[Live] คุยกับทนายอาสาและนักวิชาการอิสระ ว่าด้วย 'ฝืนตื่นประท้วง' ของ เก็ท โสภณ และเพื่อนในคุก
prachatai
Streamed live 14 hours ago
[Live] คุยกับทนายอาสาและนักวิชาการอิสระ ว่าด้วย 'ฝืนตื่นประท้วง' ของ เก็ท โสภณ และเพื่อนในคุก
13.00 น วันที่ 11 ก.พ.นี้ ประชาไท ชวนสนทนากับ แพรวพรรณ พิลาทอง ทนายความอาสาของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ผู้เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่กำลังฝืนตื่นประท้วงด้วยการไม่นอนในเรือนจำ และ เสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์ นักวิจัยและนักวิชาการอิสระ ที่เพิ่งมีบทความเผยแพร่ทางศูนย์ทนายฯ เกี่ยวกับการประท้วงด้วยการอดน้ำและอาหาร
นอกจาก ‘แบม’ อรวรรณ ภู่พงษ์ ‘ตะวัน’ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ สิทธิโชค เศรษฐเศวต ที่ดำเนินการอดน้ำและอาหารประท้วง เพื่อเรียกร้องปล่อยผู้ต้องหาทางการเมือง พร้อมทั้ง 1. ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพการแสดงออกเป็นอย่างแรก 2. ยุติการดำเนินความกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมือง รวมทั้ง 3. พรรคการเมืองทุกๆ พรรค ต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการยกเลิก ม.112 และ ม.116 นั้น
ยังมี เก็ท โสภณ ผู้ต้องหาคดี ม.112 ที่ถูกถอนประกัน และถูกขังมาตั้งแต่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับ ต้อม จตุพล และแบงค์ ณัฐพล ที่กำลังดำเนินการประท้วงด้วยการไม่นอนหลับ หรือ 'ฝืนตื่นประท้วง' ตั้งแต่เช้ามืดของวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ตะวัน แบม และสิทธิโชค รวมทั้ง ให้ศาลสร้างหลักประกันว่าจะไม่มีผู้ต้องขังในคดีการเมืองคนใดถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมอีกในอนาคต ศาลต้องมีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ต้องไม่วางตัวเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชนหรือผู้ถูกดำเนินคดีเสียเอง โดยเฉพาะในการพิจารณาคดี ม. 112, การดำเนินคดีกับประชาชนในฐานความผิดละเมิดอำนาจศาลหรือดูหมิ่นศาล และยุติการดำเนินคดีการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ในโอกาสนี้จึงชวนทนายความอาสาและนักวิชาการอิสระมาสนทนาถึงสถานการณ์การประท้วงดังกล่าว สภาพร่างกายและกำลังใจของผู้ประท้วง ทำความเข้าใจการฝืนตื่นประท้วงในฐานะเครื่องมือสันติวิธี ประเมินภาพการลุกลามของการจัดตั้งและประท้วงในเรือนจำที่บานปลายอยู่ในขณะนี้ ไปจนถึงความสำคัญของสิทธิการประกันตัวและการดำเนินคดีเหล่านี้