Poetry of Bitch
a day ago
·
เมื่อจักรพรรดิญี่ปุ่นขอโทษประชาชนที่เป็นต้นเหตุให้ปลาบลูกิลล์แพร่ระบาด
:
1- ย้อนกลับไปในปี 1960 เจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ในวัย 26 พรรษา ได้เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อเมริกา
2- เป็นที่รู้กันว่าเจ้าชายทรงสนพระทัยศึกษาเรื่องสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก และหนึ่งในสถานที่ที่พระองค์แวะเยือนก็คือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเชดด์ เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์
3- นายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก “ริชาร์ด เจ. ดาลีย์” ได้มอบของขวัญให้กับเจ้าชาย นั่นคือปลาบลูกิลล์ (Bluegill) จำนวน 18 ตัว ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นของรัฐอิลลินอยส์
4- เจ้าชายได้พาปลาบลูกิลล์กลับไปญี่ปุ่นด้วย ตอนนั้นสื่อและคนญี่ปุ่นเองก็ตื่นเต้นกับเจ้าปลานี้มาก โดยไม่รู้ว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นความหายนะทางระบบนิเวศของโลกใต้น้ำญี่ปุ่น
5- ปรากฏว่ามีปลาบลูกิลล์ 15 ตัวรอดชีวิตจากการเดินทาง เจ้าชายได้มอบให้กรมประมงนำไปเพาะพันธุ์ และปล่อยลูกปลาบลูกิลล์สู่ระบบนิเวศน้ำจืด พร้อมกับตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า “ปลาเจ้าชาย” (The Prince Fish) เพื่อถวายเกียรติแด่พระองค์
6- แต่ต่อมาโครงการเพาะพันธุ์ปลาบลูกิลล์ก็ยุติลง เพราะพบว่ามันเติบโตช้าเมื่อถูกจำกัดพื้นที่ ตอนนั้นไม่มีใครกังวลกับปลาที่ถูกปล่อยไปแล้วเพราะมีจำนวนไม่มาก อีกทั้งมันไม่ใช่สัตว์กินเนื้อที่ดุร้าย ดังนั้นไม่นานนักคนญี่ปุ่นก็ลืมปลาบลูกิลล์ไป
7- แต่…ปลาบลูกิลล์ขยายพันธุ์อย่างเงียบ ๆ และแพร่ระบาดโดยไม่มีใครสังเกต จนในปี 1999 ปลาบลูกิลล์ได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในแม่น้ำและทะเลสาบทั่วญี่ปุ่น กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสัตว์น้ำพื้นเมือง ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และกระทบการประมง
8- โดยเฉพาะทะเลสาบบิวะซึ่งเป็นทะเลสาบที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น จากที่เคยมีปลาพื้นเมืองอยู่ที่นี่ถึง 30 สายพันธุ์ ในปี 2000 พบว่า 90% ของประชากรปลาในทะเลสาบบิวะคือปลาบลูกิลล์
9- ตอนนั้นคนญี่ปุ่นก็ถกเถียงกันหนักมากว่าต้นตอมาจากปลาที่จักรพรรดิอากิฮิโตะ* นำมาหรือไม่ นำไปสู่การตรวจดีเอ็นเอ และพบว่าปลาบลูกิลล์ทุกตัวที่จับมาตรวจ สามารถติดตามพันธุกรรมไปถึงปลา 15 ตัวที่องค์จักรพรรดินำมาจากชิคาโกทั้งสิ้น
* เจ้าชายอากิฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี 1989
10- ญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาหลายวิธี เช่น เอาถังขยะมาตั้งริมทะเลสาบ ถ้าใครตกได้บลูกิลล์ให้ทิ้งทันที, ออกกฎหมายห้ามนำเข้าและเพาะเลี้ยง, ตั้งค่าหัวล่า, รัฐตั้งราคารับซื้อ, แปรรูปเป็นอาหาร, ทดลองวิจัยดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อทำให้ปลาบลูกิลล์เป็นหมัน ฯลฯ
11- ในปี 2007 จักรพรรดิอากิฮิโตะได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบและขอโทษคนญี่ปุ่นว่า ทรงเสียใจที่ปลาบลูกิลล์ที่พระองค์นำมาจากอเมริกาเมื่อ 50 ปีก่อนได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศของทะเลสาบบิวะ ตอนนั้นพระองค์ตั้งความหวังไว้สูงว่าพวกมันจะกลายเป็นอาหารหลักชนิดใหม่ จึงมอบให้กรมประมงนำไปศึกษา และพระองค์ทรงกังวลอย่างมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น
12- ญี่ปุ่นทุ่มงบมหาศาลในการกำจัดปลาบลูกิลล์ จนในที่สุดจำนวนประชากรของมันก็ลดลงครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าหยุดมาตรการเหล่านี้เมื่อไหร่ปลาบลูกิลล์ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นอีก ดังนั้นมาตรการเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ หยุดไม่ได้
—————
National Geographic
โฉมหน้าปลาบลูกิลล์
