วันอังคาร, กรกฎาคม 21, 2563

ธงชาติ "เครื่องแบบของคนดี รักชาติ" ม๊อบคราวนี้ไม่มี 'ธงชาติ' ก็น่าสนใจดี



ภาพจากอินเตอร์เน็ต

Siripoj Laomanacharoen
9h ·

อ่านสเตตัสที่ อ.น้องตั้ว ตั้งข้อสังเกตว่า ม๊อบคราวนี้ไม่มี 'ธงชาติ' เลยแล้วก็น่าสนใจดี เพราะเอาเข้าจริงมันคงไม่ใช่แค่ลายธงไตรรงค์นี่มันกลายไปเป็นเครื่องแบบของคนดี รักชาติ ในม๊อบนกหวีดอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันผูกโยงไปถึงการที่ธงชาติมันถูกยึดครองโดยอีกสารพัดเรื่องของนิยามความเป็นชาติ
.
การไม่รัก...ก็ออกจากประเทศนี้ไป (อ.น้องตั้วบอกให้เติมเอาเองได้สารพัด ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่ต้องเติมว่า กษัตริย์ เพียงอย่างเดียวแล้ว) นี่มันทำให้คนอีกฟากที่ปฏิเสธเสียงนกหวีด และอดีตนกหวีดกลับใจ ถูกผลักให้กลายเป็นคู่ตรงข้ามของชาติ ถูกแปะยี่ห้อว่า เป็นพวกชังชาติ ไม่รักชาติ แล้วจะให้พวกกูไปเอา passion หรือ inspiration จากไหนมาแบกเอาสัญลักษณ์ของความเป็นชาติอย่างธงชาติเข้าไปในม๊อบ?
.
คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ธงชาติมันเกี่ยวโยงอยู่กับกระบวนการสร้างไทยให้เป็น nation state อ่ะนะ แล้วไอ้เจ้าความหมายของธงไตรรงค์นี่ต่อให้เป็นเด็กอนุบาลในบ้านนี้ เมืองนี้ ก็ท่องจำเหมือนกันได้หมด แต่เอาเข้าจริงแล้ว แต่เชื่อไม๊ครับว่า ในเอกสารทางการที่ว่าด้วย ความหมายของสีบนธงไตรรงค์ฉบับแรกสุดคือ 'พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธงพระพุทธศักราช 2460' ซึ่งก็คือพระราชบัญญัติที่ให้สยามเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันนี่แหละ ไม่ได้ให้ความหมายของสีต่างๆ บนธงไว้อย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบันเลย ดังข้อความที่ว่า
.
“ได้ทรงพระราชคำนึงถึงการที่กรุงสยามได้ประกาศสงครามต่อชาติเยอรมันแลออสเตรียฮังการี เข้าเปนสัมพันธไมตรีร่วมศึกกับมหาประเทศในยุโรป อเมริกา และอาเซีย ผู้ทรงไว้ซึ่งธรรมธิปไตยครั้งนี้ นับว่าชาติสยามได้ก้าวขึ้นสู่เจริญถึงคั่นอันสำคัญยิ่งแล้ว สมควรจะมีอภิลักขิตวัตถุ เพื่อเปนเครื่องเตือนให้ระลึกถึงอภิลักขิตสมัยนี้ไว้ให้ปรากฏอยู่ชั่วฟ้าและดิน
.
จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสำหรับชาติสยามซึ่งได้ประดิษฐานขึ้นตามพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2459 นั้น ยังไม่เปนสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรจะเพิ่มสีน้ำเงินแก่เข้าอีกสีหนึ่ง (ก่อนหน้าจะใช้ธงไตรรงค์ ในพ.ศ. 2459 แถบสีตรงกลางเป็นสีแดงสลับขาวทั้งผืน ส่วนก่อนหน้านั้นเป็นธงรูปช้างเผือกบนพื้นแดง) ให้เปนสามสีตามลักษณธงชาติของประเทศที่เปนสัมพันธมิตรกับกรุงสยามได้ใช้อยู่มากนั้น เพื่อให้เปนเครื่องหมายให้ปรากฏว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุขทุกข์ แลเปนน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ ช่วยกันทำการปราบปรามความอาสัตย์อาธรรมในโลกนี้ให้พินาศประลัยไป
.
อีกประการหนึ่ง สีน้ำเงินนี้เปนสีอันเปนศิริแก่พระชนมวารนับว่าเปนสีเครื่องหมายฉเภาะพระองค์ด้วย จึงเปนสีที่ควรจะประกอบไว้ในธงสำหรับชาติด้วยประการทั้งปวง” (อักขรวิธีตามต้นฉบับ แต่ผมจัดย่อหน้าใหม่ให้อ่านง่ายขึ้น)
.
พูดง่ายๆ ว่า ถ้าจะเชื่อตามเหตุผลในพระราชบัญญัตินี้แล้ว การเปลี่ยนมาใช้ธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติของสยามประเทศไทยนั้น ริ้วสีทั้งสามบนผืนธงนั้น จะมีความหมายเกี่ยวพันถึงการเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่ 1
.
ส่วนการใช้ริ้วสีแดง น้ำเงิน ขาว ของฝ่ายสัมพันธมิตรมีประวัติคร่าวๆ คือ ชาติแรกที่ริเริ่มใช้สีอย่างนี้คือพวกดัชต์ ที่ใช้ในการต่อสู้เพื่อเป็นอิสระจากการปกครองของสเปน ระหว่าง พ.ศ.​ 2111-2191 จนทำให้ทั้งสามสีนี้มีความหมายถึง อิสรภาพ และการปกครองแบบสาธารณรัฐ
.
และต่อมาพวกฝรั่งเศสได้ในริ้วสีอย่างนี้เป็นธงเครื่องหมายในการปฏิวัติฝรั่งเศส เพียงแต่จับแถบสีตั้งขึ้นเป็นแนวดิ่งแทนที่จะวางเป็นแนวนอนเหมือนพวกดัชต์ โดยได้เพิ่มเติมความหมายไปด้วยว่าหมายถึง หลักสามประการ อันได้แก่ เสรีภาพ, เสมอภาพ และภราดรภาพ จากนั้นชาติ อื่นๆ ในยุโรป , อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ก็เลือกที่จะใช้สีสามสีนี้บนธงของตนเอง เพื่อสื่อความถึงอะไรในทำนองเดียวกันนี้ตามๆ กันไป
.
ดังนั้น ถ้าจะคิดในแง่ที่ว่าสีทั้งสามบนธง มีความหมายดั้งเดิมอย่างนี้แล้ว แม่งจึงเป็นเรื่องตลกร้ายสิ้นดี ที่กลุ่มคนที่จับจองความเป็นชาติบนธงไตรรงค์ว่า คือสัญลักษณ์ของพวกตนเองนี่แม่งดูจะไม่อยากมีทั้ง เสรีภาพ, เสมอภาพ หรือภราดรภาพห่าอะไรเลยสักนิด
.
แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น การเลือกที่จะใช้สีแดง, ขาว, น้ำเงินบนธงชาติไทย ก็ดูจะไม่ตั้งอยู่บนรากฐานของความหมายของสีแต่ดั้งเดิมในโลกตะวันตกอยู่แล้วอ่ะนะ เพราะถึงแม้จะไม่มีการนิยามความหมายของสีบนธงชาติ ในเอกสารทางการยุคเริ่มใช้ธงหน้าตาอย่างนี้เลยสักชิ้น แต่ก็มีบทร้อยกรองที่ชื่อ 'เครื่องหมายแห่งไตรรงค์' ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ในหนังสือดุสิตสมิธ ฉบับประจำเดือนเมษายน 2562 ที่เขียนเอาไว้ว่า
