#ยกเลิก112 #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
112 กับ สถาบันกษัตริย์ : 1 ทศวรรษเพื่อการทบทวน
Prachatai
Streamed live 16 hours ago
112 กับ สถาบันกษัตริย์ : 1 ทศวรรษเพื่อการทบทวน
Prachatai
Streamed live 16 hours ago
เสวนา “112 กับ สถาบันกษัตริย์ : 1 ทศวรรษเพื่อการทบทวน" โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องพูนศุข วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
.
13.00 น. พิธีกรนำเข้าสู่รายการ
13.10 น. กล่าวเปิดงานโดย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
13.20 น. เกริ่นนำโดย ไอดา อรุณวงศ์ ประธานมูลนิธิสิทธิอิสรา
13.30 น. การบรรยายโดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
15.00 น. พักเบรก, ผู้ฟังส่งคำถาม
15.15 น. ช่วงตอบคำถาม ดำเนินรายการโดยมุทิตา เชื้อชั่ง กรรมการมูลนิธิสิทธิอิสรา
16.00 น. ปิดงาน
.
.....
Thanapol Eawsakul
14h
ฟังอาจารย์วรเจตน์พูดถึงบทบาทพรรคการเมืองต่อกรณี 112
ทั้งที่อาจารย์ วรเจตน์เห็นว่าพรรคการเมืองสำคัญที่สุดในการแก้ 112 เพราะเป็นแนวหน้าในการแก้ในสภา
( กฎหมายต้องแก้ในสภาและนักการเมืองเท่านั้นที่อยู่ในสภา)
แต่พอมาถึงข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมือง ผมคิดว่า อาจารย์วรเจตน์เรียกร้อง ต่อพรรคการเมืองน้อยไป
อาจารย์ดูเหมือนพยายามจะเข้าใจพรรคการเมืองที่ไม่มีนโยบาย/ จุดยืน ต่อ การแก้ 112 ในการเลือกตั้ง
แถมบอกไปว่าถ้าไม่กล้ามีนโยบายหรือจุดยืนให้มาบริจาคกับมูลนิธิสิทธิอิศรา ก็ได้
ข้อเสนอของอาจารย์วรเจตน์ดูจะไม่เข้าใจการเมืองเลย
การที่มีพรรคการเมืองที่พยายามถอยห่างจากการแก้ 1 12 คือเขาจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวอะไรทั้งสิ้น
.....Thanapol Eawsakul
14h
ฟังอาจารย์วรเจตน์พูดถึงบทบาทพรรคการเมืองต่อกรณี 112
ทั้งที่อาจารย์ วรเจตน์เห็นว่าพรรคการเมืองสำคัญที่สุดในการแก้ 112 เพราะเป็นแนวหน้าในการแก้ในสภา
( กฎหมายต้องแก้ในสภาและนักการเมืองเท่านั้นที่อยู่ในสภา)
แต่พอมาถึงข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมือง ผมคิดว่า อาจารย์วรเจตน์เรียกร้อง ต่อพรรคการเมืองน้อยไป
อาจารย์ดูเหมือนพยายามจะเข้าใจพรรคการเมืองที่ไม่มีนโยบาย/ จุดยืน ต่อ การแก้ 112 ในการเลือกตั้ง
แถมบอกไปว่าถ้าไม่กล้ามีนโยบายหรือจุดยืนให้มาบริจาคกับมูลนิธิสิทธิอิศรา ก็ได้
ข้อเสนอของอาจารย์วรเจตน์ดูจะไม่เข้าใจการเมืองเลย
การที่มีพรรคการเมืองที่พยายามถอยห่างจากการแก้ 1 12 คือเขาจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวอะไรทั้งสิ้น
Atukkit Sawangsuk
14h
อ.วรเจตน์ดักคอว่า
พรรคการเมืองที่ประกาศว่าจะไม่แก้ 112 นั้น
เข้าใจผิด คิดผิด คุณต้องแก้
อย่างน้อยก็ต้องแก้ให้เอาผิดได้มากขึ้น หนักขึ้น รุนแรงขึ้น
เช่น แก้ 112 ให้เอาผิดหมิ่นรัชกาลที่ 4
(ที่มีคำพิพากษาฎีกาไปแล้ว)
:
เพราะเมื่ออำนาจทางวัฒนธรรมลดลง
ก็ต้องใช้กฎหมายปราบปรามรุนแรงขึ้น
(ยิ่งเสื่อมยิ่งต้องปราบ)
..
