วันอังคาร, พฤษภาคม 16, 2560

แอมเนสตี้เปิดตัวแคมเปญ “กล้า” (BRAVE) ยุติการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก - มีรายงานกรณีไผ่ด้วย





แอมเนสตี้เปิดตัวแคมเปญ “กล้า” (BRAVE) ยุติการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก


16 พฤษภาคม 2560
Amnesty International

แอมเนสตี้เปิดตัวแคมเปญ “กล้า” (BRAVE)
ยุติการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก

แอมเนสตี้เปิดตัวแคมเปญใหม่ "กล้า" สร้างความตระหนักรู้และเรียกร้องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลกซึ่งกำลังถูกโจมตีและคุกคามอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วโลกเปิดตัวแคมเปญ "กล้า" หรือ BRAVE แคมเปญระดับนานาชาติเพื่อยืนหยัดเคียงข้างผู้ที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมอย่างกล้าหาญทั่วทุกมุมโลก เนื่องจากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในหลายประเทศต่างกำลังเผชิญหน้ากับการโจมตี คุกคาม ปราบปราม และการใช้ความรุนแรงมากมายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แอมเนสตี้เรียกร้องให้ทุกประเทศเห็นความสำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตลอดจนรับประกันเสรีภาพและความปลอดภัยของพวกเขา

แอมเนสตี้พบว่ามีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างน้อย 68 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมตัวโดยพลการเพียงเพราะทำงานตามหลักสันติวิธี นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากกว่า 94 ประเทศถูกคุกคามและทำร้าย พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากร เป็นบุคคลไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ

ในรายงานฉบับใหม่ที่ชื่อว่า “การคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน–พื้นที่ภาคประชาสังคมที่ถูกบีบให้เล็กลง” ของแอมเนสตี้เผยให้เห็นถึงภัยคุกคามที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องเผชิญหลากหลายรูปแบบ หลายครั้งเป็นการโจมตีถึงขั้นหมายเอาชีวิต จากข้อมูลของ Front Line Defenders ระบุว่าในปี 2559 มีผู้ถูกสังหารถึง 281 คนจากการลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิมนุษยชน เพิ่มขึ้นจาก 156 คนในปี 2558





นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่าแอมเนสตี้ประเทศไทยร่วมทำแคมเปญ "กล้า" เพื่อให้มีการตระหนักถึงความสำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเพื่อเรียกร้องให้มีมาตรการปกป้องการทำงานของพวกเขาอย่างจริงจัง

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ร่วมแสดงความกังวลผ่านโครงการรณรงค์เพื่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนระดับสากล พวกเราตระหนักถึงการที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกคุกคามหรือถูกละเมิดสิทธิเราอยากเรียกร้องให้คนกล้าออกมาช่วยเหล่านักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพราะพวกเขาคือผู้กล้าที่จะปกป้องและยืนหยัดเพื่อสิทธิของผู้อื่น เหล่าผู้กล้าเหล่านั้นกำลังต้องการผู้กล้าอย่างคุณเพื่อสนับสนุนกันและกันในการที่จะช่วยกันสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับเราทุกคน”นางปิยนุชกล่าว

"นักปกป้องสิทธิมนุษยชน" คือบุคคลที่ปกป้องและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับชุมชน ภูมิภาค ประเทศ หรือแม้แต่ระดับนานาชาติ โดยไม่ใช้และไม่สนับสนุนการใช้ความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนอาจเป็นใครก็ได้ ตั้งแต่นักข่าว ทนายความ อาจารย์ สหภาพแรงงาน คนที่เปิดโปงการกระทำผิด ไปจนถึงชาวไร่ชาวนาและคนธรรมดาทั่วไป โดยประเทศต่างๆ ต้องยอมรับบทบาท เห็นความสำคัญ และมีนโยบายคุ้มครองพวกเขาอย่างจริงจัง

