วันพุธ, มีนาคม 18, 2563

สำนักข่าวญี่ปุ่น Nikkei Asian Review วิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยกำลังค่อยๆตาย ด้วยถูกมีดจิ้มทีละนิดนับพันครั้ง




ASIA INSIGHT

Thailand's economic 'death by a thousand cuts' sows desperation

Suicides rise as debts, drought and coronavirus hit the country hard
.


“เศรษฐกิจไทยตายด้วยถูกมีดจิ้มพันครั้ง”

🇯🇵 สำนักข่าวญี่ปุ่นวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยกำลังตายทีละน้อย เขาใช้สำนวนว่า death by a thousand cuts คือถูกมีดพับจิ้มทีละนิด แต่เป็นพันครั้ง กว่าจะตายใช้เวลา แต่เป็นอันว่าตายแน่นอน

บทความอ้างหลักฐานธนาคารโลก(ดูกราฟ) ที่ภายหลังการปฏิวัติ สัดส่วนคนจนได้กลับเพิ่มขึ้น

ในห้วงเวลาสิบปีก่อนปฏิวัติ สัดส่วนคนจนในไทยลดลงมาตลอด ปี 2006 (2549) ในระดับ 25% ในปี 2015 (2558) ก่อนผลจากการปฏิวัติ ลงมาอยู่ระดับ 7.2%

แต่ภายหลังการปฏิวัติ สัดส่วนคนจนกลับเพิ่มขึ้น จนปี 2018 (2561) สูงขึ้นเป็น 9.85% จำนวนคนจนเพิ่มจาก 4.85 ล้านคน เป็น 6.7 ล้านคน

ทั้งที่รัฐบาล คสช. ได้ใช้นโยบายแจกเงินมาตลอด โดยแจกแก่ผู้ถือบัตรคนจนจำนวนมากถึง 14.5 ล้านคน มากกว่าคนจนที่มีอยู่จริงด้วยซ้ำ

และในโครงการ ชิมข้อปใช้ ก็น่าจะมีคนที่อยู่นอกเหนือ 14.5 ล้าน แต่ชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า ที่ได้เงินแจกไปด้วย

🤔 ถามว่า ทำไมแจกเงินแต่เศรษฐกิจกลับตายลงทีละน้อย?

🔍 ตอบว่า เพราะการแจกแบบหว่านลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ (helicopter money) ซึ่งเกิดขึ้นแบบเป็นครั้งเป็นคราวนั้น คนที่รับจะเอาไปต่อยอดยกระดับตัวเองได้ยาก

จึงเน้นแต่อุปโภคบริโภค กระตุ้นตัวเลข จีดีพี ชั่วคราว

ขณะนี้ กลุ่มที่เดือดร้อนที่สุดคือ sme เพราะรายได้ตกต่ำ และเมื่อบางรายหันไปกู้เงินจากนอกระบบซึ่งดอกเบี้ยสูงลิ่ว ก็จะเหมือนตกนรกทั้งเป็น

จึงทำให้มีนักธุรกิจรายเล็กรายน้อยถอดใจ ฆ่าตัวตายอยู่เนืองๆ

อัตราฆ่าตัวตายในไทยสูงสุดในเอเซียอาคเนย์อยู่แล้ว คือ 14.4 คนต่อประชากร 1 แสนคน สถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจยิ่งทำให้หนักขึ้น

ผลสำรวจพบว่า ในปี 2561 สัดส่วนคนไทยที่บอกว่าพอใจในมาตรฐานการครองชีพ มีเพียงร้อยละ 39 ซึ่งต่ำสุดในเอเซียอาคเนย์

🤔 ถามว่า ทำไมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ทำให้ sme เดือดร้อน?

🔍 1 เน้นโครงการที่ให้ประโยชน์แก่นายทุนระดับชาติ รวมไปถึงการให้ความคุ้มครองอำนาจผูกขาดตัดตอนทางธุรกิจ

ดังเห็นได้ว่าตั้งแต่การปฏิวัติ ในผลสำรวจสากล กลุ่มคนรวยที่สุดในไทยล้วนมีฐานะร่ำรวยมากขึ้น

🔍 2 ความสามารถในการแข่งขันลดลงเนื่องจากค่าแรงสูงขึ้น ทำให้มีการย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น

🔍 3 เงินบาทที่แข็งทำให้รายได้ส่งออกลดลง

นโยบายเหล่านี้ทำให้รายได้กระจายลงไปรากหญ้าเกิดขึ้นน้อย และบัดนี้กำลังจะถูกซ้ำเติม ทั้งจากภัยแล้ง และจากไข้หวัดโควิด-19

บทความจบด้วยคำกล่าวของคนที่วิเคราะห์การเมืองไทยมานานว่า

“มันจะจบยังไง แต่ถ้าดูย้อนประวัติศาสตร์จะพบว่า การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่มักจะระเบิดตูม”

วันที่ 17 มีนาคม 2563
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

https://asia.nikkei.com/Spotlight/Asia-Insight/Thailand-s-economic-death-by-a-thousand-cuts-sows-desperation