เมื่อจักรพรรดิญี่ปุ่นขอโทษประชาชนที่เป็นต้นเหตุให้ปลาบลูกิลล์แพร่ระบาด
:
1- ย้อนกลับไปในปี 1960 เจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ในวัย 26 พรรษา ได้เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อเมริกา
2- เป็นที่รู้กันว่าเจ้าชายทรงสนพระทัยศึกษาเรื่องสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก และหนึ่งในสถานที่ที่พระองค์แวะเยือนก็คือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเชดด์ เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์
3- นายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก “ริชาร์ด เจ. ดาลีย์” ได้มอบของขวัญให้กับเจ้าชาย นั่นคือปลาบลูกิลล์ (Bluegill) จำนวน 18 ตัว ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นของรัฐอิลลินอยส์
4- เจ้าชายได้พาปลาบลูกิลล์กลับไปญี่ปุ่นด้วย ตอนนั้นสื่อและคนญี่ปุ่นเองก็ตื่นเต้นกับเจ้าปลานี้มาก โดยไม่รู้ว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นความหายนะทางระบบนิเวศของโลกใต้น้ำญี่ปุ่น
5- ปรากฏว่ามีปลาบลูกิลล์ 15 ตัวรอดชีวิตจากการเดินทาง เจ้าชายได้มอบให้กรมประมงนำไปเพาะพันธุ์ และปล่อยลูกปลาบลูกิลล์สู่ระบบนิเวศน้ำจืด พร้อมกับตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า “ปลาเจ้าชาย” (The Prince Fish) เพื่อถวายเกียรติแด่พระองค์
6- แต่ต่อมาโครงการเพาะพันธุ์ปลาบลูกิลล์ก็ยุติลง เพราะพบว่ามันเติบโตช้าเมื่อถูกจำกัดพื้นที่ ตอนนั้นไม่มีใครกังวลกับปลาที่ถูกปล่อยไปแล้วเพราะมีจำนวนไม่มาก อีกทั้งมันไม่ใช่สัตว์กินเนื้อที่ดุร้าย ดังนั้นไม่นานนักคนญี่ปุ่นก็ลืมปลาบลูกิลล์ไป
7- แต่…ปลาบลูกิลล์ขยายพันธุ์อย่างเงียบ ๆ และแพร่ระบาดโดยไม่มีใครสังเกต จนในปี 1999 ปลาบลูกิลล์ได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในแม่น้ำและทะเลสาบทั่วญี่ปุ่น กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสัตว์น้ำพื้นเมือง ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และกระทบการประมง
8- โดยเฉพาะทะเลสาบบิวะซึ่งเป็นทะเลสาบที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น จากที่เคยมีปลาพื้นเมืองอยู่ที่นี่ถึง 30 สายพันธุ์ ในปี 2000 พบว่า 90% ของประชากรปลาในทะเลสาบบิวะคือปลาบลูกิลล์
9- ตอนนั้นคนญี่ปุ่นก็ถกเถียงกันหนักมากว่าต้นตอมาจากปลาที่จักรพรรดิอากิฮิโตะ* นำมาหรือไม่ นำไปสู่การตรวจดีเอ็นเอ และพบว่าปลาบลูกิลล์ทุกตัวที่จับมาตรวจ สามารถติดตามพันธุกรรมไปถึงปลา 15 ตัวที่องค์จักรพรรดินำมาจากชิคาโกทั้งสิ้น
* เจ้าชายอากิฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี 1989
10- ญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาหลายวิธี เช่น เอาถังขยะมาตั้งริมทะเลสาบ ถ้าใครตกได้บลูกิลล์ให้ทิ้งทันที, ออกกฎหมายห้ามนำเข้าและเพาะเลี้ยง, ตั้งค่าหัวล่า, รัฐตั้งราคารับซื้อ, แปรรูปเป็นอาหาร, ทดลองวิจัยดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อทำให้ปลาบลูกิลล์เป็นหมัน ฯลฯ
11- ในปี 2007 จักรพรรดิอากิฮิโตะได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบและขอโทษคนญี่ปุ่นว่า ทรงเสียใจที่ปลาบลูกิลล์ที่พระองค์นำมาจากอเมริกาเมื่อ 50 ปีก่อนได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศของทะเลสาบบิวะ ตอนนั้นพระองค์ตั้งความหวังไว้สูงว่าพวกมันจะกลายเป็นอาหารหลักชนิดใหม่ จึงมอบให้กรมประมงนำไปศึกษา และพระองค์ทรงกังวลอย่างมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น
12- ญี่ปุ่นทุ่มงบมหาศาลในการกำจัดปลาบลูกิลล์ จนในที่สุดจำนวนประชากรของมันก็ลดลงครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าหยุดมาตรการเหล่านี้เมื่อไหร่ปลาบลูกิลล์ก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นอีก ดังนั้นมาตรการเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ หยุดไม่ได้
—————
National Geographic
โฉมหน้าปลาบลูกิลล์
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1015287916638352&set=a.707991137368033