วันอังคาร, กันยายน 20, 2559
ไม่แปลกใจ..!!! ที่ 'วิบูลย์ลักษณ์' ว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฮึ่ม..!! อาจออก ถ้าบังคับให้เซ็นค่าเสียหายข้าวจีทูจี เพราะอะไร ??? + “อภิรดี-ชุติมา”เซ็น เรียกค่าเสียหายขายจีทูจีข้าวแล้ว เตรียมร่อนหนังสือ แจ้ง 6 ราย ทราบ
ที่มา FB
KonthaiUk
ไม่แปลกใจ..!!! ที่ 'วิบูลย์ลักษณ์'
ว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ฮึ่ม..!!
อาจออก ถ้าบังคับให้เซ็นค่าเสียหายข้าวจีทูจี
___________เพราะอะไร ???__________
เพราะ น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ เคยชี้แจงเรื่องนี้
แทนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มาแล้ว
เธอรู้เรื่องนี้ดี ว่าไม่ผิดแน่ๆ
ตอนนั้น น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ดำรงตำแหน่ง
อธิบดีกรมการค้าภายใน ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์
15 ก.พ. 2556 เธอออกมาชี้แจงว่า
ใครว่า "จำนำข้าว" ขาดทุนแสนล้าน ?
วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ยืนยัน
จริง ๆ แล้ว ไม่มี !
เป็นการคำนวณผิด !
นโยบายรับจำนำข้าวเปลือก
ปีการผลิต 2555/2556 ของกระทรวงพาณิชย์
ที่ต้องการยกระดับราคาข้าวเปลือกในตลาด
สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
โดยตั้งวงเงินสำหรับใช้ดำเนินการโครงการ
ถึง 4 แสนล้านบาท
แต่ทว่า โครงการดังกล่าวมักถูกโจมตี
ในจุดโหว่ต่าง ๆ ที่เป็นการเปิดช่องการทุจริต
งบประมาณจำนวนมาก
"นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์"
อธิบดีกรมการค้าภายใน
เป็นทัพหน้า
แจงเป้าหมายนโยบายแท้จริงของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์
- การรับจำนำข้าวมักถูกโจมตีในเชิงลบ
หลายคนเป็นห่วงเรื่องจำนำข้าว
ทำให้รัฐบาลขาดทุน 100,000 ล้านบาท
จริง ๆ แล้วไม่มี
เป็นการคำนวณผิดพลาด
หากคิดจากงบประมาณที่ใช้ในการรับจำนำ
ปีก่อน 370,000 ล้านบาท แต่มีของที่ขายได้อยู่
ไม่ใช่ว่าปีนี้จะขาดทุนเท่านี้
ปีหน้าจะขาดทุนเท่านี้
เอามาคูณกันเข้าไปเลย
รอบบัญชีกับรอบโครงการจะไม่เหมือนกัน
เคยมีข้าวบางสมัยยังขายไม่หมดก็มี
แต่คนอาจจะมีความรู้สึกว่า
ซื้อ ๆ มาแล้วขาย
เราอยากให้มองเป้าหมายของการรับจำนำ
ไม่ใช่การซื้อมาขายไป
เจตนารมณ์ของรัฐบาล คือ
ต้องการสร้างรายได้ที่ดีให้เกษตรกร
ให้หลุดพ้นจากวงจรหนี้สิน
แต่คงไม่ใช่นโยบายระยะยาว
เป็นเพียงการลดภาระของเกษตรกร
ให้สามารถลืมตาอ้าปาก ยืนบนขาของตัวเองได้
เรามีเส้นทางที่วางไว้ และมีกรอบระยะเวลา
หากไม่ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้
เทียบเท่ากับค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน
อาจทำให้เกษตรกรเลิกอาชีพนี้ไปหมด
‘จำนำข้าว’ ไม่ได้มุ่งที่กำไร-ขาดทุน
แต่มุ่งยกระดับชีวิตชาวนา
เป้าหมายอยู่ที่ช่วยเกษตรกร
ยกระดับฐานะของเกษตรกร
เราจะเห็นว่าชาวนาไทย
เป็นชาวนาที่ยากจนมานาน
และไม่สามารถหลุดพ้นวงจรจากความยากจน
การประกันรายได้หรือจำนำ
ก็เป็นโครงการที่เข้ามายกระดับชีวิตของเกษตรกร
และโครงการจำนำข้าว ในช่วงที่ผ่านมา
จากการติดตาม ไม่อาจปฏิสเธได้ว่า
ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในอดีต
ประเด็นที่ 2
เป็นการลงทุนในกับภาคการเกษตร
เหมือนรัฐบาลอื่นที่ลงทุนกับสุขภาพ
หรือการศึกษา หรือโครงสร้างพื้นฐาน
ประเด็นที่ 3
กลไกตลาดสินค้าเกษตร
มันไม่มีทางเดินหน้าโดยตลาดสมบูรณ์
ดังนั้นมันจะมีการดูแลของรัฐ
หรือกลุ่มอำนาจต่างๆ ในตลาดโลก
โดยมีรัฐหรือองค์กรต่างๆเข้ามาแทรกแซง
นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ น.ส.วิบูลย์ลักษณ์
ได้เคยชี้แจงในฐานะ อธิบดีกรมการค้าภายใน
ซึ่งรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี ว่าโครงการนี้
เป็นสิ่งที่ดีกับชาวนา และเชื่อมั่นว่า
ไม่มีการทุจริตอย่างที่ถูกกล่าวหา
นี่คือเหตุผล ที่ทำให้เธอแถลงว่า
อาจลาออก
ถ้าบังคับให้เซ็นค่าเสียหายข้าวจีทูจี !!!
