โดย หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
13 มิถุนายน 2019
5 ปีที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารประเทศ มีคำอุปมาอุปไมยจากคนในรัฐบาลเองว่าเป็นการ "ลงเรือแป๊ะ" พร้อมเปรียบเปรยสมาชิก 5 องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ว่าเป็น "แม่น้ำ 5 สาย"
วันนี้ เมื่อคนไทยได้ "นายกฯ หน้าเดิม" ที่ชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอยู่ระหว่างการสรรหาตำแหน่งรัฐมนตรี แกนนำรัฐบาลก็ยกคำเปรียบเดิม ๆ มาพูดถึง 19 พรรคร่วมรัฐบาล ที่กลายเป็น "แม่น้ำ 19 สาย" ว่า "ลงเรือลำเดียวกันแล้ว... ต้องแบ่งกันว่าใครพาย"
การเปรียบเปรยประเทศเป็น "รัฐนาวา" เป็นคำคุ้นหูในสังคมการเมืองไทย ทว่าหลังจากประเทศไทยเคลื่อนเข้าสู่ "ระยะเปลี่ยนผ่านสำคัญ" และการจัดสรร "ระเบียบอำนาจใหม่" ยังไม่ลงตัวนักแม้มีการเลือกตั้งเมื่อ 24 มี.ค. 2562 ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ว่าด้วย "รัฐอากาศยาน" ซึ่งอำนาจ "สมบูรณาญาสิทธิ์" ตกเป็นของ "กัปตันเครื่องบิน"
บีบีซีไทยสรุปและเรียบเรียงคำปาฐกถาของ ศ.ดร. ชัยวัฒน์ ในงานดิเรกทอล์ค 2562 "รัฐศาสตร์ในยุคสมัยของความท้าทายและทางเลือก" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวาระครบรอบ 70 ปี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...
ย้อนความคิดก่อนเกิด "รัฐเรือแป๊ะ" ใครคือ "นายท้ายเรือ"
เมื่อย้อนกลับมาดู "รัฐนาวา" ในสังคมการเมืองไทย" ในปี 2560 ศ. ธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการอิสระ ออกมาตั้งโต๊ะวิพากษ์การปฏิรูปประเทศภายใต้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ โดยเปรียบเหมือน "พายเรือวนในอ่าง" และใช้คำว่า "จาก 'เรือแป๊ะ' กับ 'แม่น้ำ 5 สาย' เริ่มกลายเป็น 'ยุทธ์เรือโยง ป้อมเรือพ่วง' ลากจูงกันไป ทุลักทุเลมากขึ้น จนอาจจะเกยหาดหรือติดเกาะแก่งได้ถ้าฝืนอยู่ในอำนาจเกินโรดแมป"
วันนี้ เมื่อคนไทยได้ "นายกฯ หน้าเดิม" ที่ชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอยู่ระหว่างการสรรหาตำแหน่งรัฐมนตรี แกนนำรัฐบาลก็ยกคำเปรียบเดิม ๆ มาพูดถึง 19 พรรคร่วมรัฐบาล ที่กลายเป็น "แม่น้ำ 19 สาย" ว่า "ลงเรือลำเดียวกันแล้ว... ต้องแบ่งกันว่าใครพาย"
การเปรียบเปรยประเทศเป็น "รัฐนาวา" เป็นคำคุ้นหูในสังคมการเมืองไทย ทว่าหลังจากประเทศไทยเคลื่อนเข้าสู่ "ระยะเปลี่ยนผ่านสำคัญ" และการจัดสรร "ระเบียบอำนาจใหม่" ยังไม่ลงตัวนักแม้มีการเลือกตั้งเมื่อ 24 มี.ค. 2562 ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ว่าด้วย "รัฐอากาศยาน" ซึ่งอำนาจ "สมบูรณาญาสิทธิ์" ตกเป็นของ "กัปตันเครื่องบิน"
บีบีซีไทยสรุปและเรียบเรียงคำปาฐกถาของ ศ.ดร. ชัยวัฒน์ ในงานดิเรกทอล์ค 2562 "รัฐศาสตร์ในยุคสมัยของความท้าทายและทางเลือก" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวาระครบรอบ 70 ปี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...
