Thailand drafts another undemocratic constitution
By Cindy Degreef
Cindy Degreef is a journalist at New Europe
APRIL 1, 2016
The Thai military junta government released the final draft of the newly revised constitution, on March 29. The draft was heavily condemned across the political spectrum, by the Pheu Thai party, by the former prime minister Thaksin Shinawatra, as well as by the the opposition leader, former prime minister Abhisit Vejjajiva. The Pheu Thai party called its supporters to vote against the constitution in a public referendum promised for 7 August this year. If adopted, it would see powers siphoned off from elected officials to the military. Consequently, democracy remains no closer to return to the country and the prospect of a new constitution threatens to strengthen the regime’s power, for years to come.
Before becoming the twentieth constitution of Thailand, the draft will have to be adopted in a referendum by a simple majority of voters, rather than a majority of voters who cast ballots. However, what is even more worrying is that the referendum will not be carried out according to international standards, because international norms on human rights are not respected in the country. Rights to freedoms of assembly, expression, association and to information are all repressed under the military junta.
Opponents to the military regime critics are summoned for “attitude adjustment” sessions, where they are held in military prisons, threatened and forced into agreeing to change their outlook or actions. There has been a spike in arrests for defaming the royal family using the lèse majesté law. Journalists, academics and politicians have been detained and media critical of the regime were censored or closed entirely. Freedom of expression and opinion is thus not respected.
Moreover, it is illegal to hold free debates on the constitution. The junta deputy prime minister said that no campaigns or debates surrounding the latest draft will be permitted without the explicit permission of the government, effectively preventing any public opposition. In fact, the junta has restricted freedom of assembly, ruling that political gatherings of more than 5 people are illegal, so opposition campaigners cannot hold rallies, and voters cannot participate in them.
Actually, the military has given no guarantees that elections will include the Pheu Thai party, aligned to the former prime minister Shinawatra, which has won each election since 2001 and secured almost 50 per cent of the vote in 2011.
If adopted, the new drafted constitution will be undemocratic since it includes provisions such as the fact that an unelected official can become Prime Minister, allowing General Prayuth to remain in office, with supreme power to enact unchallenged ‘emergency laws’.
Moreover, the 250 senators will be appointed by the military with powers over the legislative, administrative and judiciary branches. The constitution provides that the senate remains in place for five years, to oversee a ‘transitional period’ and that it will be able to screen and veto legislation, even after laws passed by parliament.
In addition, greater power will be given to the constitutional court, fully nominated by the unelected house of senators. Therefore, constitutional immunity for General Prayuth, members of the NCPO (National Council for Peace and Order) and state officials will be extended until after a new cabinet is formed. Also, The junta will reserve the right to exercise absolute power, for 5raison years after appointment of cabinet, and maintain influence over legislative, executive and judicial branches through the unelected National Reform Steering Assembly.
Finally, the constitution will be almost impossible to amend, requiring the approval of 1/3 of senate. If only 10 members of either the senate or the parliament disagree with the proposed amendment, they can submit a claim to the constitutional court to delay or annul it without any consultation of civil society.
For obvious raisons of the new drafted Thai constitution’s non compliance with democratic standards, civil society organisations urge the European Union and the international community to closely watch the August 2016 referendum, to suspend free trade agreements, and to put in place targeted sanctions. Indeed, if Thailand continues on this dangerous path it could even become a negative model for South East-Asian countries.
