วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 25, 2567

มารู้จัก คำการเมือง Kingmaker ในการเมืองไทย “ตัวเปลี่ยนเกมส์” ไม่ใหญ่-ไม่เล็ก แต่มีภารกิจในการเข้าร่วมรัฐบาล กำหนดเกมส์ได้ชัวร์


Atukkit Sawangsuk
12 hours ago
·
ภูมิใจดูด
"...Kingmaker จึงไม่ได้มีบทบาทในการเป็นตัวเล่นหลักที่ชนปะทะโดยตรงระหว่างขั้วอำนาจ แต่เล่นบทชนะทุกเกมส์แม้เปลี่ยนขั้ว
.
ในกรณีการเมืองไทย เราอาจจะคิดถึงพรรคการเมืองขนาดกลางที่มีภารกิจในการเข้าร่วมรัฐบาลเป็นหลัก คำที่คุ้นเคยกัน เช่น “พรรคเสียบ” “พรรคปลาไหล” ฯลฯ เหล่านี้เป็นชื่อเล่นที่สื่อมวลชนตั้งฉายาให้พรรคการเมืองเหล่านี้
ทั้งนี้ พรรคการเมืองที่ต้องการจะเล่นบท Kingmaker อาจไม่จำเป็นต้องมีขนาดเล็กเสมอไป ...แต่อาจเป็นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองขนาดใหญ่ก็ได้ แต่จะไม่ยอมใหญ่พอจนเป็นตำบลกระสุนตก เมื่อต้องเข้าไปเล่นในเกมส์ที่เดิมพันเอาผู้ชนะเป็นหนึ่งเดียว (Zero-sum game)
เหตุผลเพราะเป้าหมายของกลุ่มการเมืองลักษณะเช่นนี้คืออำนาจ มากกว่าจะทำวาระที่ท้าทายกว่านั้น ฉะนั้น สถานการณ์ที่น่าพึงใจมากที่สุดของ Kingmaker คือ Win-Win Situation หรือ สถานการณ์ที่ทุกฝ่ายผสานประโยชน์ได้ลงตัว"
...We Watch
a day ago
·
รู้จัก Kingmaker ไม่ใหญ่-ไม่เล็ก แต่กำหนดเกมส์ได้ชัวร์
.
“Kingmaker” หรือ “ตัวเปลี่ยนเกมส์” (ในทางการเมือง) เป็นศัพท์แสงที่ปรากฏขึ้นมาพร้อม ๆ กับวิวัฒนาการของระบบการเมืองอังกฤษ เมื่อศตวรรษที่ 15
เดิมทีคำนี้ใช้อธิบายบทบาทของ ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอร์วิก ที่ 16 (Warwick the Kingmaker) ในช่วงสงครามดอกกุหลาบ (1445-1487) ซึ่งเขามีบทบาทในการปลดพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 และหันไปสนับสนุนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 4 ให้ขึ้นมามีอำนาจแทน
จนเมื่อริชาร์ด เนวิลล์ หันมาโค่นอำนาจคนที่เขาผลักดันมากับมือ เขาก็มาเสียชีวิตหลังการยึดอำนาจคืนอีกครั้งของเอ็ดเวิร์ด ที่ 4
บางครั้งคำนี้ยังถูกอ้างถึงคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในการบริหารกิจการของรัฐในยุคกลาง
.
“Kingmaker” เป็นตำแหน่งที่ไม่เป็นทางการ ในรัฐสภาไม่มีตำแหน่งนี้ แต่คำนี้มีขอบข่ายความหมายถึงคนหรือกลุ่มคนที่มีความสำคัญในสถานการณ์ที่มีการแย่งชิงอำนาจ ทั้งในแวดวงการเมือง การกีฬา การเมืองระหว่างประเทศ องค์กรสาธารณะ ฯลฯ ซึ่ง Kingmaker มีเป้าหมายจะกำหนดทิศทางขององค์กรหรือสถาบันอย่างเงียบ ๆ
ในการเลือกตั้ง ผู้สมัครอิสระที่มีจำนวนน้อยจะมีอิทธิพลอย่างมากในจังหวะที่ต้องตัดสินผลลัพธ์ทางการเมือง ปัจจุบันนิยามความหมายของคำนี้ยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มล็อบบี้ที่ทรงพลังและมีบทบาทกำหนดวาระทางสังคมและการเมือง
.
ในหลายประเทศพบว่า พรรคการเมืองขนาดกลาง ซึ่งไม่ได้สังกัดขั้วขัดแย้งใดอย่างชัดเจนมักจะเล่นบทบาทนี้ เช่น ในการเลือกตั้งอินเดีย เมื่อเดือนที่ผ่านมา Chandrababu Naidu และ Nitish Kumar ก้าวขึ้นมาเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์ (kingmakers) ดึงเอาผลประโยชน์ทางนโยบายจากพรรค BJP ซึ่งชนะการเลือกตั้งแบบฉิวเฉียด ทำให้ความสำคัญของทั้งสองโดดเด่นขึ้นมา