ย้อนความคิดก่อนเกิด "รัฐเรือแป๊ะ" ใครคือ "นายท้ายเรือ"
เมื่อย้อนกลับมาดู "รัฐนาวา" ในสังคมการเมืองไทย" ในปี 2560 ศ. ธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการอิสระ ออกมาตั้งโต๊ะวิพากษ์การปฏิรูปประเทศภายใต้รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ โดยเปรียบเหมือน "พายเรือวนในอ่าง" และใช้คำว่า "จาก 'เรือแป๊ะ' กับ 'แม่น้ำ 5 สาย' เริ่มกลายเป็น 'ยุทธ์เรือโยง ป้อมเรือพ่วง' ลากจูงกันไป ทุลักทุเลมากขึ้น จนอาจจะเกยหาดหรือติดเกาะแก่งได้ถ้าฝืนอยู่ในอำนาจเกินโรดแมป"
ขณะที่ลักษณะความคิดว่าด้วย "รัฐนาวา" ถูก ศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. อธิบายผ่านรูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจ 2 แบบ
แบบแรกคือ ประชาชนเป็น "ฝีพาย" ต้องทำตามสิ่งที่ "นายท้ายเรือ" กำหนดทุกอย่าง จะโต้แย้งไม่ได้
อีกแบบคือ ประชาชนที่ผ่านประสบการณ์และเรียนรู้เรื่องการเมืองการปกครองมาชั่วชีวิต ย่อมมีศักยภาพในการ "ผู้ถือหางเสือเรือ" ด้วยตนเอง
ศ.ดร. เกษียร ยังเคยนำเนื้อเพลง "ชาติมหาชัย" ฉบับรัฐนาวาที่มีธรรมนูญของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แต่งขึ้นช่วงเหตุการณ์อภิวัฒน์สยาม 2475 มาอธิบาย-ฉายภาพ "รัฐนาวาไทย" โดยเปรียบเทียบการปกครองผ่านระบอบรัฐธรรมนูญกับช่วงก่อนหน้านั้น
"ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ลูกเรือ ผู้โดยสาร รัฐนาวาสยาม ถูกนายท้ายเรียกร้องให้ช่วยกันลงมือจ้วงพาย และอย่าอวดดีเถียงนายท้าย นายท้ายจะคัดเรือไปทางไหนก็ควรพายไปทางนั้นโดยดุษณี มิฉะนั้นก็จงโดดน้ำให้พ้น ๆ ไป มิหนักเรือเสียจะดีกว่าแล้ว ในระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐนาวาสยามกลับอยู่ใต้การนำและเป็นของลูกเรือชาวสยามทั้งปวงที่จะร่วมกันนำเรือผ่านเกาะแก่ง ภยันตรายไปอย่างปลอดภัย" ศ.ดร. ชัยวัฒน์ อ้างถึงข้อเขียนของนักวิชาการร่วมสำนัก
ทำเนียบรัฐบาล
คำบรรยายภาพพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ สมัยที่สอง ที่ทำเนียบรับาล เมื่อ 11 มิ.ย.
