BBC News บีบีซีไทย - เพลงสรรเสริญพระบารมี : จาก "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร" ถึงกิจกรรม "ไม่ยืนในโรงภาพยนตร์" https://t.co/u39zujOxUq— independence (@redbamboo16) August 27, 2019
ยืน-ไม่ยืนในโรงหนัง
กฎหมายว่าอย่างไรในเรื่องนี้ที่มา บีบีซีไทย
ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทยว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรม ซึ่งออกภายใต้ พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 โดยมาตรา 6 (3) ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ระบุว่า บุคคลทุกคนจักต้องเคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่น ๆ ซึ่งบรรเลงในงานทางราชการ งานสังคมหรือในโรงมหรสพ
ต่อมา พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2486 ได้กำหนดบทลงโทษว่า ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
บีบีซีไทยได้สอบถามไปยังกลุ่มนิติการ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บังคับใช้ พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับคำยืนยันว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมไม่มีผลบังคับใช้แล้วหลังจากที่มีการยกเลิก พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 และประกาศใช้ พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 แทน
"พ.ร.บ.วัฒนธรรมฯ ปี 2485 ถูกยกเลิกไปแล้วครับ ปัจจุบันใช้ พ.ร.บ.วัฒนธรรมฯ 2553 ที่เน้นการส่งเสริมทางวัฒนธรรมเท่านั้น" เจ้าหน้าที่กลุ่มนิติการระบุ ซึ่งหมายความว่าปัจจุบันไม่มีบทลงโทษนี้แล้ว
ต่อมา พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2486 ได้กำหนดบทลงโทษว่า ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
บีบีซีไทยได้สอบถามไปยังกลุ่มนิติการ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บังคับใช้ พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับคำยืนยันว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมไม่มีผลบังคับใช้แล้วหลังจากที่มีการยกเลิก พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 และประกาศใช้ พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 แทน
"พ.ร.บ.วัฒนธรรมฯ ปี 2485 ถูกยกเลิกไปแล้วครับ ปัจจุบันใช้ พ.ร.บ.วัฒนธรรมฯ 2553 ที่เน้นการส่งเสริมทางวัฒนธรรมเท่านั้น" เจ้าหน้าที่กลุ่มนิติการระบุ ซึ่งหมายความว่าปัจจุบันไม่มีบทลงโทษนี้แล้ว
ยืน-ไม่ยืนในโรงหนัง
ประเด็นถกเถียงเรื่องการไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง บางกรณีถึงขั้นฟ้องร้องกันในชั้นศาล
ล่าสุดนักแสดงหนุ่ม "สราวุธ มาตรทอง" ได้บันทึกภาพชายคนหนึ่งที่ไม่ยืนถวายความเคารพต่อเพลงสรรเสริญพระบารมีที่โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ฯ และนำคลิปไปเผยแพร่ทางอินสตาแกรม พร้อมเขียนข้อความแสดงความไม่พอใจต่อพฤติกรรมดังกล่าว
ต่อมาทางเพจของโรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์ฯ ได้ออกมาโพสต์ข้อความเตือนว่า การถ่ายภาพหรือวิดีโอในโรงภาพยนตร์ถือเป็นความผิด มีโทษจำคุก 6 เดือน-4 ปี และปรับตั้งแต่ 1-8 แสนบาท
กรณีนี้มีผู้แสดงความคิดเห็นมากมาย บางส่วนเห็นด้วยกับการตักเตือนจากทางโรงภาพยนตร์ ขณะที่บางส่วนสนับสนุนนักแสดงหนุ่มที่วิจารณ์การ "ไม่ยืน" ในโรงภาพยนตร์
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีโรงภาพยนตร์ได้กลายเป็นการกระทบกระทั่งและเป็นคดีความเมื่อนายนวมินทร์ วิทยกุล ได้ขว้างปาสิ่งของใส่นายโชติศักดิ์ อ่อนสูงและเพื่อน ด้วยความไม่พอใจที่ทั้งสองไม่ยืนขึ้นระหว่างการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีที่โรงภาพยนตร์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2550
นายโชติศักดิ์และเพื่อนได้ยื่นฟ้องนายนวมินทร์ในข้อหาทำร้ายร่างกาย หมิ่นประมาทและดูหมิ่นซึ่งหน้า ขณะที่นายนวมินทร์ก็ยื่นฟ้องนายโชติศักดิ์ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
สำนักข่าวประชาไทรายงานว่า ท้ายสุดพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องนายนวมินทร์ในข้อหาทำร้ายร่างกายและหมิ่นประมาท ขณะเดียวกันก็มีคำสั่งไม่ฟ้องนายโชติศักดิ์ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย โดยอัยการให้เหตุผลว่า การไม่ยืนแสดงความเคารพระหว่างเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี แม้จะเป็นกิริยาที่ไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่ประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติ แต่ไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
กรณีของนายโชติศักดิ์ ทำให้เกิดการรณรงค์ภายใต้สโลแกน "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม" เพื่อเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงและการดำเนินคดีกับผู้เห็นต่าง
ผศ.สาวตรี นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ มธ. ให้ความเห็นกับบีบีซีไทยว่า การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
"มันเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญเป็นการดูหมิ่นท่าน หรือว่าเป็นการใส่ความ หรืออาฆาตมาดร้ายท่าน (การไม่ยืนระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมี) ไม่ควรถูกตีความไปไกลขนาดนั้น"
ผศ. สาวตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 นั้นมีโทษสูง คือ จำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี ดังนั้นการตีความว่าการกระทำใดเข้าข่ายความผิดนี้หรือไม่จึงต้องทำอย่างระมัดระวังและเคร่งครัด
เสาร์ที่ 31 ส.ค. เวลา 10 โมงเช้า
ข้อถกเถียงเรื่องการยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีที่กลับมาอีกครั้ง ทำให้นักกิจกรรมด้านการเมืองและสิทธิเสรีภาพกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นแอดมินเพจ "นักการมีม" จัดกิจกรรม "Not Stand at Major Cineplex" โดยมีการนัดหมายทางเฟซบุ๊ก เชิญชวนให้คนที่ไปชมภาพยนตร์ไม่ลุกขึ้นยืนระหว่างการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ในห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์ที่ 31 ส.ค. นี้ ล่าสุดมีผู้กดแสดงความสนใจร่วมกิจกรรมเกือบ 4,000 คน
ทั้งนี้ ผู้สร้างกิจกรรมไม่ได้ระบุชื่อภาพยนตร์หรือจุดนัดหมายที่แน่ชัด
แอดมินเพจ "นักการมีม" ผู้ริเริ่มกิจกรรมดังกล่าวให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยว่า กิจกรรมนี้เป็นเพียงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีคนมาร่วมจริง เขาเพียงต้องการจุดประเด็นให้คนพูดคุยในเรื่องนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่ความตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในทุกประเด็นในสังคม
"การที่เรารวมตัวกันไปสัก 50 คน แล้วไม่ยืนพร้อมกันผมไม่คิดว่ามันจะมีผลอะไร เพราะมันไม่ได้ผิดกฎหมายและก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เพราะจริง ๆ แล้วประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ยืนไม่ยืน มันเป็นเรื่องที่ไกลกว่านั้นเยอะ" แอดมินเพจ "นักการมีม" กล่าวกับบีบีซีไทยโดยขอไม่เปิดเผยชื่อ
เขาระบุเปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้ คือเพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีพื้นที่แสดงออกทางความคิดโดยไม่ถูกปิดกั้น และเรื่องการไม่ยืนในโรงภาพยนตร์เป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ของการรณรงค์ในเรื่องนี้
"ไม่จำเป็นต้องบังคับ ถ้าเราต้องการจะทำอะไรก็ควรจะออกมาจากความต้องการของเราจริง ๆ ...คนเราน่าจะพอมีความสามารถที่จะตระหนักด้วยตัวเองได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ตัวเองต้องการจะทำจริง ๆ" เขาระบุ
อ่านบทความเต็มได้ที่