Atukkit Sawangsuk
14h
ศาลไทยกำลังจะเป็นเหมือนพวกพระยุคกลาง
ผูกขาดการตีความคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งเขียนเป็นภาษาลาติน
พระเยซูดำรงตนอย่างสมถะ
แต่พวกพระยุคกลางอยู่อย่างหรูหราจากภาษีประชาชน
:
เก็บความจาก อ.วรเจตน์
Atukkit Sawangsuk
6h
ช่วงหนึ่งในการบรรยาย อ.วรเจตน์พูดถึงความเที่ยงตรงต่อวิชาชีพของผู้พิพากษา-อัยการ
โดยยกคดี 112 ที่กล่าวหาว่าหมิ่นพระเทพ-องค์โสม ซึ่งสู้กันถึงฎีกา
ถามว่า อัยการฟ้องได้ไง เพราะ 112 ใช้เฉพาะกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จฯ
ถ้าเอามาออกข้อสอบนักศึกษานิติปี 2 ว่าฟ้องได้ไหม
นิสิตลูบปาก ข้อสอบหมูๆ จะมีแต่คนตอบว่าฟ้องไม่ได้
แต่อัยการก็ฟ้อง ไม่กลัวว่าจะผิด ป.อาญามาตรา 200 (กลั่นแกล้งให้ต้องรับโทษ คุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 1-20 ปี)
:
ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่ผิด 112 เพราะ 112 ไม่รวมพระเทพ องค์โสม
แต่ตัดสินว่าผิด ม.326 หมิ่นประมาท
ซึ่งมีปัญหาอีก เพราะ 326 ผู้เสียหายต้องมาร้องทุกข์กล่าวโทษเอง
คดีนี้พอถึงศาลฎีกา ก็เห็นตามศาลชั้นต้น ไม่ผิด 112 ผิด 326
แต่ลดโทษเพราะเห็นว่าจำเลยสำนึก แสดงความจงรักภักดี บริจาคมูลนิธิชัยพัฒนา ฯลฯ
:
เหมือนคดีหมิ่น ร.4
คดีนั้นต้องชมศาลอุทธรณ์ ยกฟ้อง
แต่ศาลฎีกากลับอ้างว่า การหมิ่นกษัตริย์ในอดีตกระทบกษัตริย์องค์ปัจจุบัน
เพราะ ร.4 เป็นพระบิดา ร.5 ซึ่งเป็นพระอัยกา ร.9
แม้เสด็จสวรรคตแล้วประชาชนก็ยังเคารพสักการะ หากมีการดูหมิ่นก็กระทบความรู้สึกประชาชนกระทบความมั่นคง
:
นี่เป็นปัญหาความเที่ยงตรงต่อวิชาชีพของผู้พิพากษาอัยการ
ซึ่งเป็นวิชาที่มีสอนกันในหลักสูตรนิติศาสตร์ แต่จบแล้วหายไป?
และเป็นปัญหาการใช้และตีความกฎหมาย ที่ล่วงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ
คือถ้าผู้พิพากษาเห็นว่า 112 รวมกษัตริย์ในอดีต ทั้งที่ตัวบทเขียนไว้ชัดว่าไม่รวม ผู้พิพากษาต้องเสนอแก้กฎหมาย (หรือลาออกมาลงเลือกตั้ง) ไม่ใช่ตีความเอง
:
การพูดเรื่องนี้บางคนอาจบอกว่านั่นไง 112 มีปัญหาที่การบังคับใช้
แต่มันเป็นเรื่องใหญ่กว่านั้น มันคือปัญหาทัศนะของตุลาการ
ซึ่งถ้าจะแก้ก็ต้องปฏิรูปศาลครั้งใหญ่
ที่ อ.วรเจตน์ยกตัวอย่างคือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 55 ที่มีคนยื่นถามว่า 112 ขัดรัฐธรรมนูญบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพหรือไม่ ลงโทษเกินสมควรแก่เหตุหรือไม่
แทนที่จะวินิจฉัยหลักกฎหมาย ศาลขึ้นต้นด้วยการ "เฉลิมพระเกียรติ"
อยู่คู่ชาติบ้านเมืองมาตั้งแต่สุโขทัย มีพระมหากรุณาธิคุณ ฯลฯ
ร่ายยาวแล้วบอกว่า จึงต้องมี 112 เพื่อเคารพสักการะละเมิดมิได้
เอาศรัทธา(ของตัวเอง)มากลบกฎหมาย
:
การแก้ไข 112 จึงต้องควบคู่ไปกับปฏิรูปศาล
ให้ประชาชนตรวจสอบศาลได้ เอาผิดผู้พิพากษา+อัยการได้
อ.วรเจตน์บอกว่า ที่ศาลอังกฤษได้รับความยกย่องเชื่อถือว่าอิสระ
เพราะมีประวัติศาสตร์ต่อสู้กับกษัตริย์ไม่ยอมให้แทรกแซงคำพิพากษา