ฝันร้ายของคนไทย รัฐบาลวิกฤติเศรษฐกิจยิ่งวิกฤติ
ลม เปลี่ยนทิศ
19 มิ.ย. 2562
ไทยรัฐออนไลน์
นับตั้งแต่ วันเลือกตั้ง 24 มีนาคม จนถึงวันนี้ ผ่านไปแล้ว 87 วัน อีก 3 วัน ก็ครบ 3 เดือนพอดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ มีข่าวว่าจะตั้งรัฐบาลเสร็จกลางเดือนกรกฎาคม ไม่รู้จริงไม่จริง เป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่ใช้เวลานานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่ โผรายชื่อ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ 2 ที่ออกมา ก็ยังขี้ริ้วขี้เหร่จนดูไม่ได้ ท่ามกลางการแก่งแย่งเก้าอี้รัฐมนตรีของแต่ละกลุ่มแต่ละพรรค จนทำท่าจะกลายเป็น “รัฐบาลผัวเมีย” และ “รัฐบาลพี่น้อง” เพราะ “ยกโควตารัฐมนตรีให้กันเองได้” ไม่ต่างอะไรจาก “สภาผัวเมีย” ในอดีตก่อนที่จะถูก คสช.ปฏิวัติเมื่อ 5 ปีก่อน
เป็นเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงต้องถามตัวเอง นี่หรือการปฏิรูปประเทศ
ผลจากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า ส่งผลให้เกิด ภาวะวิกฤติงบประมาณ ตามมา คุณลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลังออกมาเตือนว่า การที่งบประมาณปี 63 จะออกมาล่าช้าไป 3 เดือน จากเดิม ตุลาคม 62 เป็น มกราคม 63 (ถ้าได้รัฐบาลในเดือนกรกฎาคม) ทำให้ “ไม่มีเม็ดเงิน” ลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้ เศรษฐกิจไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 63 (ตุลาคม–ธันวาคม) ได้รับผลกระทบราว 70,000–80,000 ล้านบาท ดังนั้น สศค.จึงต้องหาวิธีชดเชยเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจที่สูญเสียไป เช่น เบิกงบอบรมพัฒนาข้าราชการในไตรมาส 2 หรือ 3 มาใช้ในไตรมาส 1 เป็นต้น
นับตั้งแต่ วันเลือกตั้ง 24 มีนาคม จนถึงวันนี้ ผ่านไปแล้ว 87 วัน อีก 3 วัน ก็ครบ 3 เดือนพอดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ มีข่าวว่าจะตั้งรัฐบาลเสร็จกลางเดือนกรกฎาคม ไม่รู้จริงไม่จริง เป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่ใช้เวลานานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แต่ โผรายชื่อ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ 2 ที่ออกมา ก็ยังขี้ริ้วขี้เหร่จนดูไม่ได้ ท่ามกลางการแก่งแย่งเก้าอี้รัฐมนตรีของแต่ละกลุ่มแต่ละพรรค จนทำท่าจะกลายเป็น “รัฐบาลผัวเมีย” และ “รัฐบาลพี่น้อง” เพราะ “ยกโควตารัฐมนตรีให้กันเองได้” ไม่ต่างอะไรจาก “สภาผัวเมีย” ในอดีตก่อนที่จะถูก คสช.ปฏิวัติเมื่อ 5 ปีก่อน
เป็นเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงต้องถามตัวเอง นี่หรือการปฏิรูปประเทศ
ผลจากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า ส่งผลให้เกิด ภาวะวิกฤติงบประมาณ ตามมา คุณลวรรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลังออกมาเตือนว่า การที่งบประมาณปี 63 จะออกมาล่าช้าไป 3 เดือน จากเดิม ตุลาคม 62 เป็น มกราคม 63 (ถ้าได้รัฐบาลในเดือนกรกฎาคม) ทำให้ “ไม่มีเม็ดเงิน” ลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะทำให้ เศรษฐกิจไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 63 (ตุลาคม–ธันวาคม) ได้รับผลกระทบราว 70,000–80,000 ล้านบาท ดังนั้น สศค.จึงต้องหาวิธีชดเชยเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจที่สูญเสียไป เช่น เบิกงบอบรมพัฒนาข้าราชการในไตรมาส 2 หรือ 3 มาใช้ในไตรมาส 1 เป็นต้น
นี่คือ ผลกระทบต่อเนื่อง จากการ จัดตั้งรัฐบาลล่าช้าไปกว่า 3 เดือน ขณะที่ เศรษฐกิจโลกปี 62 ก็ซบเซาลงอย่างมาก จากสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ทำบันทึกถึง รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการแบงก์ชาติกลุ่ม G20 ว่า การเก็บภาษีของจีนและสหรัฐฯ ทำให้ผลผลิตของเศรษฐกิจโลกลดลงประมาณร้อยละ 0.5 ในปี 2563 คิดเป็นมูลค่า 455,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 14.56 ล้านล้านบาท เกือบเท่ากับ จีดีพีประเทศไทย ทั้งประเทศเลยทีเดียว
คุณลวรรณ ยังเปิดเผยถึง ปัญหางบประมาณในอนาคต จาก นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เช่น การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10% จะเป็นการ ลดหย่อนตามขั้นบันได หรือ คิดภาษี 10% ของรายได้ทั้งหมด เรื่อง การเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ 1,000 บาทจะจ่ายอย่างไร เช่น ผู้สูงอายุที่ได้รับ 600–800 บาทต่อเดือน จะได้เพิ่มเป็น 1,000 บาท แต่ผู้สูงอายุที่ได้รับเงิน 1,000 บาทอยู่แล้ว เท่ากับไม่ได้รับเงินเพิ่ม (แต่เขาหาเสียงว่า จะเพิ่ม 1,000 บาททุกกลุ่มอายุ ก็แปลว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับเงินอยู่ 600, 700, 800, 1,000 บาท จะได้รับเงินเพิ่มคนละ 1,000 บาทเท่ากันหมด)
แค่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคเดียวก็อ่วมอรทัยแล้ว งบประมาณปี 63 มีวงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ถ้าต้อง ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10% (รายได้หายไปอย่างน้อย 35,000 ล้านบาท) จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุเพิ่มคนละ 1,000 บาท ปี 62 มีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน ต้องจ่ายเพิ่มปีละ 12,000 ล้านบาท (ปัจจุบันจ่ายปีละ 68,000 ล้านบาท) ยังไม่นับ นโยบายมารดาประชารัฐ ตั้งครรภ์ปุ๊บได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3,000 บาท 9 เดือน 27,000 บาท ค่าคลอดอีกคนละ 10,000 บาท รวมคนละ 37,000 บาท และ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เดือนละ 2,000 บาท คนละ 114,000 บาท และนโยบายอื่นอีกมากมายที่ต้องใช้เงินมหาศาล ฯลฯ
ว่างๆ ลองช่วยกันคิดดูนะครับ อนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่างไร???
“ลม เปลี่ยนทิศ”