++กลุ่ม "พลเมืองผู้ห่วงใย" ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กระบวนการประชามติต้องมีเสรีภาพในการแสดงออกและเป็นไปอย่างโปร่งใส++
.
แถลงการณ์ว่าด้วยการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 โดยตัวแทนจากกลุ่มกลุ่ม "พลเมืองผู้ห่วงใย" ซึ่งนำโดย
.
อาจารย์นฤมล ทับจุมพล
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
อาจารย์โคทม อารียา
อาจารย์สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง
นายไพโรจน์ พลเพชร
และผู้ร่วมลงชื่ออีกกว่า 100 คน
และมีองค์กรที่ร่วมลงนามสนับสนุนอีก 4 องค์กร ได้แก่
.
กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
.
โดยในแถลงการณ์ว่าด้วยการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559 นั้นมีหลักการและข้อเสนอต่อการทำประชามติว่า
.
1) กระบวนการทำประชามติต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส สุจริตและเที่ยงธรรมในทุกขั้นตอน
.
2) ในกระบวนการประชามติต้องเปิดให้มีการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นและไม่เห็นด้วย ในการถกแถลงด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่ายในการแสดงความเห็นตามกรอบของกฎหมาย
.
3) ประชาชนมีสิทธิชอบธรรมในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และถือเป็นสิทธิพื้นฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง ดังนั้น การปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้วยเหตุผลและมาตรการทางความมั่นคง รวมถึงการนำผู้ที่มีความคิดเห็นต่างไปปรับทัศนคติ นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ยังเป็นการลดความชอบธรรมของกระบวนการทำประชามติอีกด้วย
.
4) ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนก่อนการทำประชามติว่าจะมีทางเลือกและกระบวนการอย่างไรต่อไปในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่คนไทยทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันได้มากที่สุด โดยต้องให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายสามารถถกแถลงและเสนอทางเลือกต่างๆ ได้อย่างเสรีและสร้างสรรค์
.
** อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่มีการอ่านแถลงการณ์ดังกล่าว อาจารย์เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ปทุมวัน เข้ามาเชิญตัวไปพูดคุยจากการแจกเอกสารของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ที่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ท้ายที่สุด เจ้าหน้าที่ตำรวจแค่ยึดเอกสาร พร้อมทั้งขอชื่อและเบอร์โทรศัพท์ไปแทน
ที่มา FB
ooo
ที่มา มติชนออนไลน์
25 เม.ย. 59
เครือข่ายอจ.ถกแถลง ชี้ ประเทศไทยไม่ใช่ห้องทดลอง 5 ปี คาด ร่างรธน. – คำถามพ่วง เจอ วิกฤตใหญ่แน่ จี้ คสช. เผยทางออกให้ชัด ก่อนรู้ผล
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 เมษายน ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีกิจกรรมถกแถลงร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “คำถามพ่วงมีนัยอย่างไร” จัดโดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม จุฬาฯ หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาระหว่างประเทศ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี และคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยมี นายโคทม อารียา ผอ.สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา กล่าวว่า การทำประชามติต้องไม่อยู่ภายใต้ความกลัว เราต้องยึดหลักนิติธรรมและกฎหมาย
คำถามพ่วงของ สนช. ผลการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จะมีอยู่ 4 กรณี คือ
1. ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน แต่คำถามพ่วงไม่ผ่าน ก็จะนำไปสู่การประกาศใช้ แต่ส.ว.ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี
2. ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน แต่คำถามพ่วงผ่าน ผลก็คือ จะต้องไม่มีนัยผูกพัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปว่า จะต้องให้ ส.ว. มีส่วนร่วมเลือกนายกฯ
นายโคทม กล่าวต่อว่า
นายโคทม กล่าวต่อว่า
3. ทั้งร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงไม่ผ่าน ตรงนี้ คสช. ควรประกาศให้ชัดก่อนการทำประชามติว่า ประเทศไทยจะเดินหน้าอย่างไร เพราะหากประชาชนบอกไม่เอาแล้ว คสช. จะไปหยิบฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ ก็จะหมายความว่า ไม่ได้ฟังเสียงประชาชน และ
4. ทั้งร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วงผ่านประชามติ ซึ่ง การเสนอชื่อนายกฯจะยังต้องเป็นของ ส.ส. ที่กำหนดให้พรรคการเมืองเสนอได้พรรคละ 3 คน แต่หากเลือกกันไม่ได้ แล้ว ส.ว.ต้องเข้ามามีส่วนร่วมเลือก ก็ต้องดูว่า เสียงการเลือกนายกรัฐมนตรี ของ ส.ส. ส.ว. จะเป็นอย่างไร หาก 2 พรรคใหญ่จับมือกัน เพื่อไปร่วมกับ ส.ว.ก็ต้องให้ได้เสียงมากกว่า 375 ที่นั่ง ก็จะสามารถเลือกนายกฯคนนอกได้ แต่หาก 2 พรรคใหญ่ ไม่จับมือกัน พรรคใหญ่พรรคหนึ่งก็จะไปร่วมกับพรรคเล็กและส.ว. ก็อาจทำให้ได้นายกฯ ที่มาจากพรรคใหญ่ หรือจากพรรคเล็ก ที่ส.ว.ฝ่ายคสช.สนับสนุน หรือนายกฯอาจจะเป็นคนนอก ที่คสช.เก็บไว้ไม่เผยตัวตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งก็ได้