ooo
บทเรียนสุจินดาถึงประยุทธ์ จำเป็นต้องคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ
บุญเลิศ วิเศษปรีชา
ที่มา ประชาไท
Thu, 2016-04-07
ย้อนหลังกลับไป วันที่ 7 เมษายน 2535 คือวันที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำในการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการรับตำแหน่งที่ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างกว้างขวางทันที กระทั่งรัฐบาลสุจินดา ใช้ทหารเข้าปราบปรามประชาชนที่ถนนราชดำเนิน แต่สุดท้ายพลเอกสุจินดา ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีเพียง 47 วัน และเป็นตราบาปให้กับตัวเองจนถึงทุกวันนี้
อันที่จริง การขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา นั้นรัฐธรรมนูญปี 2534 ได้เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นกลางกลับต่อต้าน เพราะเห็นว่า เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) รวมทั้งไม่อาจยอมรับข้ออ้าง “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ที่พลเอกสุจินดา เคยพูดไว้ว่า จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี
กรณีพลเอกสุจินดา และเหตุการณ์พฤษภา 35 จะไม่เกิดขึ้นเลย หากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ไม่เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกเสียแต่แรก ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการคัดค้านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2534 มีการชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ที่ว่ากันว่า เป็นการชุมนุมการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งแรกนับแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติขณะนั้นกลับเมินเสียงต่อต้าน และผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องให้มีนายกฯ คนนอกได้จนนำไปสู่ความรุนแรง
จึงกล่าวได้ว่า การประเมินความรู้สึกของประชาชนที่ผิดพลาดของคณะ รสช. และบรรดานักร่างรัฐธรรมนูญ ที่ นายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ เป็นการวางระเบิดเวลาที่รอการปะทุ เพราะไม่เข้าใจว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ไม่อาจยอมรับการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร บทเรียนกรณีพลเอกสุจินดา หากนำมาเทียบเคียงกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน จะบ่งบอกถึงความจำเป็นที่จะต้องโหวตคว่ำรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยไดโนเสาร์เกิดใหม่ฉบับนี้
คสช. และ นายมีชัย กำลังประเมินความรู้สึกของประชาชนต่ำเกินไป ทั้งๆที่ โดยข้อเท็จจริง ความไม่รู้สึกพึงพอใจมีอยู่แพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการต้องอยู่ในระบอบการปกครองที่ประชาชนถูกปิดกั้นการแสดงออก ไม่สามารถเสนอปัญหาและเจรจากับผู้เกี่ยวข้องเหมือนในสังคมประชาธิปไตย ปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังเช่น การออกคั่งตามมาตรา 44 ยกเว้นกฎหมายผังเมืองสำหรับการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า รวมถึงการบริหารเศรษฐกิจที่ไร้ความสามารถ ดังตัวเลขการเจริญเติบโจทางเศรษฐกิจถดถอยและการส่งออกที่ถึงขั้นติดลบ
