ป้ายผ้า “ เราก็หมดศรัทธาแล้ว “ โผล่
ภาพจาก
ปลอดภัยดี! ทิวากรแอดมิท รพ.จิตเวช ญาติเยี่ยมได้ ยังไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา
ทิวากร ผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกตำรวจจับตัวและส่งไปตรวจรักษาอาการทางจิตที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีตำรวจเฝ้า 24 ชั่วโมง ด้านพยาบาลผู้ดูแลแจ้งว่า จะตรวจรักษาตามขั้นตอนปกติของโรงพยาบาล ญาติสามารถเดินทางไปเยี่ยมได้ เจ้าตัวยืนยัน อยู่ได้ อาหารดี ปลอดภัยดี
9 กรกฎาคม 2563 ตำรวจและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลไปที่บ้านของทิวากร ชาวขอนแก่นที่ถ่ายภาพตัวเองและถ่ายไลฟ์ลงเฟซบุ๊ก พร้อมกับสวมเสื้อเขียนข้อความว่า 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' และควบคุมตัวไป ทิวากรปฏิเสธไม่ยอมรับการจับกุม แต่ไม่ได้ต่อสู้ขัดขืน ตำรวจแจ้งกับญาติว่า จะส่งตัวไปโรงพยาบาล หลังจากนั้นเขาก็หายตัวไปหลายวันโดยไม่ได้ติดต่อกลับบ้าน
13 กรกฎาคม 2563 นักข่าวประชาไท เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และเจ้าหน้าที่ไอลอว์เดินทางพร้อมกับแม่ พี่ชาย และพี่สะใภ้ของทิวากร ไปที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยทางจิตของรัฐในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเชื่อว่า ทิวากรน่าจะถูกควบคุมตัวอยู่ เมื่อไปถึงได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเพื่อขอเข้าเยี่ยมทิวากร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้ข้อมูลต่างๆกับครอบครัวและให้การต้อนรับอย่างดีพร้อมทั้งดำเนินการให้ครอบครัวและผู้ติดตามพบกับทิวากรได้
อย่างไรก็ตามการเยี่ยมทิวากรมีเงื่อนไขพิเศษคือต้องให้ตำรวจมาดูแลด้วย เนื่องจากทางสภ.เมืองขอนแก่น ส่งตำรวจสองนายผลัดเวรกันมาเฝ้าทิวากรที่โรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันผู้ป่วยทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเอง และทางตำรวจได้ขอบัตรประชาชนของทุกคนที่มาเยี่ยมทิวากรไปตรวจสอบด้วย
ทิวากรออกมาพูดคุยกับครอบครัวในสถานที่เยี่ยมที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ด้วยสภาพจิตใจและร่างกายที่เป็นปกติ โดยเล่าว่า ได้พบและพูดคุยกับหมอแล้ว แต่ยังไม่ทราบผลการตรวจ การพักอาศัยอยู่ที่โรงพยาบาลมีสภาพที่ดี ได้อยู่ห้องเดี่ยวแยกกับผู้ป่วยคนอื่น มีอาหารให้กินตลอดซึ่งรสชาติดี แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์หรือติดต่อคนอื่น พร้อมระบุว่าเขาอยู่ได้โดยไม่มีปัญหา
พยาบาลที่ดูแลทิวากรเล่าให้ญาติฟังว่า ขั้นตอนการตรวจรักษาทิวากรจะเป็นไปตามขั้นตอนปกติของโรงพยาบาล ซึ่งจะมีคณะกรรมการวินิจฉัยหลายคน ประกอบไปด้วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต้องประเมินอาการหลายครั้ง และต้องทำแบบทดสอบหลายอย่าง จึงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะสรุปคำวินิจฉัยได้ว่าทิวากรมีอาการป่วยทางจิตหรือไม่ ระยะเวลาการตรวจรักษายังขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยด้วย ซึ่งที่ผ่านมาทิวากรให้ความร่วมมือดี และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่โดยปกติทุกอย่าง เนื่องจากทิวากรเป็นผู้ถือสิทธิบัตรทองหรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระบวนการทั้งหมดนี้จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ญาติของทิวากร เล่าให้ฟังว่า ทิวากรมีนิสัยเป็นคนตรง พูดตรง รักความเป็นธรรม เป็นคนฉลาด คิดเรื่องการงานได้อย่างเป็นระบบ แม้พักหลังจะมีอาการเก็บตัวอยู่บ้างและมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิดอย่างสูง แต่ก็ไม่เชื่อว่า ทิวากรจะเป็นผู้ป่วยทางจิต
