THAI NEWS PIX
ไวรัสโคโรนา : "คนไร้บ้าน" จะทำอย่างไรเมื่อรัฐแนะนำให้ "อยู่บ้าน" เพื่อหนีโควิด-19
สมิตานัน หยงสตาร์ และ ภานุมาศ สงวนวงษ์
ผู้สื่อข่าวพิเศษบีบีซีไทย
26 มีนาคม 2020
"ไม่มีใครกลัว (โควิด-19) สักคน ไม่กลัวหรอก กลัวโรคอดอย่างเดียว" คำพูดกลั้วหัวเราะของชายวัยกลางคนที่เป็น "คนไร้บ้าน" ย่านหัวลำโพง ถ่ายทอดความคิดของเขาต่อโรคระบาดที่กำลังคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากและสร้างความตื่นกลัวไปทั่วโลกเวลานี้
ก่อนหน้าจะเกิดโรคโควิด-19 ระบาด มักมีบรรดาผู้ใจบุญหรือองค์กรการกุศลขนอาหารและน้ำดื่มมาแจกจ่ายคนไร้บ้านหรือคนยากจนที่รวมตัวกันอยู่บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง แต่ช่วงนี้แทบไม่มีใครนำอะไรมาบริจาคเลย
เมื่อมีรถกระบะบรรทุกของเลี้ยวเข้ามาจอด บรรดาคนไร้บ้านผู้หิวโหยจึงพากันวิ่งกรูเข้ามาด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนใจบุญที่นำอาหารมาแจก
ไวรัสโคโรนา : คนไร้บ้านในอังกฤษอยู่กันอย่างไรในภาวะปิดเมืองสู้โควิด-19
รายงานสด : เกาะติดวิกฤตโควิด-19 ประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศวันแรก
ไวรัสโคโรนา : เรื่องจริงจากหมอผู้อยู่แนวหน้าของสมรภูมิโควิด-19
แต่เมื่อมีผู้ใจบุญรายหนึ่งนำรถขนอาหารมาแจกจริง ๆ ก็กลับถูกเจ้าหน้าที่ขอให้กลับไป พร้อมกับเตือนว่ารัฐบาลห้ามการชุมนุม เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค คนไร้บ้านนับ 50 คนที่มาเข้าแถวรอรับอาหารจึงต้องแยกย้ายไปด้วยความผิดหวัง
ในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ คนไร้บ้านไม่เพียงต้องอยู่ด้วยความอดอยาก แต่ยังเป็น "กลุ่มเปราะบาง" ที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา
“ผมเคยเป็นคนไร้บ้าน ตอนนี้ผมมีอาชีพขายบ้าน”
คนไร้บ้าน : ชายไนจีเรียเผยชีวิตที่ใช้รถประจำทางในลอนดอนเป็นที่นอนกว่า 20 ปี
"การดูแลสุขภาพอนามัยของคนกลุ่มนี้ไม่ดีพออยู่แล้ว เขากินนอนอยู่ข้างถนน อยู่ในพื้นที่สาธารณะตลอดเวลา ก็สุ่มเสี่ยงได้มาก บวกกับคนไร้บ้านส่วนใหญ่สุขภาพไม่แข็งแรงและเป็นผู้สูงอายุ" เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงากล่าว
สิทธิพลให้ข้อมูลว่าในสถานการณ์ปกติ การเข้าถึงระบบรักษาพยาบาลของกลุ่มคนไร้บ้านเป็นเรื่องที่ยากมากอยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่ไม่มีหลักฐานแสดงตน ไม่มีบัตรประชาชน บ้างก็มีสิทธิรักษาพยาบาลอยู่ในต่างจังหวัด
26 มีนาคม 2020
"ไม่มีใครกลัว (โควิด-19) สักคน ไม่กลัวหรอก กลัวโรคอดอย่างเดียว" คำพูดกลั้วหัวเราะของชายวัยกลางคนที่เป็น "คนไร้บ้าน" ย่านหัวลำโพง ถ่ายทอดความคิดของเขาต่อโรคระบาดที่กำลังคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากและสร้างความตื่นกลัวไปทั่วโลกเวลานี้
ก่อนหน้าจะเกิดโรคโควิด-19 ระบาด มักมีบรรดาผู้ใจบุญหรือองค์กรการกุศลขนอาหารและน้ำดื่มมาแจกจ่ายคนไร้บ้านหรือคนยากจนที่รวมตัวกันอยู่บริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง แต่ช่วงนี้แทบไม่มีใครนำอะไรมาบริจาคเลย
เมื่อมีรถกระบะบรรทุกของเลี้ยวเข้ามาจอด บรรดาคนไร้บ้านผู้หิวโหยจึงพากันวิ่งกรูเข้ามาด้วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนใจบุญที่นำอาหารมาแจก
ไวรัสโคโรนา : คนไร้บ้านในอังกฤษอยู่กันอย่างไรในภาวะปิดเมืองสู้โควิด-19