เมื่อประเมินความรู้สึกของประชาชนต่ำเกินไป นายมีชัย และ คสช. จึงได้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่เปิดช่องให้ คสช. ได้สืบทอดอำนาจ อย่างปราศจากความละอาย เช่น การให้ คสช. มีอำนาจในการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก 250 คน การเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. การให้อำนาจล้นฟ้ากับศาลรัฐธรรมนูญ ที่ท้ายที่สุดก็จะทำให้อำนาจของประชาชนที่ใช้ผ่านการเลือกตั้งไร้ความหมาย เพราะคนที่ถูกเลือก ไม่อาจจะตั้งรัฐบาลได้ หรือ จัดตั้งรัฐบาลได้ ก็จะถูกศาลรัฐธรรมนูญหาเรื่องให้พ้นจากตำแหน่งโดยไม่มีเหตุเพียงพอ
ดังนั้นเนื้อหาหลักของร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยก็คือ การบั่นทอนอำนาจของประชาชนที่ใช้ผ่านการเลือกตั้ง และสงวนอำนาจไว้สำหรับคณะรัฐประหาร หรือกล่าวให้ชัดขึ้นก็คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ตอกย้ำ ความรู้สึกของประชาชนที่มีอยู่ทั่วไปว่าด้วย ระบบไพร่ – อำมาตย์ ที่อภิสิทธิชนจำนวนน้อยกุมอำนาจโดยไม่ต้องฟังเสียงประชาชน
สิ่งที่ผู้นำ คสช. อ้างว่า จำเป็นต้องคุมอำนาจต่อ เพราะต้องการวางรากฐานให้ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน เวลาสองปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คสช. นอกจากจะไร้ความชอบธรรมตั้งแต่ต้นที่จะทำตัวเป็นคนมาวางรากฐาน เพราะได้อำนาจมาจากการยึดอำนาจ คสช. ยังไร้น้ำยาที่จะทำให้สังคมที่มีผู้คนที่มีผลประโยชน์แตกต่างหลากหลาย ได้มีพื้นที่ที่จะต่อรองผลประโยชน์ และอยู่ร่วมกัน ดังร่างรัฐธรรมนูญที่ ตอกย้ำอำนาจอันไม่เท่าเทียมกันของประชาชนให้เด่นชัดยิ่งขึ้น แม้แต่ประเด็นพื้นๆ ที่ไม่ว่า คนกลุ่มไหน สีไหน ก็น่าจะเห็นพ้องด้วย คือ การให้หลักประกันการศึกษาฟรีในชั้น ม.ปลายและอาชีวศึกษา ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ กลับถูกตัดออกไป เป็นบั่นทอนโอกาสของเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของสังคม
ดังนั้น สิ่งที่ คสช. และ นักยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังทำอยู่ จึงไม่ใช่อะไร นอกจากการย่ามใจว่า สามารถใช้อำนาจคุมประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยไม่ตระหนักบทเรียนกรณีพลเอกสุจินดาที่กุมอำนาจสามเหล่าทัพและมีพรรคการเมืองอยู่ในการควบคุม แต่สุดท้ายก็ยังถูกขับไล่ลงจากอำนาจ
พลเอกประยุทธ์ และพวก ไม่ตระหนักว่า สถานภาพของพวกเขาจะเปลี่ยนไปในทันที เมื่อใครก็ตามใน คสช.ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง เพราะพวกเขาจะไม่มีอำนาจพิเศษในการควบคุมประชาชน เหมือนเช่นทุกวันนี้ที่ใช้ มาตรา 44 ลิดรอนสิทธิของประชาชน การนำตัวพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร โดยไม่มีเหตุอันควร รวมถึงการคุกคามประชาชน ภายใต้คำพูดว่า นำตัวไปปรับทัศนคติ ทั้งๆ ที่ ผู้นำคสช. ต่างหากที่ควรจะเปลี่ยนทัศนคติของตนเองที่มีต่อประชาชน เลิกคิดเสียว่า มีแต่กลุ่มของตนกลุ่มเดียวที่หวังดีต่อส่วนรวม
คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ คือทางออกจากวงจรอุบาทว์อย่างสันติ
สำหรับประชาชนทั่วไป การตัดสินใจลงประชามติ อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ยาก ด้วยเหตุผลสองประการ คือ หากอยากให้การเลือกตั้งกลับมาเร็วก็ควรผ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กับความหวังว่า แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ดีก็ควรให้ผ่านก่อนแล้วไปแก้ไขภายหลัง
อย่างไรก็ดี เหตุผลสองประการนี้ ยังไม่มีน้ำหนักมากพอชวนให้โหวตผ่านรัฐธรรมนูญ เพราะต่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ การเลือกตั้งที่กลับมาก็จะไร้ความหมาย เพราะถึงที่สุด คณะบุคคลที่ไม่ต้องลงเลือกตั้ง ไม่ต้องเสนอนโยบายแข่งกันให้ประชาชนเลือก จะเป็นผู้ผูกขาดและควบคุมการใช้อำนาจ ผ่าน ส.ว. และองค์กรอิสระ สอง ความหวังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเลือนรางมาก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเงื่อนไขที่เป็นไปได้ยากมาก โดยกำหนดว่า จะต้องมี ส.ส. 10 เปอรเซนต์ของทุกพรรคการเมืองในสภาร่วมด้วย ดังนั้น หากพรรคใดพรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้การแก้ไขเกิดขึ้นไม่ได้
