ผักตบยังไม่ทันได้สะเด็ดน้ำ ดอกไม้พานไหว้ครูก็มา
เป็นสัญญานแห่งความหมองหมางกับยุค คสช.๒ ในหมู่ประชากรรุ่นใหม่ แม้กระทั่งกลุ่มที่อยู่ในวัยมัธยม
ตั้งแต่ชุมพลพิสัย ไปยังพิษณุโลก ถึงโรงเรียนหอวัง การตกแต่งเต็มไปด้วย รถถัง
ตราชั่งเอียง กล่องบัตรเลือกตั้ง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และชูสามนิ้ว
ร้อนถึงโฆษกกองทัพบก
ต้องออกมาแก้ตัวอย่างเคยๆ “ยืนยันไม่ใช่ทาง ทบ.สั่งการแต่อย่างใด” พ.อ.วินธัย
สุวารี แถลงถึงกรณีที่เป็นข่าวว่ามีตำรวจเข้าไปพบครูวิชาสังคมโรงเรียนชุมพลพิสัย
ตักเตือนเรื่องพานไหว้ครูเป็นรูปตาชั่งเอียง ข้างที่หนักมากเขียนว่า ๒๕๐ เสียง อีกข้างระบุว่า
“หลายล้านเสียง”
ผู้อำนวยการโรงเรียนชี้แจงว่าพานเหล่านั้นเป็นชุดประกวดด้านความคิดสร้างสรร
นอกจากตาชั่งเอียงแล้วยังมีรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยด้วย กลุ่มนักเรียนชั้น ม.๖ ที่ประดิษฐ์พานชี้แจงว่าเป็นความคิดของพวกเขาเอง
ไม่ได้มีการปรึกษาครูแต่อย่างใด
และที่ทำพานเป็นรูปตาชั่งเพราะต้องการจะสื่อว่า
“เสียงของประชาชนมีความเท่าเทียมกับเสียงของ ส.ว.” ซึ่งเจ้าหน้าที่ขอให้ลบภาพพานเหล่านั้นออกจากโซเชียลมีเดียให้หมด
นอกจากนั้นผู้อำนวยการยังได้อบรมแล้วว่า “หนูๆ ยังเป็นเด็กอยู่
ยังไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง”
หลังจากเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก “และแชร์กันจนเป็นที่ฮือฮาเมื่อเช้าว่าอาจมีความผิด
ให้ยุติการเผยแพร่ภาพ…จนเด็กๆ ต้องมาไล่ขอร้องคนที่ติดต่อได้ให้ช่วยลบโพสต์” ไปถึง
ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.
หนึ่งในมือกฎหมายคณะนิติราษฎร์
โพสต์เฟชบุ๊ค “ประกาศก้องเลยนะฮะ...๑.เด็กๆ ที่ทำพาน
รวมทั้งโรงเรียนไม่มีความผิดใดๆ เลยตามกฎหมาย ๒.คนถ่ายรูป
คนแชร์ภาพไม่มีความผิดใดๆ ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะป.อาญา
หรือ พ.ร.บ.คอมฯ...
