วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 18, 2567

ผู้บริหารประเทศ นักวิชาการทั้งหลาย ช่วยรับฟังข้อมูลปากชาวประมง จากชาวบ้าน จากนักตกปลา จากคนที่คลุกคลีกับปลาเถอะครับ อย่าแก้ปัญหาจากตำราอย่างเดียวเลย


Tup Meesupwatana
19 hours ago
·
ในมุมของนักตกปลาที่คลุกคลีอยู่กับแหล่งที่อยู่ของปลาต่างๆ เราเห็น หมอสีคางดำ กันมานานมากแล้ว โดยเฉพาะมือกะพง เพราะเราตกกันตามวังต่างๆ ใกล้ๆจุดเริ่มต้นของการระบาดของคางดำ แรกๆ คิดว่าคงเหมือนปลานิล ก็ปลาเอเลี่ยนเหมือนกัน แต่ก็ไม่คิดว่าจะหนักขนาด เริ่มรู้สึกว่ามันแย่ๆตอนช่วงสองปีก่อนที่ชะโดตามคลองแถวกรุงเทพ ปริมณฑลกำลังฮิต เริ่มเห็นคางดำ จับตัวกันเป็นแพใหญ่ๆ ในสภาพน้ำกร่อย ความเค็มสูง ชะโดอยู่แต่ไม่สบายตัว ไม่ล่า แต่คางดำที่ Resilience สูง ทนทานมาก ตอนนั้นเริ่มคิดว่า มันแย่แน่ๆ มันอยู่ได้ไง มาแนวเดียวกันปลาซักเกอร์เลย แต่แค่เรามองไม่เห็นซักเกอร์ เพราะมันอยู่ใต้น้ำ ถ้าวิดน้ำในคลองกรุงเทพออกหมด รับรองกรี๊ดดดดดกันหมด พื้นน้ำมีแต่ซักเกอร์ แต่คางดำเราเห็นมันลอยตัวเป็นแพ ซักเกอร์มีเกราะ คางดำมีความทนต่อสภาพแวดล้อมและปรับตัวได้ดีมาก คือด้วยคุณภาพน้ำที่แย่อยู่แล้วของแม่น้ำและคลอง ปลาไทยที่ปรับตัวไม่ได้ก็ไม่ค่อยจะมี ตอนนี้เพิ่มนักล่าใหม่ คางดำ ที่ปรับตัวได้ดี โคตรทน แล้วปลาไทยจะเหลืออะไร
จุดที่สะกิดใจให้เขียน คือภาพ คางดำขึ้นมาซัดกบยาง ที่ทุ่งสามร้อยยอด ที่เป็น Wetland พื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งเติบโตของสัตว์น้ำต่างๆ คือคางดำมันเข้าไปอยู่ในทุก habitat แล้ว แหล่งที่มีสาหร่ายหนาๆ น้ำตื้นๆ กบยางผิวน้ำ คางดำแหวกสาหร่ายขึ้นมากัดได้?? รู้สึกอะไรบ้างไหม? อันนี้คือหนักมาก ทรงปลาไม่น่าจะห้าวขึ้นมากัดผิวน้ำ ยิ่งมีสาหร่ายหนา แสดงว่ามันดุ มันยึดตรงนี้ไว้แล้ว มันล่าตามโอกาสด้วย อะไรก็ได้ ผ่านมาก็สวบบ ปรับพฤติกรรมให้ล่าตามสภาพแวดล้อม นี่น่ากลัวมาก กินแพลงก์ตอน ไข่ปลา แมงน้ำ ยันปลา
ตามสภาพแวดล้อม ปลานักล่าเข้าไปไม่ได้ แหล่งอนุบาลชั้นดีของชีวิตต่างๆ ตอนนี้คางดำเข้าไปยึด จะส่งอะไรไปกำจัดมันละ นักล่าตัวไหนเข้าไปได้ สภาพน้ำผันผวน เค็มบ้าง กร่อยบ้าง จืดบ้าง ตามฤดู นักล่าปรับตัวได้เท่าคางดำเหรอ? กะพงก็ไม่อยู่ ชะโดเข้าไม่ได้ ช่อนก็มีแต่ช่อนน้อยๆ แล้วปลาช่อนกินมูมาม กินแหลก ขนาดนั้น ก็ไม่
จะปล่อยกะพงลงไปสู้