ดังนั้น ทางเลือกการโหวตโนจึงดีกว่าปล่อยให้คสช.ย่ามใจ ใช้อำนาจโดยปราศจากการยับยั้ง ตรวจสอบ กระทั่งประชาชนทนไม่ได้ และไม่มีทางแสดงออก จนต้องปะทะกันอีก การโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย จึงเป็นการส่งสัญญาณชัดๆ แรงๆ โดยสันติว่า ประชาชนไม่ต้องการระบอบคณาธิปไตย
หากเสียงโหวตโนมีคะแนนมากพอ ก็จะเป็นการสร้างกระแสกดดันว่า หมดเวลาสำหรับการร่างรัฐธรรมนูญแบบสองปีที่ผ่านมา แต่ต้องเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และเป็นการบอกคสช.ว่า ความนิยมในตัวพวกเขาน้อยลงเต็มทีแล้ว
สำหรับชนชั้นกลางที่เคยสนับสนุน คสช. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า ประเทศสงบดีไม่มีการประท้วงนั้นก็ น่าจะตระหนักได้ว่า ความสงบนั้นเกิดจากประชาชนต้องอดกลั้นภายใต้ ระบอบอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่ได้เป็นความสงบที่เกิดจากปัญหาและความต้องการของประชาชนได้รับการตอบสนอง เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะอดกลั้นเช่นนี้ จึงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น ไม่ยั่งยืน สิ่งที่สังคมต้องการก็คือ การให้คนในสังคมต่อรองกันได้อย่างสันติ หากชนชั้นกลางเห็นว่า นักการเมืองใช้อำนาจโดยปราศจากการตรวจสอบ ก็ต้องมาสร้างระบบตรวจสอบ แต่ไม่ใช่การสร้างอำนาจใหม่ที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบ แล้วไปลิดรอนสิทธิของประชาชนที่ใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง เราต้องทำให้อำนาจทั้งสองฝ่ายนั้นสมดุล
ส่วนคนที่เคยคิดว่า คสช. จะมาปราบโกงนั้น ก็น่าจะตระหนักได้แล้วว่า คสช. ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันกับเรื่องนี้ ซ้ำร้าย ผู้นำ คสช. ยังเสียเครดิตจากกรณีอุทยานราชภักดิ์ ที่ผลสอบกันเอง ระบุว่า ไม่มีการทุจริต ทั้งๆ ที่ ข้อกังหาง่ายๆ ที่ไม่อาจลบออกไปได้ก็คือ หากไม่มีการทุจริต พ.อ. คชาชาติ บุตรดี นายทหารผู้ใกล้ชิด พลเอก อุดมเดชและเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการจัดทำเสื้อ ทำไมจึงต้องหลับหนีออกนอกประเทศ ทำไม คสช.จึงไม่จัดการคนใกล้ชิดให้สะอาดปราศจากมลทิน
มากกว่านั้น สำหรับกลุ่มภาคประชาชนที่เคยสนับสนุน คสช. ก็คงน่าจะประจักษ์แล้วว่า เผด็จการไม่เคยเข้าใจคนรากหญ้า ดังเช่น คสช.มีแผนที่จะตืนผืนป่าโดยการขับไล่คนออกจากเขตป่า ซึ่งเป็นข้อพิพาทมาช้านาน และที่ผ่านมาก็ใช้การต่อรองเจรจาประนีประนอม แผนของ คสช.นี้ ไม่ต่างจากโครงการจัดสรรที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนให้แก่เกษตรผู้ยากไร้ หรือ คจก. ในยุค รสช. ที่ล้มเหลว ไม่เป็นท่า เพราะทหารไม่เข้าใจเรื่องป่ากับชุมชน คจก. ในปี 2534 เป็นชนวนหนึ่งที่ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนเป็นเอกฉันท์ที่จะต้องร่วมขับไล่รสช. ส่วนชาวชุมนุมแออัด ปัจจุบันก็ถูกขับไล่โดยอ้างคำสั่งคณะปฏิบัติ ปว. 44 พ.ศ. 2502 คำสั่งนี้มีมานานแต่ไม่ได้ถูกใช้ในยามปกติ แต่กลับถูกนำมาปัดฝุ่นใช้ใหม่ก็ในยุคคสช.เรืองอำนาจ ตัวอย่างเหล่านี้ น่าจะเพียงพอว่า สังคมไทยมองไม่เห็นอนาคตร่วมกัน หากยังอยู่ภายใต้ คสช.
ดังนั้น โหวตคว่ำรธน. จึงเป็นก้าวแรกที่ประชาชนควรเดินร่วมกัน.