โดยเฉพาะรายหลัง (Kumar) ขึ้นชื่อเรื่องการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ซึ่งโมดีสามารถดึงดูดคนเหล่านี้ให้มาเสริมกำลังรัฐบาลได้ พร้อมกับลดกำลังของฝ่ายค้านไปในตัว
.
ในบางกรณีผู้นำพรรคการเมืองใหญ่อาจจะเลือกเล่นบทบาทนี้ก็ได้ ดังที่เกิดขึ้นในปี 2004 เมื่อโซเนีย คานธี (Sonia Gandhi) ถูกคาดหวังอย่างมากว่าจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอินเดียในปี 2004 แต่หลังจากที่พรรคการเมืองของเธอชนะการเลือกตั้ง เธอกลับเลือกที่จะไม่ทำตามความคาดหวังของสมาชิกพรรค
ทำให้ความหมายของ Kingmaker ตีกรอบชัดไปถึงคนที่สามารถใช้อำนาจอิทธิพลในระดับหนึ่ง และเลือกอยู่ในจุดที่จะช่วยให้บุคคลที่แสวงหาอำนาจนั้น ๆ ขึ้นไปมีอำนาจได้
เช่นเดียวกันกับ การเลือกตั้งรัฐสภาของฝรั่งเศส ในปี 2022 พรรคพันธมิตรฝ่ายขวา (Les Républicains: LR) ได้รับการเลือกตั้งมา 70 ที่นั่ง แม้ว่าจะไม่มากพอเป็นเสียงข้างมากแต่ก็พยายามจะอยู่ในตำแหน่ง Kingmaker
หรือเหตุการณ์ที่อาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักในอังกฤษ หากพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ได้รับเสียงเลือกตั้งมากเป็นอันดับสามพร้อม ๆ กับการที่สองพรรคใหญ่ของสหราชอาณาจักรอย่างพรรคแรงงาน (Labour Party) และพรรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) ไม่สามารถชนะเลือกตั้งจนได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด พรรคเสรีประชาธิปไตยก็สามารถเล่นบทบาท Kingmaker ด้วยการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม (coalition government)
ในแง่นี้ Kingmaker จึงไม่ได้มีบทบาทในการเป็นตัวเล่นหลักที่ชนปะทะโดยตรงระหว่างขั้วอำนาจ แต่เล่นบทชนะทุกเกมส์แม้เปลี่ยนขั้ว
.
ในกรณีการเมืองไทย เราอาจจะคิดถึงพรรคการเมืองขนาดกลางที่มีภารกิจในการเข้าร่วมรัฐบาลเป็นหลัก คำที่คุ้นเคยกัน เช่น “พรรคเสียบ” “พรรคปลาไหล” ฯลฯ เหล่านี้เป็นชื่อเล่นที่สื่อมวลชนตั้งฉายาให้พรรคการเมืองเหล่านี้
ทั้งนี้ พรรคการเมืองที่ต้องการจะเล่นบท Kingmaker อาจไม่จำเป็นต้องมีขนาดเล็กเสมอไป ดังเช่นที่ โซเนีย คานธี เคยใช้ แต่อาจเป็นพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองขนาดใหญ่ก็ได้ แต่จะไม่ยอมใหญ่พอจนเป็นตำบลกระสุนตก เมื่อต้องเข้าไปเล่นในเกมส์ที่เดิมพันเอาผู้ชนะเป็นหนึ่งเดียว (Zero-sum game)
เหตุผลเพราะเป้าหมายของกลุ่มการเมืองลักษณะเช่นนี้คืออำนาจ มากกว่าจะทำวาระที่ท้าทายกว่านั้น ฉะนั้น สถานการณ์ที่น่าพึงใจมากที่สุดของ Kingmaker คือ Win-Win Situation หรือ สถานการณ์ที่ทุกฝ่ายผสานประโยชน์ได้ลงตัว
.
ในแอฟริกาตะวันตก ข้าราชบริพารกษัตริย์ตามหัวเมืองย่อย มักใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงสมาชิกคณะผู้เลือกตั้งที่สวามิภักดิ์ต่อตนเพราะคนเหล่านี้จะคอยทำพิธีบรมราชาภิเษกและพิธีกรรมชำระล้างบาปให้กษัตริย์ตามหัวเมือง
อันมีความหมายตรงตามตัวอักษรอย่าง “Maker of the King”
.
อ้างอิง
http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/magazine/8568319.stm
https://www.economist.com/.../a-shock-election-result-in...
https://www.euractiv.com/.../les-republicains-faiseurs.../
#WeWatch #kingmaker #สว67

https://www.facebook.com/photo/?fbid=875296734632535&set=a.621001693395375