.
“ขอร่ำรำพันบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน และธรรมคุ้มจิตไทย
แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษะชาติศาสนา
น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทย
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธวิชัย วิชิตชูเกียรติสยาม”
.
ดังนั้น ไอ้ความหมายของสีว่าคือ ชาติ, ศาสน์ (แถมต้องเป็นพุทธศาสนาด้วยนะ เพราะมีคำว่า 'พระไตรรัตน' กันอยู่โต้งๆ) และกษัตริย์ นี่ก็มีมาตั้งแต่เริ่มละแหละครับ ซึ่งนี่ก็คือกรอบที่ใช้ในการจินตกรรมความเป็นชาติของ elite สยามในยุคที่เริ่มประดิษฐ์ธงไตงรงค์อ่ะเนอะ
.
ข้อมูลอีกชิ้นที่ก็แสดงให้เห็นถึงการใช้ธงไตรรงค์ในการสร้างชาติได้ชัดดีก็คือ พระราชนิพนธ์ของ ร.6 อีกชิ้น ที่ชื่อว่า 'ปลุกใจเสือป่า' เพราะมีข้อความตอนนึงระบุว่า
.
“เราได้เกิดมาในชาติคนกล้าหาญ รักเจ้า รักชาติ รักศาสนา จนไม่กลัวความตายไม่เสียดายชีวิตคนเหล่านี้เป็นปู่ย่าตายายของเราทั้งหลาย ท่านสู้สละความสุขสำราญตลอดจนชีวิตให้แก่ชาติบ้านเมือง และศาสนา เพื่อจะได้ให้เราเป็นไทยอยู่สมนาม”
.
ก็ไอ้ประโยค 'รักเจ้า รักชาติ รักศาสนา' นี่มันความหมายบนสีของธงในร้อยกรองที่ ร. 6 พระราชนิพนธ์ชัดๆ เพราะฉะนั้นบางทีการที่ตอนนั้นพวกนกหวีดเขายึดครองความเป็นชาติบนธงไตรรงค์ไปก็ถูกแล้วแหละ เพราะผมไม่แน่ใจนักว่าความเป็นชาติของพวกเด็กๆ ที่กำลังออกมาชุมนุมกันอยู่ทุกวันนี้ มันมีความหมายเดียวกันกับชาติของคนกลุ่มนั้นหรือเปล่า?
.
แต่จะให้ดีก็จะเอา 'สีแดง' ออกจากธงไปเลยเหอะ เพราะถ้าสีแดงหมายถึง 'โลหิต' ที่จะสละให้ชาติและศาสนาได้อย่างในบทร้อยกรองของ ร.6 แล้ว ชาติที่พวกเด็กๆ เค้ายอมสละเลือดมันคงจะเป็นคนละชาติกับคนอีกกลุ่มแน่ๆ
.
เอา 'สีแดง' ออกจากธง แล้วเอา 'สีเขียว' ใส่แทนไปเลยนะ ต่อไปเวลาบอกว่า ถ้าไม่รักลุงตู่ก็ออกจากประเทศนี้ไป! จะได้ไม่ตะขิดตะขวงใจกันทั้งสองฝ่าย

(https://www.facebook.com/siripoj.laomanacharoen/posts/3711580208858088)
...

....
ประเวศ ประภานุกูล
6h ·

หลายวันก่อนที่โรงอาหารศาลอาญาตอนเช้า ขณะที่กำลังจะขึ้นเพลงชาติ ผมบอกมิตรสหายที่ร่วมโต๊ะว่า...ผมไม่ยืน น้องเขาบอกว่า..ผมใจไม่ถึง
เมื่อเพลงขึ้น ก็มีคนทยอยลุกยืน น้องเขาก็เลยลุกยืน
สิ่งที่เห็น...คนที่ลุกขึ้นยืน ลุกขึ้นยืนจากการที่มี "คนอื่นลุกขึ้นยืน" เริ่มจากคนแรก คนสองก็ลุกยืนตาม....ต่อๆไป
ถามว่า...ทุกวันนี้คนยืนเพลงชาติ ยืนด้วยความรักชาติของตนเอง หรือถูกบังคับให้ยืน