ทำไมบริษัทประกันถึงกล้าออกผลิตภัณฑ์
คุ้มครอง Covid-19 !!
ช่วงนี้เพื่อนๆถามกันมาเยอะมากๆ ว่าทำไมบริษัทประกันทั้งหลายถึงกล้าออกประกันตัวนี้มา
ไม่กลัว เ จ๊ ง หรอ !!
บางคนบอกว่า นี่อาจกลายเป็นจุดจบของอุตรสาห
กรรมประกันภัย
เคทจะอธิบายให้ฟังง่ายๆนะคะ
โดยหลักการแล้ว บริษัทประกันจะมีการทำ ดัชนีในกรณีที่เลวร้ายที่สุดขึ้นมา ( worst case )
โดยอิงจากสถิติที่เกิดขึ้นจริง โดยหาค่าเฉลี่ยและคำนวณตามอัตราก้าวหน้าต่างๆ
อย่างเช่น ในเคส Covid-19
เรามาลองดูตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงๆกันค่ะ
1. จีน มีผู้ติดเชื้อ ทั้งหมด ราวๆ 8.1 หมื่นคน
2. เกาหลีใต้ มีผู้ติดเชื้อ ราวๆ 8.5 พันราย
3. อิตาลี มีผู้ติดเชื้อ ราวๆ 3.2 หมื่นราย
4. สเปน มีผู้ติดเชื้อ ราวๆ 1.2 หมื่นราย
5. อิหร่าน มีผู้ติดเชื้อ ราวๆ 1.7 หมื่นราย
******************************
ทีนี้มาถอดสมการดัชนีกันค่ะ
>> เริ่มจากที่ จีน เมืองอู่ฮั่น มีประชากรราวๆ 12 ล้านคน
= 12,000,000 ÷100 = 120,000 คน (1%)
ประชากรจีนติดเชื้อกัน ไม่ถึง 1% นะคะ
ถ้าถอดสมการละเอียดๆ จะได้ = ประมาณ 0.67%
สรุปมีผู้ติดเชื้อที่ จีน = 0.67%
.
>> เกาหลีใต้ แดกู มีประชากรราว 2.5 ล้านคน
= 2,500,000 ÷ 100 = 25,000 คน (1%)
ประชากรเกาหลีใต้ก็ติดเชื้อ ไม่ถึง 1% นะคะ
ถ้าถอดสมการละเอียดๆ จะได้ = ประมาณ 0.35%
สรุปที่ เกาหลี มีผู้ติดเชื้อ = 0.35 %
.
>> อิตาลี ลอมบาร์เดีย มีประชากรราวๆ 10 ล้านคน
= 10,000,000 ÷100 = 100,000 (1%)
ประชากรอิตาลีก็ติดเชื้อ ไม่ถึง 1% นะคะ
ถ้าถอดสมการละเอียดๆ จะได้ = ประมาณ 0.32%
สรุปที่ อิตาลี มีผู้ติดเชื้อ = 0.32%
.
>> สเปน กาตาลัน มีประชากรราวๆ 7 ล้านคน
= 7,000,000 ÷ 100 = 70,000 (1%)
ประชากร สเปนก็ติดเชื้อไม่ถึง 1% นะคะ
ถ้าถอดสมการละเอียดๆ จะได้ = ประมาณ 0.17%
สรุปที่ สเปน มีผู้ติดเชื้อ = 0.17%
.
>> อิหร่าน ประชากรทั้งประเทศ 81 ล้าน เนื่องจากไม่ทราบเขตแพร่ระบาดหนักๆ จึงขอไม่คำนวณนะคะ
>> ส่วนไทยเรา ประชากร70 ล้าน เขตระบาดหนักๆ คือ กทม มีประชากรราวๆ 7 ล้าน ตอนนี้ติดเชื้อ 169 คนค่ะ
***********************
จากตัวเลขข้างต้น
เป็นเคสที่หนักๆนะคะ ไล่จาก 0.17- 0.67%
ทีนี้การที่ บริษัทประกัน ออกผลิตภัณฑ์คุ้มครองCovid-19 ขึ้นมา เขาก็เอาตัวเลขดัชนีเหล่านี้มาคำนวณแหล่ะค่ะ
อย่างในไทย ตัวเลขผู้ที่มีโอกาสซื้อ จากตัวเลขดัชนีที่เคทคำนวณ อยู่ที่ราวๆ 1% ของประชากรทั้งหมด
ตีว่า Max สุด คือ 6 แสนคน
คนที่มีกำลังซื้อและเข้าถึงประกัน จะอยู่ที่ ประมาณ 30 ล้านคน ดังนั้นตัวเลขที่เป็นไปได้คือ 1% ใน 30 ล้าน
= Min 300,000 --> Max 600,000
เรามาลองคำนวณขั้นต่ำนะคะ
(ตัวเลขจริงๆตอนนี้น่าจะซื้อกันระดับ แตะๆ 2 แสนคนละ)
ประกันราคาเฉลี่ย 500 บาท จ่าย 100,000
สมการ Min(pp) × 500 = 150,000,000 !!