ที่มา ประชาไท
Thu, 2016-04-07
ย้อนหลังกลับไป วันที่ 7 เมษายน 2535 คือวันที่พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำในการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการรับตำแหน่งที่ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างกว้างขวางทันที กระทั่งรัฐบาลสุจินดา ใช้ทหารเข้าปราบปรามประชาชนที่ถนนราชดำเนิน แต่สุดท้ายพลเอกสุจินดา ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีเพียง 47 วัน และเป็นตราบาปให้กับตัวเองจนถึงทุกวันนี้
อันที่จริง การขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา นั้นรัฐธรรมนูญปี 2534 ได้เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นกลางกลับต่อต้าน เพราะเห็นว่า เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) รวมทั้งไม่อาจยอมรับข้ออ้าง “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ที่พลเอกสุจินดา เคยพูดไว้ว่า จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี
กรณีพลเอกสุจินดา และเหตุการณ์พฤษภา 35 จะไม่เกิดขึ้นเลย หากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2534 ไม่เปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกเสียแต่แรก ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการคัดค้านตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2534 มีการชุมนุมใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ที่ว่ากันว่า เป็นการชุมนุมการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งแรกนับแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติขณะนั้นกลับเมินเสียงต่อต้าน และผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องให้มีนายกฯ คนนอกได้จนนำไปสู่ความรุนแรง
จึงกล่าวได้ว่า การประเมินความรู้สึกของประชาชนที่ผิดพลาดของคณะ รสช. และบรรดานักร่างรัฐธรรมนูญ ที่ นายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ เป็นการวางระเบิดเวลาที่รอการปะทุ เพราะไม่เข้าใจว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ไม่อาจยอมรับการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร บทเรียนกรณีพลเอกสุจินดา หากนำมาเทียบเคียงกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน จะบ่งบอกถึงความจำเป็นที่จะต้องโหวตคว่ำรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยไดโนเสาร์เกิดใหม่ฉบับนี้
คสช. และ นายมีชัย กำลังประเมินความรู้สึกของประชาชนต่ำเกินไป ทั้งๆที่ โดยข้อเท็จจริง ความไม่รู้สึกพึงพอใจมีอยู่แพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการต้องอยู่ในระบอบการปกครองที่ประชาชนถูกปิดกั้นการแสดงออก ไม่สามารถเสนอปัญหาและเจรจากับผู้เกี่ยวข้องเหมือนในสังคมประชาธิปไตย ปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังเช่น การออกคั่งตามมาตรา 44 ยกเว้นกฎหมายผังเมืองสำหรับการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า รวมถึงการบริหารเศรษฐกิจที่ไร้ความสามารถ ดังตัวเลขการเจริญเติบโจทางเศรษฐกิจถดถอยและการส่งออกที่ถึงขั้นติดลบ
เมื่อประเมินความรู้สึกของประชาชนต่ำเกินไป นายมีชัย และ คสช. จึงได้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่เปิดช่องให้ คสช. ได้สืบทอดอำนาจ อย่างปราศจากความละอาย เช่น การให้ คสช. มีอำนาจในการแต่งตั้งวุฒิสมาชิก 250 คน การเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. การให้อำนาจล้นฟ้ากับศาลรัฐธรรมนูญ ที่ท้ายที่สุดก็จะทำให้อำนาจของประชาชนที่ใช้ผ่านการเลือกตั้งไร้ความหมาย เพราะคนที่ถูกเลือก ไม่อาจจะตั้งรัฐบาลได้ หรือ จัดตั้งรัฐบาลได้ ก็จะถูกศาลรัฐธรรมนูญหาเรื่องให้พ้นจากตำแหน่งโดยไม่มีเหตุเพียงพอ
