การแถลงข่าวที่กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย หลังการหารือ 3 ฝ่าย ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ทั้งนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ไม่ได้ร่วมแถลงหลังการหารือ (ที่มา: Twitter/@NotThatBobJames) |
มาเลเซีย-อินโดนีเซียจะให้ผู้อพยพทางเรือพักพิง - รมว.ต่างประเทศไทยไม่ร่วมแถลงข่าว
ที่มา ประชาไท
Wed, 2015-05-20มาเลเซียเชิญอินโดนีเซีย ไทย ถกเรื่องผู้อพยพทางเรือ - ทั้ง 3 ชาติจะปฏิบัติตาม กม.ระหว่างประเทศ-หลักมนุษยธรรม อินโดนีเซีย-มาเลเซียสนับสนุนที่พักพิงชั่วคราวให้ผู้อพยพทางเรือ 7,000 คน ขอนานาชาติร่วมช่วยเหลือ จะจัดโยกย้ายไปประเทศที่ 3 หรือส่งกลับภูมิลำเนาภายใน 1 ปี ส่วน พล.อ.ธนะศักดิ์ ไม่อยู่แถลงตอนจบ โดย รมว.ต่างประเทศมาเลเซียตอบแทนว่าฝ่ายไทยขอไปดูกฎหมายก่อน
20 พ.ค. 2558 - รัฐมนตรีต่างประเทศของมาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย จัดหารือกันวันนี้ที่ "วิสมา ปุตรา" หรือที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซีย ที่ปุตรา จายา ในประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้ายประชากรอย่างไม่เป็นปกติ และเรื่องการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวเบอนามาของทางการมาเลเซียรายงานว่า
โดยผู้เข้าร่วมการหารือประกอบด้วย อะนิฟาห์ อามาน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ซึ่งเชิญ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากไทย และเร็ตโน เลสตารี เปรียนซารี มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
ตามแถลงการณ์ ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย ที่เผยแพร่หลังการหารือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย "จะดำเนินการที่จะคงไว้ซึ่งความรับผิดชอบและปฏิบัติตามพันธะกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างเทศ และกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อกำหนดในเรื่องการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ย้ายถิ่นที่เข้ามาอย่างไม่ปกติ"
"อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เห็นชอบที่จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ย้ายถิ่นที่เข้ามาอย่างไม่ปกติ ที่ยังคงอยู่ในทะเลทั้ง 7,000 คน และเห็นชอบที่จะให้ที่พักพิงชั่วคราว และให้มีกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานและส่งกลับประเทศต้นทาง โดยจะดำเนินการโดยประชาคมนานาชาติภายใน 1 ปี ในขณะเดียวกัน มาเลเซีย และอินโดนีเซียเชิญชวนชาติอื่นๆ ในภูมิภาคให้เข้าร่วมในความพยายามนี้"
"ส่วนหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายของทั้งสามประเทศ จะร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลด้านข่าวกรองเพื่อที่จะต่อต้านลักลอบขนคนและการค้ามนุษย์"
ในแถลงการณ์ยังเรียกร้องต่อประชาคมนานาชาติ ให้ช่วยเหลือมาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย ในสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะการช่วยเหลือด้านงบประมาณเพื่อช่วยให้สามารถจัดหาที่พักพิงชั่วคราวและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับผู้ย้ายถิ่นที่เข้ามาอย่างไม่เป็นปกติซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยง โดยผู้ย้ายถิ่นเหล่านี้จะได้อยู่ในที่พักพิงในพื้นที่ซึ่งถูกกำหนด และได้รับความเห็นชอบจากประเทศที่เกี่ยวข้อง
ขณะเดียวกันยังเรียกร้องต่อประชาคมนานาชาติให้มีบทบาทในการส่งกลับผู้ย้ายถิ่นที่เข้ามาอย่างไม่เป็นปกติ ให้กลับไปยังประเทศต้นทาง หรือ ให้โยกย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศที่สาม ภายในกำหนด 1 ปีนี้
ทั้งนี้หลังการประชุม พล.อ.ธนะศักดิ์ไม่ได้ร่วมในการแถลงข่าวดังกล่าว โดยในรายงานของบางกอกโพสต์ อานิฟาห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวแทนว่า เขาจำเป็นต้องนำไปพิจารณาเสียก่อนว่ามาตรการนี้เป็นไปตามกฎหมายของไทยหรือไม่
รายงานของสำนักข่าวเบอนามา ระบุด้วยว่า มีชาวบังกลาเทศและโรฮิงญา 1,158 คน ซึ่งมีทั้งเด็กและผู้หญิงด้วย ขึ้นฝั่งที่เกาะลังกาวี รัฐเคดาห์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม โดยเป็นการขึ้นฝั่งที่มาเลเซียเป็นจำนวนมากเท่าที่เคยบันทึกมา
ด้านข่าวสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ของไทย ระบุถึงการหารือนี้ด้วยว่า "ไทยเห็นว่าจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยเน้นหลักมนุษยธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างประเทศ ไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง จริงใจ และคำนึงถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์กับทุกฝ่าย โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียในวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 ที่กรุงเทพฯ"
ooo
Anifah (centre) with his Indonesian counterpart Retno (left) , missing Thai counterpart Tanasak |
ความเห็นจากเวป...
อ้าว รมต ตปท ไทยก็ไปด้วนนิน่า ... หรือตอนแถลงข้อตกลงแกเกิดอาหารเป็นพิษต้องขอตัว
http://www.thestar.com.my/.../Anifah-Malaysia-Indonesia.../
เลียนแบบมือที่มองไม่เห็นไง อันนี้ตัวที่มองไม่เห็น
http://www.thestar.com.my/.../Anifah-Malaysia-Indonesia.../
...
Malaysia, Indonesia agree to offer temporary shelter to 7,000 migrants
Anifah (centre) with his Thai counterpart Tanasak (left) and Indonesian counterpart Retno. |
Source: The Star Online
PUTRAJAYA: Malaysia and Indonesia have agreed to offer temporary shelter to the 7,000 migrants still at sea.
Foreign Minister Datuk Seri Anifah Aman said the offer was under the understanding the resettlement and repatriation process would be done in a year.
The resettlement and repatriation are to be carried out by the international community, he said after a meeting on human trafficking on Wednesday.
Earlier foreign ministers from Malaysia, Indonesia and Thailand held talks here Wednesday on the issue of irregular movement of people, in particular human trafficking.
The meeting involving Malaysia's Foreign Minister Datuk Seri Anifah Aman and his Thailand counterpart General Tanasak Patimapragorn, who is also Thai Deputy Prime Minister and Indonesia's Retno Marsudi, convened at Wisma Putra here.
PUTRAJAYA: Malaysia and Indonesia have agreed to offer temporary shelter to the 7,000 migrants still at sea.
Foreign Minister Datuk Seri Anifah Aman said the offer was under the understanding the resettlement and repatriation process would be done in a year.
The resettlement and repatriation are to be carried out by the international community, he said after a meeting on human trafficking on Wednesday.
Earlier foreign ministers from Malaysia, Indonesia and Thailand held talks here Wednesday on the issue of irregular movement of people, in particular human trafficking.
The meeting involving Malaysia's Foreign Minister Datuk Seri Anifah Aman and his Thailand counterpart General Tanasak Patimapragorn, who is also Thai Deputy Prime Minister and Indonesia's Retno Marsudi, convened at Wisma Putra here.