วันพุธ, เมษายน 27, 2559

คสช. กลัวอะไร?!?





บักดอนนี่สอนยากเนอะ เอามาฝากจาก Pipob Udomittipong อีกทีเถอะ

“รมต.ต่างประเทศบอก ‘ประชามติในโลกนี้ ไม่มีใครเขามาดู เพราะเป็นเรื่องภายใน ไม่ใช่การเลือกตั้ง’ และบอกต่อว่า ‘ยังไม่มีหน่วยงานไหนแสดงความประสงค์ขอเข้าดูการทำประชามติ เพราะเขามีมารยาทพอ รู้ว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเขา’ กรณีที่มีผู้เสนอให้หน่วยงานระหว่างประเทศมาสังเกตการณ์

แต่ขอโทษนะ international election/referendum monitoring ครั้งแรกในโลกเมื่อปี 1857 คือการสังเกตการณ์การลงประชามติ (plebiscite) ในอดีตประเทศโรมาเนีย และทุกวันนี้ หน่วยงานสังเกตการณ์การเลือกตั้งมีเยอะแยะมากมายในโลก

(https://en.wikipedia.org/wiki/Election_monitoring)

หลายประเทศเชิญหน่วยงานเหล่านี้มาสังเกตการณ์ด้วยซ้ำ เพราะเพิ่มเครดิตให้กับรัฐบาล ทำให้การเลือกตั้งหรือการลงประชามติดูชอบธรรมขึ้น

อย่างการเลือกตั้งในพม่าปีกลายที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าเชิญทั้งหน่วยงานในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมทั้งในภูมิภาคมาสังเกตการณ์เลือกตั้ง รายงานบอกมีผู้สังเกตการณ์ตั้งหมื่นกว่าคน เป็นต่างชาติพันกว่าคน (http://bit.ly/1XUE5Xq)

แต่ในการเลือกตั้งสมัยพม่ายังเป็นเผด็จการทหารน่ะหรือ ไม่มีการเชิญ monitors เหล่านี้มาหรอก

มันจึงไม่ใช่เรื่องมารยาท ไม่ใช่เรื่องเขาเสือก มันเป็นเรื่องว่าคุณกลัวอะไรมั้ยต่างหาก กลัวเขาเห็นว่ามันเป็น “farcical referendum” หรือไง ท่านดอน?

(http://www.matichon.co.th/news/118048”)

ปุดโถ ทั่นด่อนไม่รู้จัก monitors มั้ง รู้จักแต่ monitor lizards ดิ อิอิ สงสัยพูดไปเพราะรู้ใจนาย

ประยุทธ์บอก “ไม่เหมาะสม ต่างชาติที่ไหนก็ไม่ให้สังเกตุการณ์ประชามติของตนเอง ใครเป็นเจ้าของประเทศไทยล่ะ ไม่ใช่คนไทยหรา อย่างนี้มันลากต่างชาติเข้ามาก้าวก่าย มาปั่นป่วนให้เกิดการแตกแยกใช่ไหม ผมไม่ยอมเด็ดขาด”

(ถอดจากข่าวภาษาต่างด้าวที่ http://englishnews.thaipbs.or.th/content/161223)

แหมที่เขาพูดกันว่าอยากให้มาสังเกตุการณ์นั่น ‘สหประชาชาติ’ นะครัช ไม่ใช่ ‘ต่างชาติ’ เฉยๆ อย่างที่พวกลิ่วล้อ คสช. ออกมาบ้วนใส่กันสองสามวันนี้

เหตุเพราะพฤติการของพวกรัฐประหารอยากอยู่นานมันตรงข้ามกับวาทกรรมไปหมดเกือบทุกอย่าง แล้วจะเชื่อได้อย่างไรกับประชามติที่จัดมาให้ ‘รับ’ สถานเดียว





สดๆ เลยนะ ไม่ใช่ตัวอย่าง แต่เป็นของแท้ exhibit A พยานเอก เรื่องทหารคุกคามชาวบ้านวันนี้ จากทวี้ตของ KAO VoiceTV21 @KAO_VoiceTV21

“เช้านี้มีรายงานพลเมืองอย่างน้อย ๔ ราย ถูกทหารบุกค้นบ้าน+คุมตัวไป ยังไม่ทราบเหตุผล เชื่อว่าเป็นเรื่องการแสดงออกการเมือง”

ไล่เลี่ยกันต่อจากนั้น Arm Worawit @ArmUpdate แจ้งว่า





“ทหารไล่จับนักกิจกรรม ทนายอานนท์โพสต์ว่า ขณะนี้ได้ไล่จับเข้าค่ายเป็นรายที่ ๕ แล้ว”