ดังนั้นเนื้อหาหลักของร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยก็คือ การบั่นทอนอำนาจของประชาชนที่ใช้ผ่านการเลือกตั้ง และสงวนอำนาจไว้สำหรับคณะรัฐประหาร หรือกล่าวให้ชัดขึ้นก็คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ตอกย้ำ ความรู้สึกของประชาชนที่มีอยู่ทั่วไปว่าด้วย ระบบไพร่ – อำมาตย์ ที่อภิสิทธิชนจำนวนน้อยกุมอำนาจโดยไม่ต้องฟังเสียงประชาชน
สิ่งที่ผู้นำ คสช. อ้างว่า จำเป็นต้องคุมอำนาจต่อ เพราะต้องการวางรากฐานให้ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน เวลาสองปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คสช. นอกจากจะไร้ความชอบธรรมตั้งแต่ต้นที่จะทำตัวเป็นคนมาวางรากฐาน เพราะได้อำนาจมาจากการยึดอำนาจ คสช. ยังไร้น้ำยาที่จะทำให้สังคมที่มีผู้คนที่มีผลประโยชน์แตกต่างหลากหลาย ได้มีพื้นที่ที่จะต่อรองผลประโยชน์ และอยู่ร่วมกัน ดังร่างรัฐธรรมนูญที่ ตอกย้ำอำนาจอันไม่เท่าเทียมกันของประชาชนให้เด่นชัดยิ่งขึ้น แม้แต่ประเด็นพื้นๆ ที่ไม่ว่า คนกลุ่มไหน สีไหน ก็น่าจะเห็นพ้องด้วย คือ การให้หลักประกันการศึกษาฟรีในชั้น ม.ปลายและอาชีวศึกษา ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ กลับถูกตัดออกไป เป็นบั่นทอนโอกาสของเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของสังคม
ดังนั้น สิ่งที่ คสช. และ นักยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังทำอยู่ จึงไม่ใช่อะไร นอกจากการย่ามใจว่า สามารถใช้อำนาจคุมประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยไม่ตระหนักบทเรียนกรณีพลเอกสุจินดาที่กุมอำนาจสามเหล่าทัพและมีพรรคการเมืองอยู่ในการควบคุม แต่สุดท้ายก็ยังถูกขับไล่ลงจากอำนาจ
พลเอกประยุทธ์ และพวก ไม่ตระหนักว่า สถานภาพของพวกเขาจะเปลี่ยนไปในทันที เมื่อใครก็ตามใน คสช.ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง เพราะพวกเขาจะไม่มีอำนาจพิเศษในการควบคุมประชาชน เหมือนเช่นทุกวันนี้ที่ใช้ มาตรา 44 ลิดรอนสิทธิของประชาชน การนำตัวพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร โดยไม่มีเหตุอันควร รวมถึงการคุกคามประชาชน ภายใต้คำพูดว่า นำตัวไปปรับทัศนคติ ทั้งๆ ที่ ผู้นำคสช. ต่างหากที่ควรจะเปลี่ยนทัศนคติของตนเองที่มีต่อประชาชน เลิกคิดเสียว่า มีแต่กลุ่มของตนกลุ่มเดียวที่หวังดีต่อส่วนรวม
คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ คือทางออกจากวงจรอุบาทว์อย่างสันติ
สำหรับประชาชนทั่วไป การตัดสินใจลงประชามติ อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ยาก ด้วยเหตุผลสองประการ คือ หากอยากให้การเลือกตั้งกลับมาเร็วก็ควรผ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กับความหวังว่า แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ดีก็ควรให้ผ่านก่อนแล้วไปแก้ไขภายหลัง