รายงานสด : เกาะติดวิกฤตโควิด-19 ประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศวันแรก
ไวรัสโคโรนา : เรื่องจริงจากหมอผู้อยู่แนวหน้าของสมรภูมิโควิด-19
แต่เมื่อมีผู้ใจบุญรายหนึ่งนำรถขนอาหารมาแจกจริง ๆ ก็กลับถูกเจ้าหน้าที่ขอให้กลับไป พร้อมกับเตือนว่ารัฐบาลห้ามการชุมนุม เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค คนไร้บ้านนับ 50 คนที่มาเข้าแถวรอรับอาหารจึงต้องแยกย้ายไปด้วยความผิดหวัง
ในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ คนไร้บ้านไม่เพียงต้องอยู่ด้วยความอดอยาก แต่ยังเป็น "กลุ่มเปราะบาง" ที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา
THAI NEWS PIX
สุขอนามัยสวนทางกับการใช้ชีวิต
สิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกลับกลุ่มคนไร้บ้านมาเป็นเวลานาน ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทยว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนจากหน่วยงานภาครัฐว่าจะให้ความช่วยเหลือหรือดูแลคนไร้บ้านที่ในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่กว่า 1,300 คน
สุขอนามัยสวนทางกับการใช้ชีวิต
สิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกลับกลุ่มคนไร้บ้านมาเป็นเวลานาน ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทยว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนจากหน่วยงานภาครัฐว่าจะให้ความช่วยเหลือหรือดูแลคนไร้บ้านที่ในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่กว่า 1,300 คน
“ผมเคยเป็นคนไร้บ้าน ตอนนี้ผมมีอาชีพขายบ้าน”
คนไร้บ้าน : ชายไนจีเรียเผยชีวิตที่ใช้รถประจำทางในลอนดอนเป็นที่นอนกว่า 20 ปี
"การดูแลสุขภาพอนามัยของคนกลุ่มนี้ไม่ดีพออยู่แล้ว เขากินนอนอยู่ข้างถนน อยู่ในพื้นที่สาธารณะตลอดเวลา ก็สุ่มเสี่ยงได้มาก บวกกับคนไร้บ้านส่วนใหญ่สุขภาพไม่แข็งแรงและเป็นผู้สูงอายุ" เจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงากล่าว
สิทธิพลให้ข้อมูลว่าในสถานการณ์ปกติ การเข้าถึงระบบรักษาพยาบาลของกลุ่มคนไร้บ้านเป็นเรื่องที่ยากมากอยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่ไม่มีหลักฐานแสดงตน ไม่มีบัตรประชาชน บ้างก็มีสิทธิรักษาพยาบาลอยู่ในต่างจังหวัด
THAI NEWS PIX
ดังนั้นการที่เขาจะได้รับการรักษาหรือตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย รัฐบาลจึงควรเร่งสร้างเครื่องมือหรือมาตรการดูแลคนกลุ่มนี้อย่างเร่งด่วน
"ที่หัวลำโพง คนไร้บ้านจะต้องจ่ายค่าเข้าห้องน้ำครั้งละ 5 บาท อย่างนี้จะให้เขาเข้าไปล้างมือบ่อย ๆ ได้ยังไง บางคนไม่มีเงินติดตัวเลย หรือถ้ามีเงินอยู่บ้าง เขาเก็บเงิน 5 บาทไว้ซื้ออย่างอื่นดีกว่า เขาขาดโอกาส แม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างสถานที่ที่จะล้างมือก็เข้าไม่ถึง"
หลายคนอาจเกิดคำถามว่า "แล้วทำไมไม่กลับบ้าน"
ดังนั้นการที่เขาจะได้รับการรักษาหรือตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย รัฐบาลจึงควรเร่งสร้างเครื่องมือหรือมาตรการดูแลคนกลุ่มนี้อย่างเร่งด่วน
"ที่หัวลำโพง คนไร้บ้านจะต้องจ่ายค่าเข้าห้องน้ำครั้งละ 5 บาท อย่างนี้จะให้เขาเข้าไปล้างมือบ่อย ๆ ได้ยังไง บางคนไม่มีเงินติดตัวเลย หรือถ้ามีเงินอยู่บ้าง เขาเก็บเงิน 5 บาทไว้ซื้ออย่างอื่นดีกว่า เขาขาดโอกาส แม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่างสถานที่ที่จะล้างมือก็เข้าไม่ถึง"
หลายคนอาจเกิดคำถามว่า "แล้วทำไมไม่กลับบ้าน"
THAI NEWS PIX
คำบรรยายภาพนเรศร์ คลายเซ้า คนไร้บ้านย่านหัวลำโพงบอกว่าช่วงโควิด-19 ระบาด อาหารที่มาบริจาคน้อยลง งานบุญที่มีอาหารแบ่งให้คนจนก็แทบไม่มีจัด
เรื่องนี้สิทธิพลอธิบายว่าจะต้องเข้าใจต้นตอของการเป็นคนไร้บ้านเสียก่อน เขาอธิบายว่าสาเหตุหลักที่ทำให้คนส่วนหนึ่งออกมาเร่ร่อนเป็นคนไร้บ้านนั้นมาจากปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาครอบครัว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะต้องทำความเข้าใจคือคนไร้บ้านมักมีความประสงค์อย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ ต้องการมีอิสระในการใช้ชีวิต ดังนั้นการ "กลับไปอยู่บ้าน" จึงไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายอยู่แล้วไม่ว่าจะในสถานการณ์ปกติหรือสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ หรือแม้จะกลับบ้านได้ เขาก็มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้สมาชิกในครอบครัว
มูลนิธิกระจกเงาเห็นว่า การจัดหาสถานที่พักอาศัยชั่วคราวให้คนไร้บ้านในช่วงนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่ต้องไม่ใช่การนำเข้าสู่ระบบสถานสงเคราะห์ที่มีสภาพแออัดอยู่แล้ว
คนไร้บ้านก็มีสถานะเป็นคนตกงาน
นเรศร์ คลายเซ้า คนไร้บ้านวัย 41 ปี จากจังหวัดอยุธยา บอกว่าเขาได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โรคระบาด ผู้ที่แวะเวียนมาแจกอาหารก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งกว่านั้นบรรดานายจ้างที่เคยแวะเวียนมาหาแรงงานก่อสร้างก็หายหน้ากันไปหมด
"งานวัดที่แจกข้าวสาร เขาก็ยกเลิก ข้าวที่แจกก็น้อยลง" นเรศร์บอกว่าเขายังพอมีแรงเดินทางไปรับอาหารฟรีจากสภาสังคมสงเคราะห์ พอเอาตัวรอดไปได้ แต่ยังมีไร้บ้านจำนวนมากที่เป็นผู้สูงอายุหรือคนป่วยซึ่งเดินทางไม่ไหว
นเรศร์บอกว่า คนทั่วไปมักเหมารวมว่าคนไร้บ้านไม่พยายามหางาน ซึ่งอาจจะมีอยู่ส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เขาเป็นคนหนึ่งที่พยายามขวนขวายหางานทำเพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีกว่านี้ แต่การหางานก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
"ไปเจอปั๊มน้ำมัน เขียนป้ายว่ารับสมัครพนักงาน เข้าไปถาม เขาก็ว่าคนเต็มแล้ว ไปขอทำงานล้างจานเขาก็ไม่รับ"
THAI NEWS PIX
เรื่องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโควิด-19 นั้น นเรศร์มีหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่ได้รับแจกมาชิ้นหนึ่ง ซึ่งเขาใช้เป็นประจำ และพยายามติดตามข่าวสารผ่านกระดานข่าวตามท้องถนน และกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ชายอีกคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพก่อสร้างและอาศัยพื้นที่ย่านหัวลำโพงเป็นที่หลับนอนเป็นครั้งคราวบอกว่านับตั้งแต่เกิดโรคระบาดเขาก็กลายเป็น "คนตกงาน" ทันที เงินที่พอจะหามาซื้อข้าวกินได้ในแต่ละวันแทบไม่มี
เมื่อถามถึงการป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 เขาบอกว่าคนไร้บ้านได้รับแจกหน้ากากอนามัยอยู่เหมือนกัน
"ได้กันทุกคนแล้วผ้าปิด แต่เขาไม่ใช้ไง...เขาไม่กังวล เขากังวลเรื่องไม่ได้กินอย่างเดียว"