"รัฐอากาศยาน" ภายใต้การบงการทุกชีวิตด้วยคน ๆ เดียว
ทว่าในยุคสมัยที่ความสำเร็จทางเทคโนโลยีล้ำหน้า และเปลี่ยนคำถามในเชิงทฤษฎีรัฐศาสตร์ที่ว่า "รัฐแลเห็นโลกอย่างไร" มาเป็น "รัฐอยากให้โลกแลเห็นตัวรัฐอย่างไร" ศ.ดร. ชัยวัฒน์ มองเห็นรัฐเป็นอย่างไร
นักปรัชญาการเมือง พ่วงตำแหน่ง กีรตยาจารย์แห่ง มธ. สาขาสังคมศาสตร์ ขอนำเสนออุปลักษณ์ใหม่ "รัฐอากาศยาน (Aircraft of State) แทน "รัฐนาวา" โดยแสดงภาพการปกครองใน "รัฐอากาศยาน" ที่เริ่มตั้งแต่ย่างเท้าเข้าไปในสนามบิน เดินขึ้นเครื่องบิน เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ฟากฟ้า ก่อนลงจอดเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
สนามบิน ถือเป็น "พื้นที่พิเศษ" เพราะมีการกำหนดพื้นที่หวงห้าม อาทิ พื้นที่ผู้โดยสารขาออก, จุดตรวจค้นถึงตัวอากาศยาน, พื้นที่คัดแยกสัมภาระ, พื้นที่ไปรษณียภัณฑ์, ครัวการบิน ฯลฯ ถูกควบคุมผ่าน "ระบบการอนุญาต" เฉพาะผู้มีหนังสือเดินทางและบัตรโดยสารเท่านั้นที่ผ่านเข้าไปได้
ไม่เฉพาะการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเคลื่อนไหว แต่ผู้คนยังถูกจำกัดสิทธิในการแสดงออกด้วย หากใครร้องว่า "ระเบิด" ก็จะถูกจับอย่างทันท่วงที
ที่สำคัญ "อำนาจอธิปไตยในรัฐ" ยังเปลี่ยนแปลงไป เพราะมีสินค้า "ปลอดภาษี" ทั้งที่ภาษีเป็นสิ่งจำเป็นของรัฐ, ใช้จ่ายด้วยสกุลเงินต่าง ๆ รวมถึงอำนาจอนุมัติขึ้นเครื่องบินก็เป็นของพนักงานสายการบิน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ศ.ดร. ชัยวัฒน์ พาท่องไปต่อใน "รัฐอากาศยาน" เมื่อลึกเข้าไป-ก้าวเท้าเข้าไปในเครื่องบิน ก็จะเข้าสู่ "พื้นที่พิเศษยิ่งกว่าเดิม" เนื่องจากพื้นที่อากาศยานถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ห้วงตามเวลาคือ ห้วงที่เครื่องบินยังจอดอยู่สนามบิน กับ ห้วงที่เครื่องบินขึ้นไปแล้ว หรือ อากาศยานระหว่างการบิน
"เมื่ออากาศยานอยู่ระหว่างการบิน อำนาจอธิปไตยได้เปลี่ยนไป จากที่เคยอยู่ในรัฐ มาประดิษฐานอยู่ในมือคู่หนึ่งของคน ๆ เดียวคือกัปตันบนเครื่องบิน ซึ่งกฎหมายเรียกว่า ผู้ควบคุมอากาศยาน" เขาระบุ ก่อนอรรถาธิบายอำนาจตามกฎหมายของกัปตัน และย้ำว่า อำนาจการปกครองในอากาศยานจะเด็ดขาด และอยู่ในมือของคน ๆ เดียวทันทีที่เครื่องบินทะยานขึ้นสู่ฟากฟ้า
ทุกชีวิตในอากาศยานถูกควบคุม-ตกอยู่ภายใต้การบงการของ "ผู้ควบคุมอากาศยาน" เพราะพื้นที่ในเครื่องบินจำกัด และขั้นตอนการบริการถูกออกแบบไว้ชัดเจนแล้ว
- ต้องนั่งเมื่อเจ้าหน้าที่สั่ง
- ต้องคาดเข็มขัดเมื่อมีสัญญาณเตือน
