https://www.facebook.com/VoiceOnlineTH/videos/1112013998990598/
.
[ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีรับคำร้องเรียน 41 ส.ส. พรรครัฐบาลถือหุ้นสื่อ 32 กรณี และไม่รับคำร้อง 9 กรณี โดยทั้งหมดไม่ต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ ]
สิ่งที่น่าสนใจคือในเอกสารของศาลรัฐธรรมนูญได้ระบุถึงมาตรา 98 (3) ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับการถือหุ้นสื่อ ศาลอธิบายไว้ว่ามิใช่ให้ดูแต่เพียงเจตนาหรือความประสงค์จะทำกิจการดังกล่าวเท่านั้น ถึงแม้จะมีการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุประสงค์จะประกอบธุรกิจ พอที่จะใช้เป็นเหตุในการยื่นคำร้องต่อศาลได้
ถ้อยคำนี้เองที่เป็นเหตุให้เมื่ออ่านแล้ว สามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาที่แตกต่างไปจากศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งที่พิจารณาเพียงแต่ดูจากหนังสือบริคณห์สนธิ ที่มีวัตถุประสงค์เรียงข้อ ถ้ามีวงเล็บใดวงเล็บหนึ่งเป็นเรื่องทำสื่อเมื่อไหร่ก็ถือว่าประกอบกิจการสื่อ ถือหุ้นสื่อ และตัดสิทธิ์ทันทีอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้ว 2 ราย คือ นายภูวเบศร์ เห็นหลอด อดีตผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดสกลนครพรรคอนาคตใหม่ และนายคมสัน ศรีวนิชย์ อดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาชาติจังหวัดอ่างทอง ซึ่งไม่แน่ใจว่าสุดท้ายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อกรณีนี้จะออกมาเป็นอย่างไร
สุดท้ายแล้วถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้เกณฑ์ที่แตกต่างจากศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งตัดสินกรณีนี้ นั่นแปลว่าผู้สมัครสองรายที่ถูกตัดสิทธิไป จะเป็นเพียงสองรายเท่านั้นที่ถูกใช้เกณฑ์การดูวัตถุประสงค์ในหนังสือบริคณห์สนธิมาตัดสิทธิ์
การที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณารับคำร้องไว้ 32 รายและมีมติไม่ต้องให้หยุดการปฎิบัติหน้าที่ โดยให้เหตุผลไว้ว่า กรณีของ ส.ส. 41 รายที่พรรคอนาคตใหม่ยื่นไป เป็นการยื่นโดย ส.ส. เข้าชื่อ ไม่ได้มีการตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง ในขณะที่คดีของนายธนาธรนั้นผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มานั้น
ผมต้องเรียนชี้แจงว่ากรณีของนายธนาธรแม้จะผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้งมา แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง จนคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติออกมา แต่ทุกท่านก็ทราบกันดีว่าการไต่สวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นมีปัญหาเรื่องมาตรฐาน การไม่ได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาอย่างเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่นเปิดโอกาสให้ธนาธรไปชี้แจงเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น เรียกนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดาของธนาธรมาสอบสวน แต่เรียกมาสอบสวนตอนเช้าหนังสือส่งมาถึงตอนบ่าย ทำให้ไปชี้แจงไม่ทัน และที่สำคัญเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการไต่สวนขึ้นมา ยังไต่สวนไม่เสร็จเลย ยังมีหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงอยู่ แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสนอคำร้องไปศาลรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
อีกประเด็นหนึ่ง กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งว่า 32 รายนี้ไม่ต้องหยุดการปฎิบัติหน้าที่ เป็นการให้เกณฑ์เพิ่มเติมมาว่าจะดูจากแบบ บอจ. อย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องดูแบบ สสช.1 หรือแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมทั้งแบบนำส่งงบการเงินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทด้วย ว่ามีรายได้จากการประกอบกิจการใด พร้อมให้เหตุผลว่ากรณีของธนาธรนั้น กกต. ได้ส่งแบบ สสช.1 และแบบงบการเงินแนบเข้ามาด้วย ดังนั้นกรณีที่ร้อง 41 ส.ส. ที่ไม่ได้ส่ง สสช.1 และแบบงบการเงินมา จึงยังไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้องจริง เลยไม่สั่งให้หยุดการปฎิบัติหน้าที่
ตรงนี้ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะมีความปรารถนาดีในยามที่สังคมกำลังตั้งคำถามว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีมาตรฐานเท่าเทียมกันหรือไม่ จึงแถมประเด็นในย่อหน้าสุดท้ายของคำแถลงออกมาให้ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ในคำร้องเลย นี่คือสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญช่วยทำความกระจ่างให้
นี่จึงเป็นที่น่าเสียดายว่าในมติศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้คุณธนาธรยุติการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าทุกท่านย้อนกลับไปดู ซึ่งปรากฏอยู่ในข่าวสำนักงานเลขที่ 10/2562 ศาลรัฐธรรมนูญท่านไม่ได้พูดถึงเลยว่ากรณีธนาธรนั้นมีเหตุควรเชื่อได้ว่าจริง เพราะมีแบบ สสช. มีแบบงบการเงิน มีแบบ บอจ. ถ้าศาลรัฐธรรมนูญท่านพูดเอาไว้ในครั้งที่แล้ว เราก็จะได้รู้ว่าท่านจะเอามาตรฐานตามเกณฑ์นี้ ครั้งนี้เราจะได้เตรียมแบบ สสช. ไว้ด้วย เราก็เลยเพิ่งทราบจากศาลรัฐธรรมนูญ ก็เอาเป็นว่าวันนี้เราได้มาตรฐานแน่นอนแล้ว ถ้าท่านเข้าชื่อกันศาลท่านก็จะบอกว่าไม่มีการไต่สวน ดังนั้นช่องทางที่ผ่านและเหมือนจะมีการไต่สวนมาแล้วหนึ่งขั้น ก็คือการร้องที่ กกต.
อ่านข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกรณี 41 ส.ส. ได้ที่ :
http://www.constitutionalcourt.or.th/…/article_201906261831…
อ่านข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกรณี ธนาธร ได้ที่ :
http://www.constitutionalcourt.or.th/…/article_201905231759…
...
ศาลรัฐธรรมนูญ— kovitw (@kovitw1) June 26, 2019
รับคำร้อง 32 ส.ส. ปมหุ้นสื่อ แต่ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
น่าจะเกินกว่าคำว่า"ด้าน"เสียแล้ว