กะพงไซซ์เล็กก็จะเหลือกี่ % ที่รอด ปล่อยกะพงใหญ่ที่โตในบ่อในกระชัง ปล่อยลงแม่น้ำไปก็มึน งงๆ หลงกระแสน้ำ เกาะฝูง โดนอวนลอยรวบบเดียว เรียบบ... หวังว่ามันจะปรับตัวให้ไปกินคางดำอย่างเดียว? แล้วปลาอื่นละ? แล้วพันธุกรรมกะพงเลี้ยงที่จะไปซั่มกับกะพงธรรมชาติอีก...มันเป็นอะไรที่ยากมากและต้องศึกษาไปด้วย
คือที่ยกตัวอย่างมา แค่จะบอกว่าวาทกรรม คนไทยจับกินได้หมด น้ำจิ้ม Seafood มันแค่พูดติดตลกและมันแก้ปัญหาไม่ได้จริง ซักเกอร์เนื้อแน่น ขาว เนื้อเยอะกว่า อร่อยกว่าคางดำเยอะ ยังไม่กลายเป็นที่นิยมเลย คลิปแรกที่ผมทำไป 7-8 ปีที่แล้วกลายเป็นกระแสกินซักเกอร์ หลายรายการ หลายคนทำคลิป เมนูซักเกอร์มากมาย มันก็แค่ Content กระแส เวลาผ่านมาขนาดนี้ ยังไม่เห็นขึ้นร้านอาหารเลย ยังไม่กลายเป็นปลาเพื่อการบริโภคเลย ทั้งที่ในบราซิลแหล่งกำเนิด ซักเกอร์คือปลาเพื่อการบริโภค ขายกันในตลาด คางดำตัวเล็กๆ เนื้อน้อย จะทำไงให้มันกลายเป็น Demand ขนาดนั้น มันฝังลึกในระบบนิเวศแล้ว
สิ่งที่ดีที่สุดต้องเป็นการในความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของสัตว์ต่างถิ่น ว่าผลกระทบมันรุนแรงแค่ไหน ให้ความรู้เกี่ยวกับ Alien Species เพราะทุกวันนี้บางคนยังไม่เข้าใจเลยว่าคืออะไร บางคนยังคิดว่าชะโดคือเอเลี่ยนอยู่เลย
ทำให้ทุกคนรู้สึกเหมือนเจ้าของวังกุ้ง วังกะพง ที่คางดำเข้ามาทำลายผลผลิตของเขาหมด ประชาชนทุกคนควรรู้สึกว่ามันเป็นศัตรู ที่เข้ามาทำลายแหล่งน้ำ แหล่งผลิตอาหารของเรา แล้วเราก็ "ฆ่า" มันซะ พวกเราเห็นแล้วต้องรู้สึก อยากจัดมันสักที และมีหน่วยงานปราบหมอสีคางดำ Blackchin Tilapia Buster เลย คือกำจัด on sight เห็นแล้วจัดการทันที ขนาดเมกา มีปัญหา ปลาจีน ปลาช่อน เป็นเอเลี่ยนในระบบของเขา เขามีงบประมาณ ความรู้ ในการจัดการ ยังจัดการไม่ได้เลย แล้วคางดำของเราจะจัดการยังไง ถ้าเราไม่ช่วยกันทุกภาคส่วน
ปล. ที่ชอบบอกปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ เออ...ปล่อยตามธรรมชาติ แล้วคางดำมันยึดไงแล้วเราก็จะไม่เหลืออะไรนอกจากคางดำ มันมีคนเป็นปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยน คนก็ต้องช่วยแก้ แล้วที่ Ghana มันทำไมอยู่ได้ นั้นมันระบบนิเวศเขา ที่มันมีความสมดุลอยู่ นี่มันระบบนิเวศ Thailand คนละระบบฮ่วยยยย
Pic cr: ธรัล ขออนุญาตแล้ว
.....
วิชาญ กำเนิดเกิด
ผู้บริหารประเทศ นักวิชาการทั้งหลาย ช่วยรับฟังข้อมูลปากชาวประมง จากชาวบ้าน จากนักตกปลา จากคนที่คลุกคลีกับปลาเถอะครับ อย่าแก้ปัญหาจากตำราอย่างเดียวเลย

BIOTHAI
อ่านเถอะครับ !