สำหรับประเทศไทย PROTECTION international (PI) เผยว่าในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกสังหารและสูญหายทั้งหมด 59 คน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกสังหารและบังคับให้สูญหายมากที่สุด ซึ่งมีการสอบสวนและนำคดีขึ้นสู่ชั้นศาลน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนคดีที่เกิดขึ้น และหากมองย้อนหลังไป 35 ปี พบว่าประเทศไทยเกิดการบังคับบุคคลให้สูญหายรวม 90 กรณี โดยจนถึงปัจจุบัน 81 กรณียังไม่ได้รับการแก้ไข

นางปิยนุชกล่าวทิ้งท้ายว่า “ตั้งแต่เนลสัน แมนเดลา มาลาลา ยูซาฟไซ เชลซี แมนนิง มาจนถึงทนายสมชาย นีละไพจิตร บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ และลุงเด่น คำแหล้ ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยเรื่องราวของคนธรรมดาสามัญที่ปฏิเสธระบบที่เป็นอยู่และลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิ่งที่ถูกต้อง หากปราศจากความกล้าหาญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โลกของเราจะมีความเป็นธรรม ยุติธรรม และเท่าเทียมกันน้อยลง วันนี้จึงเป็นวันที่พวกเราเรียกร้องให้ทุกคน ไม่เฉพาะผู้นำโลก ต้องยืนหยัดเคียงข้างและคุ้มครองบุคคลผู้กล้าหาญเหล่านี้”

ในประเทศไทยจะมีกิจกรรมรวมตัว “ผู้กล้า” ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ณ บริเวณสวนลุมพินี เพราะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนคือผู้กล้าที่ออกมายืนหยัดเพื่อสิทธิของพวกเราเสมอมา จึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องรรวมพลังสนับสนุนการทำงานที่กล้าหาญของพวกเขา

สถิติที่สำคัญเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในปี 2559

อย่างน้อย 22 ประเทศ สังหารประชาชนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิมนุษยชนอย่างสงบ
63 ประเทศ สร้างข่าวเท็จเพื่อทำให้ภาพพจน์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเสียหาย
68 ประเทศ จับกุมหรือควบคุมตัวนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำงานอย่างสันติ
94 ประเทศ คุกคามหรือโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง:
“การคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน–พื้นที่ภาคประชาสังคมที่ถูกบีบให้เล็กลง”
แถลงการณ์ฉบับเต็มภาษาไทย
แถลงการณ์ฉบับเต็มภาษาอังกฤษ


ooo

รายงานส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับประเทศไทย...

3.2 INTERNET CENSORSHIP 

The right to freedom of expression, which includes the right to seek, receive and impart information, is recognized under Article 19 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR).46 In June 2016, the UN Human Rights Council adopted a resolution on “[t]he promotion, protection and enjoyment of human rights on the Internet”,47 which affirms that people have the same right to freedom of expression online as they do offline, and condemns state “measures to intentionally prevent or disrupt access to or dissemination of information online in violation of international human rights law”. In a report published in 2011, the UN Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of opinion and expression stated that “the framework of international human rights law, in particular the provisions relating to the right to freedom of expression, continues to remain relevant and applicable to the Internet”.48 Under Article 19.3 of the ICCPR, the right to freedom of expression may be subject to certain restrictions, but only if these are provided by law and are necessary and proportionate for the purpose of protecting legitimate aims, defined as the respect of the rights or reputations of others, and the protection of national security or of public order or of public health or morals. Any restrictions on freedom of expression on the internet must also comply with these criteria.49
.
In Thailand vaguely worded provisions contained in the Computer Crimes Act (CCA) have been used extensively to penalize individuals for publishing dissenting materials, including about human rights violations, online and has led to the initiation of criminal proceedings against HRDs. Jatupat Boonpattararaksa, a law student and HRD was, at the time of writing, detained facing charges under the CCA and Article 112 of the Penal Code (on lèse majesté) for sharing a BBC news article on Facebook in December 2016. Authorities revoked his bail on 22 December 2016 on the basis that he had failed to delete the post, and continued to post material on Facebook which authorities maintained symbolically mocked the authority of the state.52