ขณะที่ กกต. สมชัย ศรีสุทธิยากร ได้ช่องสร้างผลงานให้เข้าตาทั่นผู้นัมบ์เผื่อจะได้อยู่นานเหมือนเจ้านาย จัดแจงแจ้งความดำเนินคดีผู้ที่โพสต์ข้อความต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายแรกแล้ว อ้างว่าเป็นข้อความ “หยาบคาย รุนแรง และก้าวร้าว” ตาม พรบ. ประชามติ แย้มว่าเป็นเพจในนามองค์กรหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น





แบบนี้ฝรั่งคงต้องอยากสังเกตุการณ์เหมือนกันว่า ‘หยาบคาย’ ยังไง ระวางโทษคุกตั้งสิบปี

แล้วที่ราชทัณฑ์ทำกับนักศึกษาหญิงที่ถูกข้อหาชุมนุมเกิน ๕ คน ขัดคำสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ ฐานร่วมกับเพื่อน ๑๑ คน เดินทางรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เพื่อตรวจสอบการทุจริตก่อสร้างล่ะ อุจาดและละเมิดสิทธิส่วนตัวในร่างกายแค่ไหน เธอเล่าไว้ในเฟชบุ๊คว่า

“ผู้คุมสั่งให้ตรวจภายใน ถูกสั่งให้นั่งลงกับพื้นด้วยเสียงอันดัง พร้อมให้ถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด ก่อนโยนผ้าถุงให้หนึ่งผืน ท่ามกลางผู้คุมนับร้อย รวมทั้งเจ้าหน้าที่รู้ว่าการยื่นขอประกันผ่านแล้ว แต่ไม่มีใครแจ้ง กลับนำตัวเข้าสู่กระบวนการเป็นนักโทษครบทุกอย่าง”





หนักกว่านั้น นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ออกมาแก้ตัวว่า “ทุกเรือนจำต้องปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวทุกแห่ง ต้องให้ผู้ต้องขังเปลี่ยนเสื้อผ้าค้นตัวอย่างละเอียด เพื่อตรวจค้น ผู้ชายต้องล้วงทวารหนัก ผู้หญิงต้องตรวจช่องคลอด”

(http://www.matichon.co.th/news/118294)

ฟังนะ ทั่นปลัดฯ ประการแรกนักศึกษาหญิงผู้นี้ยังไม่ใช่ผู้ต้องขัง และใช่ว่าผู้ต้องหาทุกคนใช้ยาเสพติดกันหมด ระบบการลงโทษที่เป็นอารยะ เขาจะดูเนื้อหาของคดี โดยเฉพาะในคดีอาชญากรรมสิทธิมนุษยชนสากล เขาไม่ได้ล้วงก้นผู้เผด็จการที่ถูกดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศหรอกนะ

พองานเข้าถึงประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายวัส ติงสมิตร บอกว่า “หากผิดจริงนอกเหนือจากการยื่นให้ต้นสังกัดพิจารณาแก้ไขแล้ว ทางกสม.จะให้คำแนะนำคือให้ไปฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อศาลยุติธรรม

ซึ่งแต่ก่อนทางกสม.สามารถดำเนินการเองได้ แต่เนื่องจากอำนาจดังกล่าวอยู่ในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งไม่มีผลบังคับใช้แล้วจะทำได้เพียงการให้คำแนะนำ”

(http://www.matichon.co.th/news/118291)

นี่ไง ประเทศไม่ได้อยู่ในวิถีปกครองที่เป็นคลองธรรม กระทั่งกรรมการสิทธิมนุษยชนยังไม่สามารถทำงานที่เป็นการปกป้องแก้ไขในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้

ถึงแม้อาจารย์ตุ้ม Sudsanguan Suthisorn จะอุตส่าห์ชี้ทางประเสริฐไว้ว่า “บางเรื่องเมื่อผู้มีหน้าที่รู้และเป็นที่สนใจในสังคม คนที่กินภาษี ปชช. มีหน้าที่โดยตรงไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้ถูกกระทำมาร้องขอความช่วยเหลือหรอกค่ะ คุณสามารถไปตรวจสอบ ค้นหาความจริงได้เลยทันที” ก็เถอะ

อย่างนี้ก็ต้องถือเป็น ‘หน้าที่’ ขององค์การระหว่างประเทศ ไม่เพียงแต่ ‘สังเกตการณ์’ เท่านั้นนะ ที่จริงควร ‘ตรวจสอบ’ ให้ชอบธรรมด้วย