วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 18, 2567
ในวันที่ 18 ก.ค. 2567 เวลา 11.30 น. เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนและตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จะเดินทางไปยังรัฐสภา (เกียกกาย) เพื่อเข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม โดยมีจุดประสงค์ในการเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการฯ มีมติ “นิรโทษกรรมทุกคดีรวมมาตรา 112”
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
13 hours ago
·
เชิญชวนสื่อมวลชนและประชาชน
ร่วมติดตามการยื่นหนังสือถึง กมธ.นิรโทษฯ
ของเครือข่ายนิรโทษกรรม ปชช. และตัวแทนผู้ถูกดำเนินคดี ม.112
.
ในวันที่ 18 ก.ค. 2567 เวลา 11.30 น. เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนและตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เช่น “ตะวัน” ทานตะวัน, “มายด์” ภัสราวลี, “ใบปอ” ณัฐนิช จะเดินทางไปยังรัฐสภา (เกียกกาย) เพื่อเข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม โดยมีจุดประสงค์ในการเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการฯ มีมติ “นิรโทษกรรมทุกคดีรวมมาตรา 112”
.
ในวันเดียวกัน เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ที่รัฐสภาจะมีการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้อีกครั้งเป็นครั้งที่ 18 ซึ่งจะมีการพิจารณาและลงมติในประเด็น คดีและฐานความผิดที่จะนิรโทษกรรม โดยเฉพาะในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 และ 112 ซึ่งในการประชุมครั้งที่ผ่านมาที่ประชุมได้เสนอและมีความเห็นแตกต่างเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ 1) ไม่นิรโทษกรรมทั้งสองมาตรา 2) นิรโทษกรรมทั้งสองมาตราแต่มีเงื่อนไขพิเศษ 3) นิรโทษกรรมทั้งสองมาตราโดยไม่มีเงื่อนไข
.
การเข้ายื่นหนังสือครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากที่ประชุมครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 17) ในวันที่ 11 ก.ค. 2567 ไม่มีมติเป็นที่ชัดเจนว่าจะนิรโทษกรรมคดี มาตรา 110 และ 112 ด้วยหรือไม่ โดย นิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ให้สัมภาษณ์ว่า ที่ประชุมมีการตกลงกันว่า จะไม่ลงมติในประเด็นนี้ แต่จะเป็นการเก็บความเห็นของ กมธ. แต่ละคนไว้ในรายงานเพื่อที่จะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
.
การเข้ายื่นหนังสือของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนและตัวแทนประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ต่อกรรมาธิการฯ จึงเป็นการย้ำถึงจุดยืนและข้อเรียกร้องของภาคประชาชนที่ต้องการให้การนิรโทษกรรมที่จะมีขึ้นในครั้งนี้นั้นครอบคลุมถึงคดีมาตรา 112 ด้วย และเรียกร้องให้กรรมาธิการฯ มีมติที่ชัดเจนเสนอต่อสภาฯ
.
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ นิรโทษกรรมมีกรอบระยะเวลาทำงานจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมติของคณะกรรมาธิการสุดท้ายจะถูกสรุปเป็นรายงานการศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เสนอต่อสมาชิกผู้แทนราษฎร (สส.) และวุฒิสภา (สว.) เพื่อประกอบการพิจารณา อภิปราย และยกมือโหวต เมื่อร่างนิรโทษกรรมทั้งหมดถูกบรรจุเป็นวาระเข้าสู่สภาฯ ซึ่งปัจจุบันมีร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่ถูกเสนอเข้าสู่สภาฯ ทั้งหมด 4 ฉบับ ด้วยกัน ได้แก่
1. ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม
2. ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่บุคคลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ของพรรคก้าวไกล
3. ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสันติสุข ของพรรครวมไทยสร้างชาติ
4. ร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมสันติสุข ของพรรคครูไทยเพื่อประชาชน
ทั้ง 4 ฉบับ ข้างต้นได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความเห็นที่มีต่อร่างฯ บนเว็บไซต์รัฐสภาฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เป็นไปได้ว่าเมื่อคณะกรรมาธิการชุดนี้มีมติและรายงานผลการศึกษาแล้ว อาจมีการพัฒนาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ร่างที่ 5 จากผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการชุดนี้ก็เป็นได้
.
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีผู้ต้องขังคดี ม.112 จำนวนอย่างน้อย 25 คน ถือเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของจำนวนผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งหมด เช่น อานนท์, “เก็ท” โสภณ, “น้ำ” วารุณี และ “ขนุน” สิรภพ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ถูกดำเนินคดี ม.112 อย่างน้อย 272 คน ใน 303 คดี โดยเป็นคดีที่อยู่ชั้นศาลมากถึง 172 คดี
.
อ่านบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/68657