๓.เตือนแก๊งมีสีเลยนะว่า การเที่ยวไปข่มขู่ผู้อื่นให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือจำยอมต่อสิ่งใด
โดยที่ตัวเอง ‘ไม่มีอำนาจ’ ตามกฎหมาย เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา…ระวังเจอเขาฟ้องกลับ” นี่เองคงมีส่วนทำให้โฆษก
ทบ. รีบปฏิเสธ
ว่า “เหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ทหาร
จึงยังไม่ทราบว่าเรื่องเป็นอย่างไร”
(https://www.matichon.co.th/politics/news_1537222, https://www.matichon.co.th/education/news_1537317 และ https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1591156)
ใครบ้างจะเชื่อว่า คสช.ไม่รู้เห็นกับกระทำการของเจ้าหน้าที่
ลุกล้ำข่มขู่ประชาชนเช่นนั้น หากว่าเจ้าหน้าที่เหล่านั้นทำไปเองยิ่งหนักเข้าไปใหญ่
เพราะมันแสดงว่า คสช.ปล่อยให้เจ้าพนักงานทำตามอำเภอใจ
ควบคุมได้แต่ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจและกำลังบังคับ
ทำนองเดียวกันกับคำปรารภของผู้ใช้สื่อโซเชียลรายหนึ่ง
@WuthLive ถามว่า “เกิดอะไรขึ้น? นี่ไม่ใช่เรื่องตลก!! รัฐบาลหลังการเลือกตั้งนี้ยังสะท้อนความเป็นรัฐบาลเผด็จการที่พร้อมคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนที่คิดต่างอยู่เสมอ”
และว่าเป็นการ “พยายามสร้างความหวาดกลัว
ถ้าแม้คุณจะแค่ทำคลิปตลกล้อเลียนยังทำไม่ได้
ก็อย่าหวังจะอาจหาญไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างซึ่งหน้าตรงไปตรงมา” เขาพาดพิงถึงกรณีที่มีหลายรายโพสต์ระบุถึงการทำคลิปล้อเลียน
ทำให้ถูกจ้องชี้เป้าจนจนเป็นที่น่าสพรึง
ดังเช่นผู้ใช้นาม ‘ซอง ดูฮี’ เขียนว่า “ท่านเล่นไปเปิดคลิปผมแล้วถามผู้คนว่ารู้จักคนนี้ไหม
ผมเริ่มกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยกับชีวิต...หากท่านต้องการปรับทัศนคติผม #ท่านจงมาแบบวีรบุรุษให้ผมชื่นชม อย่ามาแบบมหาโจรให้ผมตื่นกลัว”
หรือจากโพสต์เจ้าของบัญชี
‘คิง ก่อนบ่าย’ อ้าง “เหตุผลบางประการ...ขอความกรุณาช่วยลบคลิปและไม่แชร์ต่อ” สิ่งที่เขา
“เล่นตลก เลียนเสียงนายกฯ” หรือในรายของ ‘เอ็กซ์แพท’ ชายชาวฝรั่งเศสที่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานาน
Yan Marchal โพสต์ว่า “ผมต้องขอโทษต่อคณะ
คสช.” จาการที่เขาทำคลิปล้อเลียนเพลงที่ฝรั่งเรียกว่า ‘Junta Anthem’ ด้วยการแปลงเนื้อเพลง ‘คืนความสุขให้ประเทศไทย’ ตัวอย่างเช่น
“ไม่รักษาสัญญา ขออยู่ยาว” เป็นต้น
ชาวฝรั่งเศสรายนี้มีตำรวจไปหาในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่คลิปวิดีโอของเขา
‘ไปโลด’ มีคนชมเป็นล้าน เจ้าหน้าที่สั่งให้เขาลบคลิปทั้งหมดและเซ็นเอกสารภาษาอังกฤษที่ระบุว่า
การล้อเลียน คสช.ของเขาเป็นการกระทำที่เลวร้าย และเขาได้สำนึกผิดแล้ว
(https://twitter.com/zenjournalist/status/1138931701596471298 และ https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_201788)
พฤติกรรมลุแก่อำนาจอย่างเคยตัวของ คสช.
ที่ติดต่อกันมาจากรัฐบาลประยุทธ์/๑ เป็นเวลา ๕ ปี มาถึงรัฐบาลประยุทธ์/๒ ตามกำหนดอีก
๔ ปี หาใช่ลักษณะอันควรเป็น ไม่ต้องอ้างถึงความเหมาะสมใดๆ ในฐานะผู้ปกครองที่ผ่านการเลือกตั้ง
การประกาศของกลุ่มพรรคการเมืองร่วมสัตยาบัน
๗ พรรค ที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในความเป็นจริงนอกเหนือกลโกงโดยกลไก คสช. โดยปาวารณาว่าจะลงพื้นที่ร่วมกับประชาชน
ทัดทานและคัดค้านการใช้อำนาจนอกเหนือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะโดยทางรัฐธรรมนูญหรือทางธุรกิจ
ย่อมเป็นสิ่งชอบด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมหาชนควรต้องสนับสนุน