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เฝ้าอยู่ และพยาบาล ไม่มีใครทราบว่า มีการตั้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายเพื่อดำเนินคดีกับทิวากรหรือไม่ และทิวากรเองก็บอกว่า ตั้งแต่มาอยู่ที่โรงพยาบาลยังไม่ได้พูดคุยกับตำรวจ หรือถูกสอบปากคำแต่อย่างใด
ทิวากร อายุ 47 ปี เป็นชาวจังหวัดขอนแก่น เรียนจบวิศวกรรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง เคยประกอบอาชีพรับจ้างออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ต่อมากลับมาอยู่ที่บ้านกับครอบครัวและช่วยกันทำกิจการค้าขายของครอบครัว ทิวากรคิดข้อความในเสื้อขึ้นเอง และทำใส่เอง โดยไม่ได้ขายให้กับใคร เขาใช้เฟซบุ๊กของเขาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงหลัง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความศรัทธา ก่อนถูกจับกุมและหยุดความเคลื่อนไหวไปตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2563
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของทิวากรต่อได้ที่ https://prachatai.com/journal/2020/07/88564
จากข้อมูลที่ไอลอว์บันทึกไว้ พบว่า ก่อนหน้านี้มีการดำเนินคดีมาตรา 112 กับผู้ป่วยทางจิตที่แสดงออกซึ่งความคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างน้อย 13 ราย ซึ่งทุกรายเป็นการจับกุมดำเนินคดีก่อน แล้วค่อยส่งตัวไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่า เป็นผู้ป่วยหรือไม่ https://freedom.ilaw.or.th/node/815 และทุกกรณีใช้ขั้นตอนการวินิจฉัยที่นานมากกว่าหนึ่งเดือน แต่หากอาการป่วยไม่ร้ายแรงจนเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยหรือผู้อื่น ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้นอนพักที่โรงพยาบาลระหว่างกระบวนการวินิจฉัย
กรณีของทิวากร เป็นกรณีแรกที่แม้ผู้ถูกจับกุมจะยังไม่ได้แสดงอาการป่วยให้เห็นชัด แต่ตำรวจก็เข้าจับตัวเพื่อส่งไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยทันทีก่อนที่จะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย จึงยังไม่ชัดเจนว่า การจับกุมตัวทิวากรนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายใดของหน่วยงานใด
ooo
แถลงการณ์เรียกร้องให้ตรวจสอบและยุติการควบคุมตัวทิวากร กรณีสวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว”
.
ตามที่สำนักข่าวประชาไทได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนายทิวากร วิถีตน จากบ้านพักในจังหวัดขอนแก่น ไปยังโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และได้ยึดโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์และเสื้อยืดนายทิวากรไป พร้อมทั้งวางกำลังไว้เฝ้าโรงพยาบาลไว้ โดยก่อนหน้าการควบคุมตัวในวันเกิดเหตุได้มีเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาพูดคุยขอให้เลิกใส่เสื้อยืดดังกล่าวที่บ้านพักหลายคราว
.
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเชียงคานได้นำตัวนายเกรียงไกร สิงห์หฬ ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรเชียงคาน จากเหตุตั้งภาพนายทิวากรใส่เสื้อยืดข้อความดังกล่าวเป็นภาพปก (cover) ในเฟซบุ๊ก โดยยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา
.
