14) ที่น่าเป็นห่วงคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจสร้างบรรยากาศแห่งความกลัว ทำให้สื่อมวลชนและประชาชนไม่กล้าแสดงความเห็น, ประชาชนไม่กล้าแจ้งเหตุที่ตนกังวลและต้องการให้รัฐบาลแก้ไข, ประชาชนไม่กล้าร้องเรียนปัญหาที่พบเห็นในการควบคุมโรค
.
การร้องเรียนแบบที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในเรื่องหน้ากากอนามัยยังจะทำได้หรือไม่, แพทย์และโรงพยาบาลจะยังแจ้งความเดือดร้อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้หรือไม่, ประชาชนจะร้องเรียนเรื่องการปฎิบัติงานที่หละหลวมของเจ้าหน้าที่ได้หรือไม่
.
ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วคือ กรณีการโพสต์เรื่องปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้เดินทางเข้ามาที่สนามบินสุวรรณภูมิ แทนที่ผู้โพสต์จะถูกจับ แต่เขาควรได้รับคำขอบคุณ หรือได้รางวัลด้วยซ้ำไปมิใช่หรือ รัฐบาลไม่ต้องจ้างผู้ตรวจสอบ (Auditor) แต่มีประชาชนช่วยตรวจสอบ...ไม่ดีกว่าหรือ
.
15) ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะยิ่งรุนแรงขึ้น ถ้ามีการบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิว มาตรการห้ามเดินทางระหว่างเมือง หรือมาตรการอื่นๆที่ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนต้องเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในช่วงเวลายาวนานถึง 36 วัน (นานกว่าระยะเวลา 22 วันที่ปิดโรงเรียน ร้านค้า ศูนย์การค้า ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจมากอยู่แล้ว และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังใช้บังคับหลังจากสิ้นสุดการปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ห้างร้านต่างๆอีกถึง 18 วัน)
.
16) สิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่รัฐบาลต้องทำคือ การรณรงค์ Social Distancing อย่างจริงจัง, การจัดหาหน้ากากให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ระหว่าง 22 วันที่ปิดทำการแหล่งชุมชนต่างๆ, การจัดหาแอลกอฮอล์เจลเพื่อล้างมือให้ประชาชนหาซื้อได้อย่างสะดวก, การตรวจคัดกรองผู้ป่วยอย่างจริงจังกว้างขวาง โดยลดหย่อนเกณฑ์ในการตรวจ PCR, การปูพรมค้นหาผู้เสี่ยงต่อการรับเชื้อและให้กักกันตัวเอง 14 วัน
.
มาตรการข้างต้นนี้เท่านั้นที่ต้องใช้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ใช่เคอร์ฟิว ไม่ใช่การห้ามสัญจรระหว่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ผลนักในการควบคุมโรค และไม่สามารถทำได้ต่อเนื่องยาวนาน
.
ในชั้นนี้ ผมเห็นด้วยกับมาตรการ Mild Lockdown (ซึ่งผมเรียกว่า หรี่ไฟเมือง หรือ ตรึงเมือง) แบบที่ฮ่องกง, สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานครทำก่อนประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ไม่เห็นด้วยกับ Massive Lockdown (หรือ ปิดเมือง) แบบที่อู่ฮั่นทำ
.
17. ถ้ารัฐบาลมีปัญหาประสิทธิภาพและเอกภาพในการทำงาน ก็เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไขการบริหารจัดการภายในกันเอง แต่ไม่ใช่ด้วยการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วออกมาตรการที่อาจกระทบกับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของคนไทย 65 ล้านคน
.
และการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า ปัญหาประสิทธิภาพในการควบคุมโรคจะได้รับการแก้ไข
.
18. โควิดไม่น่ากลัว ถ้าไม่ประมาทและป้องกันควบคุมอย่างถูกวิธี เหมือนที่ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ดำเนินการอยู่
.
แต่ที่น่ากลัวคือ
.