หมายถึงว่า ขั้นต่ำจะมีเงินสะพัดในระบบประกัน
= 150 ล้านบาทค่ะ !!
ทีนี้ถอดสมการโอกาสเกิดเคสเลวร้ายแบบสุดๆของสุดๆ (worst case )
Min(pp) - 0.67% = 2,010 คน
จะเกิดเคสเลวร้ายสุดที่ 2,010 คน
= 2,010 × 100,000(จ่าย) = 201,000,000 บาท
นั่นหมายถึง ในเคสที่เลวร้ายที่สุด บริษัทประกันจะขาดทุน แค่ 50 ล้าน
แล้วถ้ากรณีที่ เลวร้ายระดับ Min-worstcast หล่ะ
Min(pp) - 0.17% = 510 คน
= 510 × 100,000(จ่าย) = 51,000,000 บาท
นั่นหมายถึง ในเคสเลวร้ายเบื้องต้น บริษัทประกันจะกำไร 100 ล้านบาทค่ะ !!
ทีนี้ในความเป็นจริง คือ ตัวเลขข้างต้น คือ ช่วงเลวร้ายของโรคนี้นะคะ และยังไม่มีมาตรการใดๆแก้ไขชัดเจน
ซึ่ง สถานการณ์ปัจจุบัน ต่อจากนี้ไป โอกาสดัชนีเกิดโรคจะลดต่ำลงเรื่อยๆนะคะ เพราะประชาชนทั่วไปก็เริ่มตระหนักมากขึ้นดูแลตัวเองมากขึ้น
ไทยเรา ประชากร70 ล้าน เขตระบาดหนักๆ คือ กทม มีประชากรราวๆ 7 ล้าน ตอนนี้ติดเชื้อ 169
ถ้าคิดแบบไดนามิค ก็อาจจะเพิ่มถึง 500 ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1สัปดาห์
แต่....มันก็แค่ 500 คน ในประชากร 70 ล้านอ่ะค่ะ ตอนนี้ต่างประเทศก็งดเดินทางเข้า รวมถึงมีมาตรการกักตัวและปิดพื้นที่เสี่ยง การออกมาตรการและควบคุมต่อจากนี้เราไม่มีทางเห็นตัวเลขหลักหมื่นในปีนี้แน่ๆค่ะ
ตรงนี้แหละค่ะเลยทำให้บริษัทประกันกล้าออกผลิตภัณฑ์ตัวนี้มาค่ะ และเมื่อใดที่สมการของฝั่ง Buy เยอะขึ้นไม่บาลานซ์กับดัชนี เขาก็จะเริ่มลดวงเงินผลตอบแทนลงค่ะ
และสิ่งที่เพื่อนๆลืมคิดไปคือ บริษัทประกัน โดยมากแล้วเงินที่ได้จากเราเขานำไปลงทุน ในพันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุน ฯ ซึ่งก็จะได้ผลตอบแทนทบไปอีกเป็นเท่าตัวในระยะยาว
(และอย่าลืมอีกข้อนึงนะคะ สิ่งที่ประกันจะได้ที่มีมูลค่ามากกว่าตัวเงิน คือ ฐานข้อมูลของเราที่จะไปรวมไว้ใน Big Data ค่ะ )
แต่ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ไม่ว่าบริษัทไหนๆ ล้วนต้องการเงินสดค่ะ !!
ดังนั้นการที่บริษัทประกันมีเงินสดเข้ามาในระบบจำนวนมากในช่วงนี้ นอกจากเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจแล้ว นั่นหมายถึง เขายังเพิ่มโอกาสในการลงทุน ที่จะให้ผลตอบแทนเป็นหลายร้อยเปอร์เซนต์
คุณลองหันไปดูตลาดหุ้นช่วงนี้สิ หุ้นราคาถูกๆพื้นฐานดีๆมีมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือ คนที่จะซื้อได้ต้องมีเงินสดค่ะ แล้วหุ้นพวกนี้แหละที่จะสร้างผลตอบแทน 3-4 เด้งในอนาคตค่ะ 😊
ดังนั้นใจความสำคัญตอนนี้คือ บริษัทประกันต้องการ
เ งิ น ส ด .....ค่ะ !!
