หมดตัวช่วย…เศรษฐกิจครึ่งปีหลังน่าห่วง
บทบรรณาธิการ
ประชาชาติธุรกิจ
29 June 2019
ครึ่งแรกปี 2562 ข่าวดีที่ทุกภาคส่วนคาดหวังและรอคอยถูกแทนที่ด้วยข่าวร้ายที่ประดังเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจ การค้า การเมือง ภายในและนอกประเทศสุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรง ทางอ้อม หากครึ่งปีหลังยังไม่มีปัจจัยบวกหนุนจะยิ่งฉุดความเชื่อมั่นในการบริโภค การลงทุนดิ่งกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้
ไม่แปลกที่นักวิเคราะห์วิจัยจากหลายสำนักจะทยอยปรับลดดัชนีชี้วัดสำคัญ ๆ ลง โดยเฉพาะการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปีนี้ถูกปรับลดผลการคาดการณ์ซ้ำ ๆ ล่าสุดวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา แม้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 1.75% ต่อปี แต่ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลงจาก 3.8% เหลือ 3.3%
ขณะที่การส่งออกแหล่งสร้างรายได้หลักเข้าประเทศ กำลังเผชิญกับความท้าทายจากปัญหาการกีดกันทางการค้า และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาหดตัวลง 5.8% ขยายตัวติดลบสูงสุดในรอบ 34 เดือน ส่วนการส่งออก 5 เดือนแรกปีนี้มูลค่าลดลง 2.7% อีก ช่วงครึ่งปีหลังยังต้องรอลุ้นให้ยอดส่งออกโตได้ 3% ตามเป้า
ไม่ต่างไปจากภาคการท่องเที่ยวที่อยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างหนัก โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างภูเก็ตยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งชาวจีน ยุโรป สแกนดิเนเวีย ลดลงชัดเจน กระทบถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งระบบ ส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าคนจีนลดวูบจากพิษเศรษฐกิจ สงครามทางการค้า และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
นอกจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมแล้ว การเมืองภายในประเทศแม้จะเริ่มชัดเจน และตามไทม์ไลน์
แม้รัฐบาลจากการเลือกตั้งจะเข้ามาบริหารประเทศราวกลางเดือน ก.ค.นี้ แต่กว่าจะแถลงนโยบายต่อสภา เข้าทำหน้าที่เป็นทางการอาจล่วงเลยไปถึงเดือน ส.ค.
น่าห่วงสุดคือการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่จะล่าช้าออกไป 4-5 เดือน เท่ากับปีนี้วงเงินงบประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท ซึ่งปกติจะจัดสรรให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ใช้จ่ายลงทุนตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ 1 ต.ค. 2562 จะถูกเลื่อนออกไปถึงต้นปีหน้า
ช่วง 6 เดือน ครึ่งปีหลังเม็ดเงินที่จะถูกอัดฉีดเข้าไปหมุนเวียนในระบบกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีน้อยกว่าปีก่อน แม้กระทรวงการคลังกับสำนักงบประมาณจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ใช้งบประมาณปี 2562 ไปพลางก่อน
ท่ามกลางสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบ 4 เครื่องยนต์หลัก ทั้งการบริโภค ลงทุนรัฐ ลงทุนเอกชน ส่งออก อ่อนแรงลงส่ออาการสะดุด แถมตัวช่วยภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีปัญหา เศรษฐกิจครึ่งหลังปีนี้จึงน่าห่วงยิ่ง
...
ไม่ต่างไปจากภาคการท่องเที่ยวที่อยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างหนัก โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวหลักอย่างภูเก็ตยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งชาวจีน ยุโรป สแกนดิเนเวีย ลดลงชัดเจน กระทบถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งระบบ ส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าคนจีนลดวูบจากพิษเศรษฐกิจ สงครามทางการค้า และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
นอกจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมแล้ว การเมืองภายในประเทศแม้จะเริ่มชัดเจน และตามไทม์ไลน์
แม้รัฐบาลจากการเลือกตั้งจะเข้ามาบริหารประเทศราวกลางเดือน ก.ค.นี้ แต่กว่าจะแถลงนโยบายต่อสภา เข้าทำหน้าที่เป็นทางการอาจล่วงเลยไปถึงเดือน ส.ค.
น่าห่วงสุดคือการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่จะล่าช้าออกไป 4-5 เดือน เท่ากับปีนี้วงเงินงบประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท ซึ่งปกติจะจัดสรรให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ใช้จ่ายลงทุนตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ 1 ต.ค. 2562 จะถูกเลื่อนออกไปถึงต้นปีหน้า
ช่วง 6 เดือน ครึ่งปีหลังเม็ดเงินที่จะถูกอัดฉีดเข้าไปหมุนเวียนในระบบกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีน้อยกว่าปีก่อน แม้กระทรวงการคลังกับสำนักงบประมาณจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ใช้งบประมาณปี 2562 ไปพลางก่อน
ท่ามกลางสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยปัจจัยลบ 4 เครื่องยนต์หลัก ทั้งการบริโภค ลงทุนรัฐ ลงทุนเอกชน ส่งออก อ่อนแรงลงส่ออาการสะดุด แถมตัวช่วยภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีปัญหา เศรษฐกิจครึ่งหลังปีนี้จึงน่าห่วงยิ่ง
...
ฟังชัดๆ!!! ซีอีโอห่วงการเมือง- เทรดวอร์ ทุบศก.https://t.co/qGlrlp4iDm #ฐานเศรษฐกิจ pic.twitter.com/zjEfLmtI8n— ฐานเศรษฐกิจ (@Thansettakij) June 29, 2019