4 ปีกว่าที่ผ่านมา แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งยังไม่ควรถูกถือว่าเขากระทำความผิดใด แต่กฤษณะได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีมากมาย
.
ไม่ว่าจะเป็นการถูกไล่ออกจากงาน จนเป็นคนว่างงานถึงปัจจุบัน, ถูกติดตามคุกตามจากเจ้าหน้าที่รัฐ, ถูกตีตราและเลือกปฏิบัติจากผู้คนรอบข้างในสังคม, สูญเสียคุณค่าในตัวเอง รวมถึงบทบาทหัวหน้าครอบครัว เป็นต้น
.
.
อ่านต่อบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/51078


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
11h

"เราเจอแต่คนจนในคุก รู้เลยว่ามีแค่คนรวย คนมีเงินเท่านั้นที่จะรอดไปได้, ส่วนวรรณภาเป็นคนจนก็ต้องไปติดคุก…”
.
#วรรณภา (สงวนนามสกุล) แม่เลี้ยงเดี่ยววัย 35 ปี อาศัยอยู่กับลูกชาย 2 คน วัย 13 และ 18 ปี ในห้องเช่าแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ค่าเช่าห้อง ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเล่าเรียนของลูกชายคนเล็ก ทั้งหมดคือภาระที่เธอต้องแบกรับเพียงลำพังมานานหลายปีแล้ว
.
โดยเฉพาะหลังถูกจับกุมและดำเนินคดีนี้เมื่อปี 2561 เรื่อยมาจนศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ยิ่งทำให้วรรณภาต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เธอถูกไล่ออกจากงาน หวาดระแวงในการใช้ชีวิต รายได้และความสุขลดน้อยลงอย่างมาก
.
แต่เธอบอกว่า สิ่งที่คดีนี้สร้างภาระให้มากที่สุด คือ การถูกให้ใส่ EM ที่ข้อเท้า นอกจากจะสร้างความรำคาญและความเจ็บปวดมานานนับปีแล้ว ยังสร้างความอับอายให้แก่เธอ เมื่อต้องเข้าสังคมและพบปะผู้คน สายตาและเสียงซุบซิบนินทายังคงเป็นบาดแผลในใจของเธอมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะ “#ประตูตรวจจับโลหะ
.
พรุ่งนี้! (30 พ.ย. 2565) ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเป็นบันไดขั้นสุดท้ายในการต่อสู้คดีแล้ว หากศาลฎีกาพิพากษายืนจำคุก 1 ปี ตามศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น เธอจะต้องก้าวเข้าเรือนจำอีกครั้ง โดยทิ้งลูกชาย 2 คนไว้เบื้องหลังอย่างไม่มีทางเลือก
.
.
อ่านต่อบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/51097