รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยถ้อยคำที่จะต้องกล่าวปฏิญาณตนนั้นจะต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ การถวายสัตย์ปฏิญาณจึงมิใช่เป็นเพียงพิธีกรรมที่จะทำอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจ แต่เป็นเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญที่ต้องกระทำให้ถูกต้องและครบถ้วน
ตัวอย่างใกล้เคียงที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำหากไม่กระทำจะเป็นผลให้บรรดาการใดๆ ที่กระทำขึ้นต่อจากนั้นจะเสียเปล่าหรือใช้บังคับไม่ได้ ได้แก่ การเบิกความเป็นพยานต่อศาลที่กฎหมายบัญญัติว่า ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้องสาบานตน หรือกล่าวปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน หากพยานให้การโดยมิได้สาบานตนหรือมิได้กล่าวคำปฏิญาณตามกฎหมายคำเบิกความของพยานนั้นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานมิได้และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฯ ที่ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้ ปรากฏตามคำพิพากษาฎีกาที่ 4818/2533
ตัวอย่างที่ผมนำมาเป็นข้อมูลคือขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญาซึ่งมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ยังต้องกระทำให้ครบถ้วนไม่เช่นนั้นกระบวนการที่ตามมาจะเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้น หากเป็นเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศกำหนดยิ่งต้องปฏิบัติตามให้ครบถ้วน
จึงขอเตือนมายังคณะรัฐมนตรีอีกครั้งว่าการถวายสัตย์ปฏิญาณของพวกท่านกระทำไปโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญพวกท่านยังเข้ารับหน้าที่ไม่ได้ บรรดาการกระทำใดก็ตามที่ทำไปภายหลังการถวายสัตย์ปฏิญาณที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญย่อมเสียไปทั้งสิ้น การกระทำโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีอำนาจแต่ยังฝืนกระทำกฎหมายถือว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือประสงค์ต่อผล พยานหลักฐานปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว ตัวใครตัวมันครับ
วัฒนา เมืองสุข
18 สิงหาคม 2562
Watana Muangsook
...
ผิดทั้งคณะ— ไทกร พลสุวรรณ (@Thaikorn1) August 18, 2019
กรณีคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณขัดรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการกระทำผิดทั้งคณะ
เพราะ ครม.ทุกท่านได้กล่าวคำถวายสัตย์ฯตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้กล่าวนำ
เรื่องนี้คงปล่อยผ่านไปไม่ได้
เนื่องจากการกระทำที่ตามมาหลังการถวายสัตย์ฯล้วนใช้บังคับมิได้ตามที่ รธน.ม.5 ได้บัญญัติไว้#ไทกร pic.twitter.com/gUJQsNic7e