ขอบคุณ....@เฟส เพจ กรุงเทพ กรุงเทพฯ
ooo
“อภิรดี-ชุติมา”เซ็น เรียกค่าเสียหายขายจีทูจีข้าวแล้ว เตรียมร่อนหนังสือ แจ้ง 6 ราย ทราบ
ที่มา มติชนออนไลน์
19 ก.ย. 59
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการลงนามในหนังสือบังคับทางปกครอง เรียกร้องค่าเสียหายจากการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี)กับนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยฯ และพวก รวม 6 คน มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท ว่า เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 19 กันยายน ตนและน.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามในคำสั่งเรียกค่าเสียหายแล้ว โดยตนเป็นผู้ลงนามแทนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ น.ส.ชุติมา เป็นผู้ลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากนี้ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์จะแจ้งเรื่องไปยังผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 6 รายให้รับทราบ โดยให้ตอบรับหรือโต้แย้งภายใน 30 วัน หากเพิกเฉยจะส่งหนังสือแจ้งเตือนรอบที่ 2 และมีระยะเวลา 15 วัน หากยังเพิกเฉยอีก ก็จะส่งเรื่องไปยังกรมบังคับคดี เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ต่อไป
เมื่อสอบถามว่าได้ศึกษาข้อกฎหมายเรียบร้อยแล้วหรือไม่ถึงได้ตัดสินใจลงนามในคำสั่งดังกล่าว นางอภิรดี ตอบเพียงสั้นๆว่า ” ถูกต้อง ”
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า หลังจากนี้ทางกระทรวงจะส่งคำสั่งดังกล่าวไปตามขั้นตอนของระบบราชการ หากถามว่าขณะนี้ส่งหรือยัง ก็เป็นขั้นตอนภายในตามระบบ โดยหลังจากนั้นเมื่อคำสั่งถึงผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 6 ราย ก็จะต้องรับทราบ ภายใน 30 วัน หากเพิกเฉย จะส่งหนังสือแจ้งเตือนรอบที่ 2 มีระยะเวลา 15 วันและหากยังเพิกเฉยอีก ก็จะส่งเรื่องไปกรมบังคับคดี เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ต่อไป
“ทุกกระบวนการผู้ถูกกล่าวหาสามารถอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองได้ทุกเมื่อ และหากศาลปกครองสั่งทุเลากระบวนการก็หยุด แต่หากไม่ได้มีคำสั่งออกทุเลาออกมา กระบวนการทุกอย่างก็จะเดินหน้าต่อไป ”
เมื่อถามว่า ที่ตัดสินใจลงนามคำสั่งกล่าวเป็นเพราะนายกรัฐมนตรีประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 56/2559 ใช้มาตรา (ม.) 44 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ตามคุ้มครองผู้ปฎิบัติหน้าที่ที่ดำเนินการคำสั่งทางปกครองหรือไม่ น.ส.ชุติมา กล่าวว่าไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะตามกฎหมายยังไงก็ตามต้องลงนามในคำสั่งดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ตรงกับจังหวะที่ม.44 ประกาศใช้พอดี ทั้งนี้ คงไม่สามารถตอบได้มาทำไมม.44 จึงประกาศใช้ในช่วงนี้พอดี