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองจากการใช้อำนาจรัฐและจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก มีความห่วงกังวลถึงปฏิบัติการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐว่าอาจเป็นการกระทำไปโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย และละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคล ใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. ข้อความ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” มิใช่ข้อความอันจะเข้าข่ายการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ตาม ม.112 หรือ ยุยงปลุกปั่น ตาม ม.116 และไม่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงตามr พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
2. ทิวากรยังอยู่ในภาวะปกติ สามารถสื่อสารพูดคุยอย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่ได้มีลักษณะที่อยู่ในภาวะอันตรายที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่น หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ขาดความสามารถในการให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา และต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว อันจะเข้าองค์ประกอบที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจบังคับบุคคลไปบำบัดรักษาตามมาตรา 22 ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
3. กรณีการควบคุมตัวทิวากรดังกล่าว นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุจำเป็นหรือการร้องขอให้บำบัดรักษาแล้ว หากกระบวนการดังกล่าวเป็นไปเพื่อการบำบัดรักษาจริง ก็ไม่จำเป็นต้องยึดโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และเสื้อยืดของทิวากรไป เพราะไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการรักษา
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการนำกระบวนการทางการแพทย์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมตัวบุคคลตามอำเภอใจ (Arbitrary detention) อันเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายนั้นเกิดขึ้นหรือดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อทั้งวงการสาธารณสุขและกระบวนการยุติธรรม และเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามพันธกรณีในข้อบทที่ 9 ข้อบทที่ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR)
.
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สภ.เมืองขอนแก่นและสภ.เชียงคานว่าปฏิบัติการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ขอให้เจ้าหน้าที่ยุติการกระทำโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอาจเข้าข่ายการคุกคามประชาชน และยุติการควบคุมตัวทิวากรในทันที
.
อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่ >> https://www.tlhr2014.com/?p=19419
...
...
ปลอดภัยดี! ทิวากรแอดมิท รพ.จิตเวช ญาติเยี่ยมได้ ยังไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา
ทิวากร ผู้สวมเสื้อ 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' ถูกตำรวจจับตัวและส่งไปตรวจรักษาอาการทางจิตที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีตำรวจเฝ้า 24 ชั่วโมง ด้านพยาบาลผู้ดูแลแจ้งว่า จะตรวจรักษาตามขั้นตอนปกติของโรงพยาบาล ญาติสามารถเดินทางไปเยี่ยมได้ เจ้าตัวยืนยัน อยู่ได้ อาหารดี ปลอดภัยดี
9 กรกฎาคม 2563 ตำรวจและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลไปที่บ้านของทิวากร ชาวขอนแก่นที่ถ่ายภาพตัวเองและถ่ายไลฟ์ลงเฟซบุ๊ก พร้อมกับสวมเสื้อเขียนข้อความว่า 'เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว' และควบคุมตัวไป ทิวากรปฏิเสธไม่ยอมรับการจับกุม แต่ไม่ได้ต่อสู้ขัดขืน ตำรวจแจ้งกับญาติว่า จะส่งตัวไปโรงพยาบาล หลังจากนั้นเขาก็หายตัวไปหลายวันโดยไม่ได้ติดต่อกลับบ้าน
13 กรกฎาคม 2563 นักข่าวประชาไท เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และเจ้าหน้าที่ไอลอว์เดินทางพร้อมกับแม่ พี่ชาย และพี่สะใภ้ของทิวากร ไปที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยทางจิตของรัฐในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเชื่อว่า ทิวากรน่าจะถูกควบคุมตัวอยู่ เมื่อไปถึงได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเพื่อขอเข้าเยี่ยมทิวากร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้ข้อมูลต่างๆกับครอบครัวและให้การต้อนรับอย่างดีพร้อมทั้งดำเนินการให้ครอบครัวและผู้ติดตามพบกับทิวากรได้