มิ้วๆนะ 🤗
ป.ล. 1)ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมแจ้งได้นะคะ ถ้าตรงไหนผิดพลาดไม่ถูกต้องแจ้งข้อมูลนะคะ แชร์ข้อมูลกันได้ค่ะ เพราะอันนี้เป็นแค่การคิดคำนวณของเคทเอง อย่ายึดถือนะคะ แต่ให้ไว้เป็นแนวทางในการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
#Edit.... อาจารย์ทอมมี่ (พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน) ประธานสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากบทความนี้คร่าวๆ....เพิ่มเติมดังนี้นะคะ
>>> ในเรื่องสถิติ ตัวอย่างที่ถูกยกมานี้ ไม่ได้เป็น worse case scenario เพราะนำเพียงสถิติที่เพียงมีมาแค่ไม่กี่เดือนมาใช้ ของจริงจะต้องเผื่อค่าสถิติไว้สำหรับอนาคตว่ามันจะเป็นอย่างไรได้บ้าง
และอัตราเริ่มต้นความเสี่ยงตอนต้นก็จะมากกว่าเดิมด้วย
>>> ประกันระยะสั้นกับระยาวต่างกัน เคสนี้เป็นประกันระยะสั้นเพียง 1 ปี ดังนั้นการนำเงินไปลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนทบไปในระยะยาวแบบประกันสะสมทรัพย์ของประกันชีวิต จะไม่ถูกต้อง
สำหรับกรณีประกันระยะสั้นครับ ลองคิดตามว่า บริษัทประกันภัยเก็บเบี้ยคุ้มครองมาแค่ 1 ปี แล้วเค้าจะลงทุนอะไรได้มากกว่า 1 ปีครับ เช่นกันกับประกันรถยนต์ครับ เป็นการคุ้มครองที่เก็บเบี้ย 1 ปี ไม่ได้ลงทุนอะไรยาวครับ อย่าสับสนกับการประกันสะสมทรัพย์ของประกันชีวิตครับ และที่สำคัญ สภาพตลาดตอนนี้ไม่อำนวยต่อการลงทุนระยะยาวค่ะ ด้วยดอกเบี้ยพันธบัตรที่ต่ำมาก
>>> เรื่องเงินสดนั้น อาจารย์บอกว่า ความจริงคือบริษัทประกันภัยไม่ได้ต้องการเงินสด เพราะบริษัทประกันจะมีสภาพคล่องล้นมืออยู่แล้ว เพราะเป็นธุรกิจที่รับเบี้ยประกันภัยมาก่อน ถึงขนาดที่ต้องกันเงินสำรองเอาไว้เพื่อจ่ายเคลมให้เพียงพอในภายหลัง บริษัทประกันถึงแม้สภาพคล่องจะล้น แต่ต้องมีวินัยในการสำรองเงินกันไว้ให้ลูกค้าในอนาคตครับ
ตรงนี้สามารถเปิดดูงบการเงิน สภาพคล่อง และเงินดำรงกองทุนความเสี่ยง ของแต่ละบริษัทประกันได้ในเวปไซด์ของเค้าครับ เป็นข้อกำหนดที่ทุกบริษัทต้องเปิดเผยให้ผู้บริโภคเข้าไปดูได้ก่อนซื้อ
ส่วนบริษัทประกันภัยจริงๆ ขายแล้วได้อะไร ที่แน่ๆ คือ มีโอกาสกำไรได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ “ไม่เจ๊าก็เจ๊ง” สูงมากเช่นกัน (เหมือนที่เกิดกับกรณีน้ำท่วม)
เดี๋ยวขอผมเขียนบทวิเคราะห์ให้ครับ ว่าทำไมและเกิดจุดบอดอะไรขึ้นในตอนนี้
2) ส่วนใครที่กลุ่มเสี่ยงควรทำไว้นะคะ ดูรายละเอียดดีๆ ไม่ต้องกังวลว่าประกันจะไม่พอจ่ายถ้าทำกันเยอะๆ ตามเหตุผลที่เคทให้ไว้ค่ะ
.
สนใจอ่านบทวิเคราะห์เศรษฐกิจการลงทุนต่างๆ
แตะที่แฮทแท็ก ด้านล่างนะคะ
#เรื่องเล่าจังหวะชีวิต #วิเคราะห์เศรษฐกิจ
Chutima Pukbanyang