กากี่นั้ง
โดย แม่ลูกจันทร์ 6 พ.ค. 2558
มีแนวโน้มสูงปรี๊ดว่าจะต้องทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในปลายปีนี้
หรือพูดให้ชัด การทำประชามติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว
หลีกไม่ได้ เลี่ยงไม่ได้...เพราะสังคมไทยทุกภาคทุกส่วนทุกลุ่มทุกฝ่ายทุกขั้วทุกสีต่างมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ “ก่อนประกาศใช้”
“แม่ลูกจันทร์” ยังไม่ได้ยินท่านผู้ใดประกาศคัดค้านการทำประชามติรัฐธรรมนูญซักครั้ง
แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน.คสช.และนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้คัดค้าน
แม้แต่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของรัฐบาลก็ไม่คัดค้าน
แม้แต่ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมายก็ไม่คัดค้าน
แม้แต่ สมาชิก สนช. (ลากตั้ง) สมาชิก สปช. (ลากตั้ง) ก็ไม่มีใครออกมาเปิดหวอคัดค้าน
นอกจากไม่คัดค้านยังประสานเสียงสนับสนุนให้ทำประชามติรัฐธรรมนูญซะด้วยซ้ำ
แม้แต่ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างฯยัง (เผลอ) เห็นด้วยให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ฉะนั้น เมื่อมีกระแสสนับสนุนท่วมท้น โดยปราศจากเสียงคัดค้าน จึงไม่มีอุปสรรคขัดขวางการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนประกาศใช้
อย่างไรก็ตาม “แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่า ยังมีบางคน หรือยังมีหลายคนไม่ต้องการให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่เหตุที่คนกลุ่มนี้ไม่กล้าออกมาคัดค้าน
เนื่องจากยังหาเหตุผลมาหักล้างไม่ได้ว่าเหตุใดจึงไม่ควรทำประชามติรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้??
เพราะการทำประชามติคือการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แถมการทำประชามติยังเป็นใบเสร็จยืนยันว่า “พลเมือง” มีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมืองทุกระดับ (อย่างที่ฉายหนังโฆษณาไว้)
ข้อสำคัญ ในเมื่อท่านเขียนกติกาบังคับว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจากนี้ไปจะ “ต้อง” ทำประชามติถามความเห็นชอบจากประชาชนก่อนทุกครั้ง
ขนาดขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราเดียวยังต้องทำประชามติถามประชาชนว่าเห็นชอบก่อนหรือไม่??
ถ้าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ยอมให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบก่อนประกาศใช้ก็แปลกตายชัก
“แม่ลูกจันทร์” จึงกล้าฟันธงแบบไม่กลัวหน้าแตกว่า จะมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญปลายปีนี้
ขอย้ำชัดๆว่า ต้องทำประชามติก่อนประกาศใช้
ไม่ใช่ประกาศใช้แล้วทำประชามติทีหลัง
ไม่ใช่ลองใช้ไป 5 ปี แล้วค่อยแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง
“แม่ลูกจันทร์” มองแง่ดีกว่าถ้าแก้ไขปรับปรุงสาระสำคัญบางส่วนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้...ไม่ให้แย่เกินไปนัก
ประชาชนจะลงมติเห็นชอบให้รัฐธรรมนูญผ่านออกไปใช้
แต่จะแก้ตรงไหน? แก้อย่างไร? คนที่ตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด...
คือ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายเนติบริกรเท่านั้น
แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าถ้า “ดร.วิษณุ” สั่งให้แก้รัฐธรรมนูญประเด็นใดแล้ว ดร.บวรศักดิ์ ไม่ยอมแก้ตามใจ “ดร.วิษณุ”
เพราะทั้ง 2 คนนี้เค้าซี้ปึ่กยิ่งกว่าใครในโลกนี้
เป็นจอมยุทธ์เบอร์ 1 เบอร์ 2 จากสำนักหยิกเท้าเล่าเตี้ยว (เหยียบหิมะไร้รอย) มาด้วยกันแท้ๆ
ปัญหาตื้นลึกหนาบางกว้างยาวเค้าคุยกันละเอียดยิบ
เพียงแต่แบ่งบทกันเล่นเท่านั้นละโยมเอ๊ยย์.
แม่ลูกจันทร์
มีแนวโน้มสูงปรี๊ดว่าจะต้องทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในปลายปีนี้
หรือพูดให้ชัด การทำประชามติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว
หลีกไม่ได้ เลี่ยงไม่ได้...เพราะสังคมไทยทุกภาคทุกส่วนทุกลุ่มทุกฝ่ายทุกขั้วทุกสีต่างมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ “ก่อนประกาศใช้”
“แม่ลูกจันทร์” ยังไม่ได้ยินท่านผู้ใดประกาศคัดค้านการทำประชามติรัฐธรรมนูญซักครั้ง
แม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน.คสช.และนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้คัดค้าน
แม้แต่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของรัฐบาลก็ไม่คัดค้าน
แม้แต่ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมายก็ไม่คัดค้าน
แม้แต่ สมาชิก สนช. (ลากตั้ง) สมาชิก สปช. (ลากตั้ง) ก็ไม่มีใครออกมาเปิดหวอคัดค้าน
นอกจากไม่คัดค้านยังประสานเสียงสนับสนุนให้ทำประชามติรัฐธรรมนูญซะด้วยซ้ำ
แม้แต่ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างฯยัง (เผลอ) เห็นด้วยให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ฉะนั้น เมื่อมีกระแสสนับสนุนท่วมท้น โดยปราศจากเสียงคัดค้าน จึงไม่มีอุปสรรคขัดขวางการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนประกาศใช้
อย่างไรก็ตาม “แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่า ยังมีบางคน หรือยังมีหลายคนไม่ต้องการให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่เหตุที่คนกลุ่มนี้ไม่กล้าออกมาคัดค้าน
เนื่องจากยังหาเหตุผลมาหักล้างไม่ได้ว่าเหตุใดจึงไม่ควรทำประชามติรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้??
เพราะการทำประชามติคือการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แถมการทำประชามติยังเป็นใบเสร็จยืนยันว่า “พลเมือง” มีส่วนร่วมตัดสินใจทางการเมืองทุกระดับ (อย่างที่ฉายหนังโฆษณาไว้)
ข้อสำคัญ ในเมื่อท่านเขียนกติกาบังคับว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจากนี้ไปจะ “ต้อง” ทำประชามติถามความเห็นชอบจากประชาชนก่อนทุกครั้ง
ขนาดขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราเดียวยังต้องทำประชามติถามประชาชนว่าเห็นชอบก่อนหรือไม่??
ถ้าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ยอมให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบก่อนประกาศใช้ก็แปลกตายชัก
“แม่ลูกจันทร์” จึงกล้าฟันธงแบบไม่กลัวหน้าแตกว่า จะมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญปลายปีนี้
ขอย้ำชัดๆว่า ต้องทำประชามติก่อนประกาศใช้
ไม่ใช่ประกาศใช้แล้วทำประชามติทีหลัง
ไม่ใช่ลองใช้ไป 5 ปี แล้วค่อยแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง
“แม่ลูกจันทร์” มองแง่ดีกว่าถ้าแก้ไขปรับปรุงสาระสำคัญบางส่วนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้...ไม่ให้แย่เกินไปนัก
ประชาชนจะลงมติเห็นชอบให้รัฐธรรมนูญผ่านออกไปใช้
แต่จะแก้ตรงไหน? แก้อย่างไร? คนที่ตอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด...
คือ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายเนติบริกรเท่านั้น
แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าถ้า “ดร.วิษณุ” สั่งให้แก้รัฐธรรมนูญประเด็นใดแล้ว ดร.บวรศักดิ์ ไม่ยอมแก้ตามใจ “ดร.วิษณุ”
เพราะทั้ง 2 คนนี้เค้าซี้ปึ่กยิ่งกว่าใครในโลกนี้
เป็นจอมยุทธ์เบอร์ 1 เบอร์ 2 จากสำนักหยิกเท้าเล่าเตี้ยว (เหยียบหิมะไร้รอย) มาด้วยกันแท้ๆ
ปัญหาตื้นลึกหนาบางกว้างยาวเค้าคุยกันละเอียดยิบ
เพียงแต่แบ่งบทกันเล่นเท่านั้นละโยมเอ๊ยย์.
แม่ลูกจันทร์
ooo
"บวรศักดิ์" ย้ำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องทำประชามติ
ที่มา Thai PBS
กระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการทำประชามติ เนื่องจากเป็นทางออกทางเดียวที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม อีกทั้งยังสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ซึ่งแม้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ไม่ได้บัญญัติเรื่องการทำประชามติไว้ แต่ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องทำประชามติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ส่วนตัวยืนยันว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องทำประชามติ แต่การจะให้มีการออกเสียงประชามติได้ต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยความเห็นชอบร่วมกันของ คสช., ครม.และ สนช. ซึ่งหากทำประชามติคงใช้เวลามากกว่า 1 เดือนเพราะต้องมีกระบวนการ เช่น พิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 42 ล้านฉบับ เพื่อแจกให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้พิจารณาและเปิดเวที ทั้งผ่านสถานีโทรทัศน์วิทยุ ให้ทุกภาคส่วนและทุกฝ่ายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะให้ประชาชนไปหย่อนบัตรออกเสียงประชามติ
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวว่า หากรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของ สปช. ก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแมป แต่หากไม่ผ่านก็ต้องกลับไปเริ่มต้นกันใหม่ ส่วนการทำประชามตินั้นต้องเป็นการตัดสินใจร่วมกันของแม่น้ำ 5 สายและต้องใช้เงินประมาณ 3,000 ล้านบาทเหมือนกับการเลือกตั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 1-3 เดือนในการทำประชามติ แต่หากประชามติผ่านก็เข้าสู่การเลือกตั้ง 2-3 เดือน หรือ 90 วัน
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้าอยากให้ทำประชามติก็ต้องยอมรับสภาพและใช้เงินที่มีอยู่ แทนที่จะนำเงินไปทำอะไรที่สร้างความเข้มแข็ง ไปซื้อวัสดุ หรือลดต้นทุนชาวนา แต่ต้องมาหายไป 3,000 ล้านบาท
ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเห็นควรให้มีการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยที่ คสช.เป็นผู้ริเริ่มว่า ต้องคุยกันและสามารถคุยกันได้ ทั้งนี้ในวันที่ 19 พ.ค.2558 คสช.และคณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง