รูปธรรมอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เห็นว่าฝ่ายค้าน
คสช.๒ ไม่ว่าจะเป็นพรรคใหม่หรือพรรคเก่า มีทัศนคติ วิสัยทัศน์
และค่านิยมทางการเมืองการปกครอง
สอดคล้องกับผลประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนมากกว่าองคาพยพจากการรัฐประหาร เช่น กองทัพ
วุฒิสภา และพรรคพลังประชารัฐ
ก็คือ “พรรคเพื่อไทย-อนาคตใหม่ ‘เห็นพ้อง’ เตรียมแก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดทางร่าง
รธน.ใหม่ทั้งฉบับ โดย ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งของประชาชน” ซึ่งเป็นผลพวงจากการเสวนารำลึกครบรอบ
๓ ปีการทำประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญ ‘หมกเม็ด’ ๗ สิงหา ๕๙
ที่มาเป็นรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
อันก่อปัญหาทางการเมืองการปกครองยุ่งเหยิงมากมาย กระทั่งรัฐบาลชุดที่สองของคณะยึดอำนาจก็ยังติดกับดักของตนเอง
‘ดิ้นกระแด่ว’ เป็น ‘แมวคราว’ ถูกน้ำร้อนขณะนี้
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาหลัก
มาทำความเข้าใจกับศัพท์แสงบางคำ ดังเช่น ‘แมวคราว’
= “ใจคอไม่คิดจะรับผิดชอบอะไรเลยหรือ” ตัวอย่างจากที่ @hengsuaycountry เอ่ยถึงท่าทีล่าสุดของหัวหน้า คสช.๒
“น้ำแล้ง :โทษชาวบ้านทำนาปรัง น้ำท่วม :โทษชาวบ้านกีดขวางทางน้ำ
ข้าวยากหมากแพง :โทษชาวบ้านขี้เกียจ ไม่รู้จักปรับตัวเลยจน ราคาพืชผลต่ำ :โทษชาวบ้านปลูกพืชซ้ำซาก”
‘ดิ้นกระแด่ว’ :ดูได้ที่โพสต์ประกอบภาพของ @Stop_Dadjarit “หลังจากผูกเชือกรองเท้าเอง
ฉีดยาไม่ร้อง เล่นซนจนหนามตำ ตอนนี้น้องพาคนตาบอดขึ้นรถไฟฟ้าได้แล้วครับ
น้องมีพัฒนาการที่ดี”
‘หมกเม็ด’ :เห็นได้จากการที่ เจษฎ์ โทณะวณิก นักกฎหมายสาย ‘สลิ่ม’
พยายามลดความเสียหายอันเกิดจากการกล่าวคำถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญของ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ตนเองก็ยอมรับว่าขาดตกบกพร่อง
“รัฐธรรมนูญไมได้ระบุชัดเจนว่าการถวายสัตย์ปฏิญานไม่ครบถ้วนจะผิด...และไม่มีบทลงโทษบัญญัติไว้”
เขาเสนอทางแก้ไขว่านอกจากจะทำไม่รู้ไม่ชี้ ไม่แคร์ก็ได้แล้ว
หากเรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ “วินิจฉัยในทางร้าย
เท่ากับการแถลงนโยบายจะต้องกลายเป็นศูนย์...ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่
ยังไม่มีรัฐบาล” ดังนั้น คสช.สามารถครองอำนาจต่อไป และ “ต้องกลับมาบริหารประเทศ”
หรืออีกตัวอย่างที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม มาจากคำอภิปรายที่อาคารเอนกประสงค์
มธ. ท่าพระจันทร์ หัวข้อ ‘๓ ปีประชามติ
ได้อะไรเสียอะไร เอาไงต่อ’ ของ น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิธินันท์ แห่งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
เธอกล่าวถึงระหว่างการรณรงค์ประชามติร่าง
รธน. ปี ๕๙ ว่ามีการ ‘ข่มขู่คุกคาม’ และดำเนินคดีกับ “กับประชาชนที่ออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
ไม่ว่าจะเป็นการแจกจ่ายเอกสาร ใบปลิว และสติ๊กเกอร์โหวตโน” ถูกจับกุมอย่างน้อย ๒๑๒
คน
จนบัดนี้คดีไม่สิ้นสุดอีก ๕๓ ราย “สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เสรีและเป็นธรรมของการทำประชามติ...และมีการ
‘ปกปิด’ ข้อเท็จจริงบางอย่าง
อย่างเช่นที่มา ส.ว. ที่มาในรูปแบบคำถามพ่วง” อีกทั้ง “ทุกคนถูกปิดปากและรับทราบข้อมูลได้จากฝ่ายรัฐเพียงอย่างเดียว”
เช่นนี้ข้อเสนอที่ได้มาจากการเสวนาครบรอบ ๓
ปีประชามติรับร่าง รธน.อีกรายการที่อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา แยกคอกวัว
ก่อนหน้านั้นเมื่อ ๗ ส.ค. สอดคล้องอย่างยิ่งกับความต้องการของประชาชนเสียงข้างมากที่เลือกพรรคการเมืองซึ่งมีนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.ไอลอว์ กล่าวถึงการแก้รัฐธรรมนูญว่า
“อาจต้องเริ่มที่การแก้ไขที่มา ส.ว. ให้มีที่มาจากการเลือกตั้ง” โดย “ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่ประสบปัญหาจากนโยบายของรัฐ...มีวิธีร่างอย่างเป็นประชาธิปไตย
และการมีส่วนร่วมของประชาชน”
ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อหมกเม็ดอยู่ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
ว่าการแก้ไข “จะต้องใช้เสียง ส.ว. ซึ่งอยู่ในการอุปถัมภ์ของ คสช.”
นอกจากนั้นยังมีการวางเงื่อนงำเอื้ออำนวยต่อการสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหารจนทำให้ “ในระยะยาวจำเป็นต้องร่างใหม่ทั้งหมด
ปะเหมาะเจาะจงยิ่งขึ้นไปอีก
กับการแถลงของกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย เมื่อ ๖ ส.ค.
ว่าจะดำเนินการเพื่อให้ไปสู่การ ‘จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่’ ผ่านสมาชิสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ๒๐๐ คน
ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
สสร.นี้จะเป็นผู้คัดสรร ‘คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ’ เบื้องต้นจำนวน ๒๙ คน
เมื่อได้ตัวร่างแล้วจึงส่งให้ สสร.พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการเลือกตั้งจัดทำประชามติ
ให้ประชาชนเป็นผู้อนุมัติร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ในที่สุด
วัฒนา เมืองสุข กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อไทยคนหนึ่งกล่าวถึงความจำเป็นต้องร่าง
รธน.ใหม่ว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีปัญหา “ไม่เคารพเจตนารมณ์ของประชาชน” แล้วยัง “เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ”
เพราะรัฐบาล คสช.๒ มีถึง ๑๙ พรรค ‘ขาดความเป็นเอกภาพ’ ยากต่อการแก้ไขปัญหา
เห็นได้จากกรณี ๑๐
พรรคจิ๋วซึ่งได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์มี ส.ส.ในสภา แต่
กกต.ใช้วิธีปัดเศษให้คะแนนเอื้ออาทรจัดสรรให้พรรคละ ๑ ที่นั่ง ส.ส. เพื่อเข้าไปร่วมโหวตกับฝ่ายสืบทอดอำนาจ
คสช. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ครั้นเมื่อตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองเหล่านี้กลายเป็นเบี้ยรองบ่อน
ทั้ง คสช. และพรรคใหญ่ (พปชร.) ไม่ใยดี ไม่มีที่นั่งรัฐมนตรีและตำแหน่งทางการเมืองตกไปถึงพวกตน
จึงเกิดการขู่แยกตัวจากรัฐบาล จนต้องมีการเอาใจจัดหาตำแหน่งให้
ประชาชนจะหวังอะไรได้กับประสิทธิภาพของรัฐบาล
คสช.๒ ไม่เพียงการจัดวางรัฐมนตรีจากชุดเดิมยุค คสช.๑
ซึ่งล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตลอด ๕ ปีที่ผ่านมา
แล้วยังจะต้องจับยัดคนของพรรคปัดเศษเข้าสู่ตำแหน่ง มาตรฐานความสามารถไม่มี