- ความไม่เข้าใจองค์ความรู้เรื่องโควิดของผู้รับผิดชอบ และการไม่ติดตามข้อมูลโควิดที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน
- การรับมือโควิดอย่างสะเปะสะปะ ขาดการวางแผน และไร้ประสิทธิภาพ
- และการไม่รับฟังเสียงสะท้อนของประชาชน
https://www.facebook.com/surapongofficial/photos/a.1224577807642374/2443167435783399/?type=3&theater
.
สรุป: รัฐมนตรีโดนยึดอำนาจหมดครับ เพราะ
คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ม.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ประกอบด้วย
-รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ, -รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ
-ปลัดกระทรวงกลาโหม
-ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
-ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-ปลัดกระทรวงมหาดไทย
-ปลัดกระทรวงยุติธรรม
-ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
-อัยการสูงสุด
-ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
-ผู้บัญชาการทหารบก
-ผู้บัญชาการทหารเรือ
-ผู้บัญชาการทหารอากาศ
-ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
-อธิบดีกรมการปกครอง
-อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ, และ เลขาธิการ
-สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ และ เลขานุการ *การต่อสู้กับโควิด-19
พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่มีประโยชน์ แต่มีโทษ
เดี๋ยวจะคิดดังๆให้ฟังครับ
หมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ที่มา FB
Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ม.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ประกอบด้วย
-รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ, -รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ
-ปลัดกระทรวงกลาโหม
-ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
-ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-ปลัดกระทรวงมหาดไทย
-ปลัดกระทรวงยุติธรรม
-ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
-อัยการสูงสุด
-ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
-ผู้บัญชาการทหารบก
-ผู้บัญชาการทหารเรือ
-ผู้บัญชาการทหารอากาศ
-ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
-อธิบดีกรมการปกครอง
-อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ, และ เลขาธิการ
-สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการ และ เลขานุการ *การต่อสู้กับโควิด-19
พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่มีประโยชน์ แต่มีโทษ
เดี๋ยวจะคิดดังๆให้ฟังครับ
หมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ที่มา FB
Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
..
ยาแรงกำลังจะมา บอกตามตรงว่าแรงเกินกว่าที่ผมคาดหมายไว้เยอะมาก ขอให้ทุกๆท่านทำใจไว้แต่เนิ่นๆนะครับ นี่จะเป็นวันสุดท้ายแล้ว ที่ผมจะสามารถแอบคาบข่าวมาบอกทุกๆท่านล่วงหน้าก่อนที่รัฐบาลจะประกาศได้ นับจากพรุ่งนี้ไปผมคงทำแบบนี้ไม่ได้แล้ว เพราะโทษแรงมาก เจ้านายผมเตือนผมมาแล้วให้ระวังให้รอบคอบ
ทุกๆท่านกำลังจะได้เจอกับ #เคอร์ฟิวส์24ชม. ในไม่ช้านี้ครับ
แต่อย่าตกอกตกใจกันเกินไปนะครับ ออกไปซื้อนู่นนั่นนี่ #ใกล้ๆบ้านได้ #ออกไปทำธุระได้ #ออกไปทำงานได้ แต่ ทุกๆออกของทุกๆท่าน ถ้าเจ้าหน้าที่ปรี่เข้ามาถึงตัวแล้วซักถาม #ท่านต้องตอบให้เคลียร์ ให้เข้าข่าย #จำเป็นจริงๆ แค่นั้นครับ ..
ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจนท.ที่ซักถามท่านครับ ดังนั้นผมแนะนำว่า อยู่บ้านดีกว่าครับ แต่ถ้าต้องออกไปจริงๆ ให้ท่องที่ผมบอกไว้ให้ขึ้นใจครับ ทำไปตามนั้น อย่ามีพิรุธ อย่าโวยวาย อย่าหยาบคาย และที่สำคัญ #อย่าทำท่าทางที่คุกคามเจ้าหน้าที่ เพราะเค้ามีอำนาจเต็มในการควบคุมตัวท่านตาม พรก.ฉุกเฉินฯนะครับ และบทลงโทษผู้ที่ #จงใจละเมิดนั้น รุนแรงมากครับ ทั้งคุกทั้งปรับ