Bobby Ralph
16 hours ago
·
เมื่อฝรั่งเศสปั่นหัวคุณ
.
"Le rôle des artistes c'est aussi de déranger" = บทบาทอีกอย่างของศิลปินคือสร้างความปั่นป่วนให้กับความคิดผู้คน
.
Wajdi Mouaward
Art Director of Théâtre français du CNA
------------------------
แล้วคนทั้งโลกก็โดนดีจากงานเปิด Olympic ไปเรียบร้อย ยังไง?
.
ในโลกของศิลปะ งานศิลปะที่ดีผลักดันให้ผู้คนต้องถกเถียงกัน ประชันความคิดกันพากันไปสู่ปัญญาใหม่ๆที่เกิดเองจากภายในเองไม่ได้ art gallery ถึงเป็นพื้นที่ให้คนได้มาถกเถียงกัน
.
งานศิลปะระดับธรรมดานั้น คนดูจบก็จากไปโดยไม่พูดถึงด้วยซ้ำ แล้วมันมาเกี่ยวกับงานเปิดโอลิมปิคยังไง?
.
การจัดงาน Olmpic ของแต่ละประเทศทุกครั้งจะมีภาพสวย สง่างาม ยิ่งใหญ่ จบ.. แล้วจำไม่ได้ละมันมีอะไรตรงไหนบ้าง
.
แต่คนฝรั่งเศสไม่ได้อยากให้จบแบบน่าเบื่อแบบนั้นงานนี้ Thomas Jolly จึงวางแผนแทรก L'art de provocation ( ศิลปะแห่งความปั่นป่วน ) เข้าไปในช่วงจัดงานต่างๆ
.
การเล่นกับความล่อแหลมนี้ ( L' art d' ambiguïté ) ทำให้หลายคนในสังคมหน้ากากหลุด เผยตัวตนที่แท้จริงออกมาด้วยการออกมาวิจารณ์ต่างๆนาๆโดยไม่รู้ตัว เช่น
1) ฉาก Marie Antoinette ถ้าคนที่ไม่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์หรือไม่เคยไปปารีสจะไม่รู้ว่าตึกที่เป็นฉากคือ La Conciergerie ด้านหลัง Palais de Justice เป็นที่กักขังพระนางก่อนถูกนำไปประหาร
.
สิ่งที่ศิลปินวางยา : ตึกนี้นะคือจุดเริ่มต้นของคำว่า เสรีภาพ ของเรา
คนชม : นี่ทำไมเอาภาพรุนแรงมาให้เด็กดู ฝรั่งเศสล้มเจ้า เกลียด M.A. เพราะนางเป็นผู้หญิงออสเตรียใช่มั้ย บลาๆ นักประวัติศาสตร์ตามเนตรู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง แสดงตัวออกมาเพียบ โดยไม่รู้ตัวว่าตัวเองถูกออกแบบให้กลายเป็นตัวแสดงตัวต่อไปหลังจากโชร์
สิ่งที่ได้เห็น : ความหวาดกลัว ความไม่สบายใจ อัดอั้นตันใจแต่ไม่กล้าตั้งคำถามว่าทำไมถึงรู้สึกแบบนั้น แล้วแสดงออกด้วยการต่อต้าน สร้างประเด็นใหม่ขึ้นมา เช่น กิโยตินถูกพูดถึงอย่างมาก ทั้งที่ไม่ได้อยู่ในฉากเลย
2) ภาพที่คนเชื่อว่าเป็น The last supper แล้วเอากลุ่ม LGBT มาเป็นตัวแสดง มีเดินแฟชั่นโชร์
สิ่งที่ศิลปินวางยา : ความเท่าเทียม เฮฮา ปาร์ตี้ แฟชั่น บรรยากาศคล้ายภาพวาดบางชิ้น
ปฏิกริยาคนชม : นี่มันเอาศาสนามาเล่น รับไม่ได้ ดูถูกเหยียดหยาม แถมตัวแสดงคือกลุ่มคนที่ชอบดูแคลนศาสนาเรา บลาๆๆ
ความจริง : ภาพที่ศิลปินเอามาวางคือภาพ Le Festin des Dieux วาดโดย Jean Harmensz van Biljert ปี 1635 ซึ่งประดับอยู่ที่ Musée de Dijon เป็นภาพงานรื่นเริงสังสรรค์ของเหล่าเทวดาในวันฉลองความอุดมสมบูรณ์
ส่วนคนที่นั่งโต๊ะตรงกลางไม่ใช่พระเยซู คือ Apollon ที่สวมมงกุฏ และเทพที่นอนตรงกลางคือ Bacchus Dionysos จ้า
สิ่งที่ได้เห็น : คนจำนวนมากระดับศาสตรจารย์ทั้งของไทยและเทศแสดงออกถึงการมีความรู้ทางศิลปะต่ำมากและออกมาวิจารณ์อย่างไม่มีความรู้ที่แท้จริง ข่าวบริษัทอเมริกันที่มีแต่เงินแต่ไม่มีความรู้ขอถอนสปอนเซอร์ ทุกคนรีบแสดงตัวเป็นคนดี ( แต่เอ๊ะ บริษัทนี้โดนจับโบ๊ะว่าไม่ได้เป็นสปอนเซอร์จ้าาา 555 )
FYI ( จากน้องโอม) - ไดโอนีซุสเป็นหนึ่งในคณะเทพโอลิมปัส (เชื่อมโยงกับโอลิมปิก) เป็นเทพแห่งความปิติปาร์ตี้ สายดื่ม สายดริ้งก์ สายเดินสเปซ เทพแห่งไวน์ผู้ครององุ่น เทพแห่งพิธีกรรม และความเจริญหรือจุดเริ่มต้นของศาสตร์การละคร (Theatre) ก็เริ่มมาจากพิธีบูชาเทพเจ้าไดโอนีซุส จึงค่อนข้างเมคเซนส์ที่จะทำภาพนี้ในพิธีเปิดที่ใช้ปารีสทั้งเมืองเป็นฉากละคร
เรียกว่างานนี้ Thomas Jolly ทำสำเร็จตามเป้า โดยการพาคนทั้งโลกมาเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะนางด้วย 555
หวังว่าเหล่าคนฉลาดเหล่านั้นจะรู้ตัวนะ
https://www.facebook.com/bobby.ralphe/posts/pfbid0gL2xVMohkZikehZztbyoJtieK5N23hGg3p4nkAUGo3N7eS4zQG5HQBZLDXXC478dl