อย่างไรก็ตามการเยี่ยมทิวากรมีเงื่อนไขพิเศษคือต้องให้ตำรวจมาดูแลด้วย เนื่องจากทางสภ.เมืองขอนแก่น ส่งตำรวจสองนายผลัดเวรกันมาเฝ้าทิวากรที่โรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันผู้ป่วยทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเอง และทางตำรวจได้ขอบัตรประชาชนของทุกคนที่มาเยี่ยมทิวากรไปตรวจสอบด้วย
ทิวากรออกมาพูดคุยกับครอบครัวในสถานที่เยี่ยมที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้ด้วยสภาพจิตใจและร่างกายที่เป็นปกติ โดยเล่าว่า ได้พบและพูดคุยกับหมอแล้ว แต่ยังไม่ทราบผลการตรวจ การพักอาศัยอยู่ที่โรงพยาบาลมีสภาพที่ดี ได้อยู่ห้องเดี่ยวแยกกับผู้ป่วยคนอื่น มีอาหารให้กินตลอดซึ่งรสชาติดี แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์หรือติดต่อคนอื่น พร้อมระบุว่าเขาอยู่ได้โดยไม่มีปัญหา
พยาบาลที่ดูแลทิวากรเล่าให้ญาติฟังว่า ขั้นตอนการตรวจรักษาทิวากรจะเป็นไปตามขั้นตอนปกติของโรงพยาบาล ซึ่งจะมีคณะกรรมการวินิจฉัยหลายคน ประกอบไปด้วย จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต้องประเมินอาการหลายครั้ง และต้องทำแบบทดสอบหลายอย่าง จึงต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะสรุปคำวินิจฉัยได้ว่าทิวากรมีอาการป่วยทางจิตหรือไม่ ระยะเวลาการตรวจรักษายังขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยด้วย ซึ่งที่ผ่านมาทิวากรให้ความร่วมมือดี และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่โดยปกติทุกอย่าง เนื่องจากทิวากรเป็นผู้ถือสิทธิบัตรทองหรือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระบวนการทั้งหมดนี้จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ญาติของทิวากร เล่าให้ฟังว่า ทิวากรมีนิสัยเป็นคนตรง พูดตรง รักความเป็นธรรม เป็นคนฉลาด คิดเรื่องการงานได้อย่างเป็นระบบ แม้พักหลังจะมีอาการเก็บตัวอยู่บ้างและมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิดอย่างสูง แต่ก็ไม่เชื่อว่า ทิวากรจะเป็นผู้ป่วยทางจิต
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เฝ้าอยู่ และพยาบาล ไม่มีใครทราบว่า มีการตั้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายเพื่อดำเนินคดีกับทิวากรหรือไม่ และทิวากรเองก็บอกว่า ตั้งแต่มาอยู่ที่โรงพยาบาลยังไม่ได้พูดคุยกับตำรวจ หรือถูกสอบปากคำแต่อย่างใด
ทิวากร อายุ 47 ปี เป็นชาวจังหวัดขอนแก่น เรียนจบวิศวกรรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง เคยประกอบอาชีพรับจ้างออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ต่อมากลับมาอยู่ที่บ้านกับครอบครัวและช่วยกันทำกิจการค้าขายของครอบครัว ทิวากรคิดข้อความในเสื้อขึ้นเอง และทำใส่เอง โดยไม่ได้ขายให้กับใคร เขาใช้เฟซบุ๊กของเขาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงหลัง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความศรัทธา ก่อนถูกจับกุมและหยุดความเคลื่อนไหวไปตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2563
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของทิวากรต่อได้ที่ https://prachatai.com/journal/2020/07/88564
จากข้อมูลที่ไอลอว์บันทึกไว้ พบว่า ก่อนหน้านี้มีการดำเนินคดีมาตรา 112 กับผู้ป่วยทางจิตที่แสดงออกซึ่งความคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างน้อย 13 ราย ซึ่งทุกรายเป็นการจับกุมดำเนินคดีก่อน แล้วค่อยส่งตัวไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยว่า เป็นผู้ป่วยหรือไม่ https://freedom.ilaw.or.th/node/815 และทุกกรณีใช้ขั้นตอนการวินิจฉัยที่นานมากกว่าหนึ่งเดือน แต่หากอาการป่วยไม่ร้ายแรงจนเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยหรือผู้อื่น ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้นอนพักที่โรงพยาบาลระหว่างกระบวนการวินิจฉัย
กรณีของทิวากร เป็นกรณีแรกที่แม้ผู้ถูกจับกุมจะยังไม่ได้แสดงอาการป่วยให้เห็นชัด แต่ตำรวจก็เข้าจับตัวเพื่อส่งไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยทันทีก่อนที่จะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย จึงยังไม่ชัดเจนว่า การจับกุมตัวทิวากรนั้น เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายใดของหน่วยงานใด
ooo
แถลงการณ์เรียกร้องให้ตรวจสอบและยุติการควบคุมตัวทิวากร กรณีสวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว”
.