ชายไร้บ้านอีกคนในวัย 64 ปี อาชีพรับจ้างรายวันบอกว่าเขาก็ไม่กลัวโควิด-19 เช่นกัน
"ชีวิตลำบากอยู่แล้ว ต้องต่อสู้…ช่วงนี้ยังไงต้องให้ผ่านไปก่อน ตอนนี้ค่อนข้างจะอัตคัด"
เรื่องนี้สิทธิพลอธิบายว่าจะต้องเข้าใจต้นตอของการเป็นคนไร้บ้านเสียก่อน เขาอธิบายว่าสาเหตุหลักที่ทำให้คนส่วนหนึ่งออกมาเร่ร่อนเป็นคนไร้บ้านนั้นมาจากปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาครอบครัว อีกสิ่งหนึ่งที่น่าจะต้องทำความเข้าใจคือคนไร้บ้านมักมีความประสงค์อย่างหนึ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ ต้องการมีอิสระในการใช้ชีวิต ดังนั้นการ "กลับไปอยู่บ้าน" จึงไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายอยู่แล้วไม่ว่าจะในสถานการณ์ปกติหรือสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ หรือแม้จะกลับบ้านได้ เขาก็มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้สมาชิกในครอบครัว
มูลนิธิกระจกเงาเห็นว่า การจัดหาสถานที่พักอาศัยชั่วคราวให้คนไร้บ้านในช่วงนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่ต้องไม่ใช่การนำเข้าสู่ระบบสถานสงเคราะห์ที่มีสภาพแออัดอยู่แล้ว
คนไร้บ้านก็มีสถานะเป็นคนตกงาน
นเรศร์ คลายเซ้า คนไร้บ้านวัย 41 ปี จากจังหวัดอยุธยา บอกว่าเขาได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โรคระบาด ผู้ที่แวะเวียนมาแจกอาหารก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งกว่านั้นบรรดานายจ้างที่เคยแวะเวียนมาหาแรงงานก่อสร้างก็หายหน้ากันไปหมด
"งานวัดที่แจกข้าวสาร เขาก็ยกเลิก ข้าวที่แจกก็น้อยลง" นเรศร์บอกว่าเขายังพอมีแรงเดินทางไปรับอาหารฟรีจากสภาสังคมสงเคราะห์ พอเอาตัวรอดไปได้ แต่ยังมีไร้บ้านจำนวนมากที่เป็นผู้สูงอายุหรือคนป่วยซึ่งเดินทางไม่ไหว
นเรศร์บอกว่า คนทั่วไปมักเหมารวมว่าคนไร้บ้านไม่พยายามหางาน ซึ่งอาจจะมีอยู่ส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เขาเป็นคนหนึ่งที่พยายามขวนขวายหางานทำเพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีกว่านี้ แต่การหางานก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
"ไปเจอปั๊มน้ำมัน เขียนป้ายว่ารับสมัครพนักงาน เข้าไปถาม เขาก็ว่าคนเต็มแล้ว ไปขอทำงานล้างจานเขาก็ไม่รับ"
THAI NEWS PIX
เรื่องป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโควิด-19 นั้น นเรศร์มีหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่ได้รับแจกมาชิ้นหนึ่ง ซึ่งเขาใช้เป็นประจำ และพยายามติดตามข่าวสารผ่านกระดานข่าวตามท้องถนน และกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ชายอีกคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพก่อสร้างและอาศัยพื้นที่ย่านหัวลำโพงเป็นที่หลับนอนเป็นครั้งคราวบอกว่านับตั้งแต่เกิดโรคระบาดเขาก็กลายเป็น "คนตกงาน" ทันที เงินที่พอจะหามาซื้อข้าวกินได้ในแต่ละวันแทบไม่มี
เมื่อถามถึงการป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 เขาบอกว่าคนไร้บ้านได้รับแจกหน้ากากอนามัยอยู่เหมือนกัน
"ได้กันทุกคนแล้วผ้าปิด แต่เขาไม่ใช้ไง...เขาไม่กังวล เขากังวลเรื่องไม่ได้กินอย่างเดียว"
ชายไร้บ้านอีกคนในวัย 64 ปี อาชีพรับจ้างรายวันบอกว่าเขาก็ไม่กลัวโควิด-19 เช่นกัน
"ชีวิตลำบากอยู่แล้ว ต้องต่อสู้…ช่วงนี้ยังไงต้องให้ผ่านไปก่อน ตอนนี้ค่อนข้างจะอัตคัด"