- จะไปห้องน้ำจัดการกับธรรมชาติส่วนตัวได้ก็ต่อเมื่อมีสัญญาณอนุญาตดัง
- จะกินข้าวต้องเป็นตามเวลาที่เครื่องบินกำหนด ไม่ใช่เวลาหิว
- แม้ลมหายใจก็ถูกควบคุมไว้ในมือกัปตัน เพราะอุณหภูมิ อากาศ และออกซิเจน ถูกควบคุมตลอดการเดินทาง
- หากผู้โดยสารไม่ทำตามคำสั่ง กัปตันมีหน้าที่จัดการกับผู้โดยสารนั้นตามกฎหมาย
ศ.ดร. ชัยวัฒน์ อธิบายว่า อำนาจอันเหมือนจะเป็น "สมบูรณาญาสิทธิ์" ของกัปตันเครื่องบิน ออกแบบเพราะ 2 เงื่อนไขคือ 1. อากาศยานเดินทางบนฟากฟ้า ทุกชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในสภาพที่ไม่มีอะไรรองรับ นอกจากตัวอากาศยานนั้นเอง และ 2. ฝ่ายที่กระทำผิด ความผิดอากาศยานอาจเป็นความผิดที่สำเร็จแล้ว กำลังกระทำผิด หรือพยายามจะทำ ความผิดเหล่านี้ล้วนถือว่าผิด และผู้ควบคุมอากาศยานเข้าจัดการได้
ถ้าอากาศยานเป็นรัฐ ก็กล่าวได้ว่า "รัฐเป็นทุกสิ่งของชีวิต" ไม่ว่าจะเป็น อาหาร อากาศ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ท่องเที่ยว ดังนั้นอำนาจเหนือทุกชีวิตก็เข้มข้นไพศาลไปด้วย
"ไม่ว่ากัปตันจะมีที่มาจากไหน จะผ่านการเห็นชอบคัดเลือกโดยคนส่วนใหญ่หรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อรัฐทะยานขึ้นฟ้า เป็น 'รัฐอากาศยาน' แล้ว ระบอบการปกครองในรัฐอากาศยาน ก็จะแปลงร่างเป็นระบอบสมบูรณาสิทธิ์ในมือของผู้ควบคุมอากาศยานนั้นเอง" นักปรัชญาการเมืองสำนัก มธ. กล่าว
อำนาจเบ็ดเสร็จ ที่ไม่คงอยู่ตลอดกาล
คำถามสำคัญคือเราจะอยู่ใน "รัฐอากาศยาน" นี้อย่างไร และจะทำอย่างไรเพื่อหลุดพ้นจากอำนาจเบ็ดเสร็จที่มากับ "รัฐอากาศยาน" ศ.ดร. ชัยวัฒน์ ซึ่งจัดเป็นนักสันติวิธีลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย ตอบคำถามนี้ด้วยการชวนดูภาพยนตร์เรื่อง "วอลล์-อี (WALL-E) หุ่นยนต์กำจัดขยะ" ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 100 ภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในโลกเมื่อปี 2016
ในทัศนะของเขา คำตอบต่อการจำกัดอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ของ "รัฐอากาศยาน" อาจอยู่ที่การฟื้นความเป็นจริงให้เห็นว่า แม้อำนาจ "รัฐอากาศ" ดูเหมือนเบ็ดเสร็จ แต่ก็เป็นเช่นนั้นเฉพาะเมื่อขึ้นฟ้า เพราะ "รัฐอากาศยาน" ไม่สามารถลอยล่องอยู่ได้อากาศตลอดไปได้
"เมื่อใดที่ 'รัฐอากาศยาน' ลงสู่พื้นดิน อำนาจเบ็ดเสร็จของ 'รัฐอากาศยาน' ก็น่าจะสิ้นสุดเมื่อประตูแห่งอากาศยานเปิดออก และลมหายใจแห่งเสรีภาพกลับคืนมา" ศ.ดร. ชัยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
อ่านบทความเต็มได้ที่
...