ตามที่สำนักข่าวประชาไทได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนายทิวากร วิถีตน จากบ้านพักในจังหวัดขอนแก่น ไปยังโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และได้ยึดโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์และเสื้อยืดนายทิวากรไป พร้อมทั้งวางกำลังไว้เฝ้าโรงพยาบาลไว้ โดยก่อนหน้าการควบคุมตัวในวันเกิดเหตุได้มีเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาพูดคุยขอให้เลิกใส่เสื้อยืดดังกล่าวที่บ้านพักหลายคราว
.
นอกจากนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเชียงคานได้นำตัวนายเกรียงไกร สิงห์หฬ ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจภูธรเชียงคาน จากเหตุตั้งภาพนายทิวากรใส่เสื้อยืดข้อความดังกล่าวเป็นภาพปก (cover) ในเฟซบุ๊ก โดยยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา
.
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายต่อผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองจากการใช้อำนาจรัฐและจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก มีความห่วงกังวลถึงปฏิบัติการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐว่าอาจเป็นการกระทำไปโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย และละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคล ใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. ข้อความ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” มิใช่ข้อความอันจะเข้าข่ายการดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้าย ตาม ม.112 หรือ ยุยงปลุกปั่น ตาม ม.116 และไม่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงตามr พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14
2. ทิวากรยังอยู่ในภาวะปกติ สามารถสื่อสารพูดคุยอย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่ได้มีลักษณะที่อยู่ในภาวะอันตรายที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่น หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ขาดความสามารถในการให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา และต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว อันจะเข้าองค์ประกอบที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจบังคับบุคคลไปบำบัดรักษาตามมาตรา 22 ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
3. กรณีการควบคุมตัวทิวากรดังกล่าว นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุจำเป็นหรือการร้องขอให้บำบัดรักษาแล้ว หากกระบวนการดังกล่าวเป็นไปเพื่อการบำบัดรักษาจริง ก็ไม่จำเป็นต้องยึดโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และเสื้อยืดของทิวากรไป เพราะไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับการรักษา
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการนำกระบวนการทางการแพทย์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมตัวบุคคลตามอำเภอใจ (Arbitrary detention) อันเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายนั้นเกิดขึ้นหรือดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อทั้งวงการสาธารณสุขและกระบวนการยุติธรรม และเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามพันธกรณีในข้อบทที่ 9 ข้อบทที่ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR)
.
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สภ.เมืองขอนแก่นและสภ.เชียงคานว่าปฏิบัติการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ขอให้เจ้าหน้าที่ยุติการกระทำโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอาจเข้าข่ายการคุกคามประชาชน และยุติการควบคุมตัวทิวากรในทันที
.
อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่ >> https://www.tlhr2014.com/?p=19419
...