ที่มา Ispace Thailand
BY BOURNE
ON FEBRUARY 9, 2016
หลังจากที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปรอบใหญ่ในประเด็นเรื่องราคาค่าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วปานกลางของรัฐบาล คสช. ล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนรับตรุษจีนหลังจากที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยข้อมูลหลังหารือกับจีนในโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ในประเด็นที่ต้องการลดขนาดโครงการช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จากเดิมที่จะก่อสร้างเป็นรถไฟทางคู่ เหลือเพียงรถไฟทางเดี่ยว
หลังจากที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปรอบใหญ่ในประเด็นเรื่องราคาค่าก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วปานกลางของรัฐบาล คสช. ล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนรับตรุษจีนหลังจากที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยข้อมูลหลังหารือกับจีนในโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ในประเด็นที่ต้องการลดขนาดโครงการช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จากเดิมที่จะก่อสร้างเป็นรถไฟทางคู่ เหลือเพียงรถไฟทางเดี่ยว
แปลความกันง่ายๆว่าโครงการรถไฟที่จะก่อสร้างในเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย จะมีสภาพเป็นทางรถไฟเดี่ยวเหมือนในปัจจุบัน ไม่สามารถสวนทางกันได้แบบรถไฟรางคู่ ซึ่งแน่นอนว่าความเร็วในการเดินทางย่อมช้าลงหลายเท่าตัว เพราะต้องรอให้รถไฟแต่ละขบวนใช้รางที่มีอยู่เพียง 1 รางก่อน จึงไม่มีความแตกต่างกับรถไฟที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดให้บริการในปัจจุบันแต่อย่างใด
นายอาคม กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเป็นข้อเสนอของทางจีน โดยจีนระบุว่าหากไทยคิดว่าโครงการนี้ลงทุนสูง ก็ต้องทำเป็นระยะ คือ ช่วงแก่งคอย-มาบตาพุดก็ชะลอไปก่อน ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย หากจะลดต้นทุนส่วนนี้ ระยะแรกต้องทำเป็นทางเดี่ยวก่อน ทั้งนี้มีการให้ข้อมูลว่าหากมีการปรับโครงการดังกล่าวจะสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตามโครงการรถไฟระหว่างรัฐบาลคสช.และจีนนั้น ส่อแววมีปัญหามาเป็นระยะ โดยเฉพาะเรื่องของวงเงินการลงทุนที่ทางฝ่ายไทยประเมินว่าใช้งบประมาณราว 3.7 แสนล้านบาท แต่จีนกลับประเมินราคาไว้ที่ 5.3 แสนล้านบาท อีกทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ในโครงการที่รัฐบาลไทยต้องกู้จากจีนก็มีความไม่ลงตัว กล่าวคือในตอนแรกจีนกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3% ก่อนจะมีการเจรจาปรับลดลงเป็น 2.5% และล่าสุด 2% นอกจากปัญหาเรื่องวงเงินและอัตราดอกเบี้ยแล้ว ยังมีการเลื่อนกำหนดก่อสร้างโครงการออกไปจากเดิมประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม 2558 เลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม2559
หากพิจารณาที่ตัวงบประมาณแล้วโครงการรถไฟของรัฐบาลคสช. ต้องใช้งบประมาณถึง 5.3 แสนล้านบาท ในขณะที่ในเส้นทางเดียวกันนั้นโครงการรถไฟรางคู่ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใช้งบประมาณเพียง 3.4 แสนล้านบาท ราคาต่างกันถึง 1.9 แสนล้านบาท!!!
ย้อนกลับไปดูรายละเอียดของโครงการ 2 ล้านล้านบาท หรือโครงการสร้างอนาคตไทย 2020 ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ระบุข้อมูลจากเฟสบุ๊คของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยโพสต์ไว้เมื่อ 18 ก.ย. 2556 มีรายละเอียดดังนี้
– รถไฟความเร็วสูง 783,553 ล้านบาท คิดเป็น 39.2%
– รถไฟฟ้า 456,662 ล้านบาท คิดเป็น 22.8%
– ถนนทางหลวง 241,080 ล้านบาท คิดเป็น 12.1%
– ถนนทางหลวงชนบท 34,309 ล้านบาท คิดเป็น 1.7%
– สถานีขนส่งสินค้า 14,093 ล้านบาท คิดเป็น 0.7%
– ท่าเรือ 29,581 ล้านบาท คิดเป็น 1.5%
– ด่านศุลกากร 12,545 ล้านบาท คิดเป็น 0.6%
– ปรับปรุงระบบรถไฟ (เพิ่มเครื่องกั้น ซ่อมบำรุงรางที่เสียหาย) 23,236 ล้านบาท คิดเป็น 1.2%
– รถไฟรางคู่ และทางคู่เส้นทางใหม่ 383,891 ล้านบาท คิดเป็น 19.2%
– ค่าสำรองเผื่อฉุกเฉิน (ความผันผวนราคาวัสดุ การติดตามและประเมินผล) 21,050 ล้านบาท คิดเป็น 1.0%
ย้อนกลับไปดูรายละเอียดของโครงการ 2 ล้านล้านบาท หรือโครงการสร้างอนาคตไทย 2020 ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ระบุข้อมูลจากเฟสบุ๊คของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเคยโพสต์ไว้เมื่อ 18 ก.ย. 2556 มีรายละเอียดดังนี้
– รถไฟความเร็วสูง 783,553 ล้านบาท คิดเป็น 39.2%
– รถไฟฟ้า 456,662 ล้านบาท คิดเป็น 22.8%
– ถนนทางหลวง 241,080 ล้านบาท คิดเป็น 12.1%
– ถนนทางหลวงชนบท 34,309 ล้านบาท คิดเป็น 1.7%
– สถานีขนส่งสินค้า 14,093 ล้านบาท คิดเป็น 0.7%
– ท่าเรือ 29,581 ล้านบาท คิดเป็น 1.5%
– ด่านศุลกากร 12,545 ล้านบาท คิดเป็น 0.6%
– ปรับปรุงระบบรถไฟ (เพิ่มเครื่องกั้น ซ่อมบำรุงรางที่เสียหาย) 23,236 ล้านบาท คิดเป็น 1.2%
– รถไฟรางคู่ และทางคู่เส้นทางใหม่ 383,891 ล้านบาท คิดเป็น 19.2%
– ค่าสำรองเผื่อฉุกเฉิน (ความผันผวนราคาวัสดุ การติดตามและประเมินผล) 21,050 ล้านบาท คิดเป็น 1.0%
จะเห็นได้ว่าโครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในงบประมาณ 2 ล้านล้านบาทประเทศไทยได้ครบหมดทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑล รถไฟรางคู่ ถนนทางหลวง-ทางหลวงชนบท ท่าเรือ สถานีขนส่งสินค้า และด่านศุลกากร หากเปรียบเทียบกันตามสัดส่วนงบประมาณที่ใช้ในโครงการก็ชัดเจนว่าโครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีราคาที่ถูกกว่าโครงการของรัฐบาลคสช.มาก
อีกทั้งในแง่ของการตรวจสอบโครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็สามารถทำได้ผ่านกลไกของรัฐสภา ต่างจากโครงการของคสช. ที่จนถึงวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนแม้แต่รายละเอียดของสัญญาและโครงการ เห็นแบบนี้แล้วบอกได้คำเดียวว่า คิดถึงรถไฟ “ปู” จังเลย!!!
Reference
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454733057
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454901283
http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/news-economic/478538.html
Reference
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454733057
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1454901283
http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/news-economic/478538.html