อย่างไรก็ดี เหตุผลสองประการนี้ ยังไม่มีน้ำหนักมากพอชวนให้โหวตผ่านรัฐธรรมนูญ เพราะต่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ การเลือกตั้งที่กลับมาก็จะไร้ความหมาย เพราะถึงที่สุด คณะบุคคลที่ไม่ต้องลงเลือกตั้ง ไม่ต้องเสนอนโยบายแข่งกันให้ประชาชนเลือก จะเป็นผู้ผูกขาดและควบคุมการใช้อำนาจ ผ่าน ส.ว. และองค์กรอิสระ สอง ความหวังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเลือนรางมาก เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเงื่อนไขที่เป็นไปได้ยากมาก โดยกำหนดว่า จะต้องมี ส.ส. 10 เปอรเซนต์ของทุกพรรคการเมืองในสภาร่วมด้วย ดังนั้น หากพรรคใดพรรคหนึ่งไม่เห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้การแก้ไขเกิดขึ้นไม่ได้
ดังนั้น ทางเลือกการโหวตโนจึงดีกว่าปล่อยให้คสช.ย่ามใจ ใช้อำนาจโดยปราศจากการยับยั้ง ตรวจสอบ กระทั่งประชาชนทนไม่ได้ และไม่มีทางแสดงออก จนต้องปะทะกันอีก การโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย จึงเป็นการส่งสัญญาณชัดๆ แรงๆ โดยสันติว่า ประชาชนไม่ต้องการระบอบคณาธิปไตย
หากเสียงโหวตโนมีคะแนนมากพอ ก็จะเป็นการสร้างกระแสกดดันว่า หมดเวลาสำหรับการร่างรัฐธรรมนูญแบบสองปีที่ผ่านมา แต่ต้องเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และเป็นการบอกคสช.ว่า ความนิยมในตัวพวกเขาน้อยลงเต็มทีแล้ว
สำหรับชนชั้นกลางที่เคยสนับสนุน คสช. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลว่า ประเทศสงบดีไม่มีการประท้วงนั้นก็ น่าจะตระหนักได้ว่า ความสงบนั้นเกิดจากประชาชนต้องอดกลั้นภายใต้ ระบอบอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่ได้เป็นความสงบที่เกิดจากปัญหาและความต้องการของประชาชนได้รับการตอบสนอง เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวะอดกลั้นเช่นนี้ จึงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น ไม่ยั่งยืน สิ่งที่สังคมต้องการก็คือ การให้คนในสังคมต่อรองกันได้อย่างสันติ หากชนชั้นกลางเห็นว่า นักการเมืองใช้อำนาจโดยปราศจากการตรวจสอบ ก็ต้องมาสร้างระบบตรวจสอบ แต่ไม่ใช่การสร้างอำนาจใหม่ที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบ แล้วไปลิดรอนสิทธิของประชาชนที่ใช้อำนาจผ่านการเลือกตั้ง เราต้องทำให้อำนาจทั้งสองฝ่ายนั้นสมดุล
ส่วนคนที่เคยคิดว่า คสช. จะมาปราบโกงนั้น ก็น่าจะตระหนักได้แล้วว่า คสช. ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันกับเรื่องนี้ ซ้ำร้าย ผู้นำ คสช. ยังเสียเครดิตจากกรณีอุทยานราชภักดิ์ ที่ผลสอบกันเอง ระบุว่า ไม่มีการทุจริต ทั้งๆ ที่ ข้อกังหาง่ายๆ ที่ไม่อาจลบออกไปได้ก็คือ หากไม่มีการทุจริต พ.อ. คชาชาติ บุตรดี นายทหารผู้ใกล้ชิด พลเอก อุดมเดชและเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการจัดทำเสื้อ ทำไมจึงต้องหลับหนีออกนอกประเทศ ทำไม คสช.จึงไม่จัดการคนใกล้ชิดให้สะอาดปราศจากมลทิน
มากกว่านั้น สำหรับกลุ่มภาคประชาชนที่เคยสนับสนุน คสช. ก็คงน่าจะประจักษ์แล้วว่า เผด็จการไม่เคยเข้าใจคนรากหญ้า ดังเช่น คสช.มีแผนที่จะตืนผืนป่าโดยการขับไล่คนออกจากเขตป่า ซึ่งเป็นข้อพิพาทมาช้านาน และที่ผ่านมาก็ใช้การต่อรองเจรจาประนีประนอม แผนของ คสช.นี้ ไม่ต่างจากโครงการจัดสรรที่ดินทำกินในเขตป่าสงวนให้แก่เกษตรผู้ยากไร้ หรือ คจก. ในยุค รสช. ที่ล้มเหลว ไม่เป็นท่า เพราะทหารไม่เข้าใจเรื่องป่ากับชุมชน คจก. ในปี 2534 เป็นชนวนหนึ่งที่ทำให้องค์กรพัฒนาเอกชนเป็นเอกฉันท์ที่จะต้องร่วมขับไล่รสช. ส่วนชาวชุมนุมแออัด ปัจจุบันก็ถูกขับไล่โดยอ้างคำสั่งคณะปฏิบัติ ปว. 44 พ.ศ. 2502 คำสั่งนี้มีมานานแต่ไม่ได้ถูกใช้ในยามปกติ แต่กลับถูกนำมาปัดฝุ่นใช้ใหม่ก็ในยุคคสช.เรืองอำนาจ ตัวอย่างเหล่านี้ น่าจะเพียงพอว่า สังคมไทยมองไม่เห็นอนาคตร่วมกัน หากยังอยู่ภายใต้ คสช.
ดังนั้น โหวตคว่ำรธน. จึงเป็นก้าวแรกที่ประชาชนควรเดินร่วมกัน.