วันอาทิตย์, เมษายน 01, 2561

ผู้ว่าฯ เชียงใหม่สั่งแจ้งความ จะเอาผิดกลุ่ม 'ซิตี้ไล้ฟ์' ไม่เข้าข่ายกฎหมายอะไรสักอย่าง :ความเห็น 'ไอลอว์'


น่าจะเงิบอีกคนนะ ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ที่พยายามหาข้อกฎหมายมาเอาเรื่อง การกระทำที่ยังไม่รู้ว่าผิดหรือเปล่า

กรณีออเจ้าให้ลูกน้องไปไล่เบี้ยกลุ่มรณรงค์เชียงใหม่ปลอดหมอกควัน แจ้งความด้วย พรบ.การกระทำบนคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๔ เอย มาตรา ๑๖ ด้วย

เอางี้ ให้ผู้ที่ถนัดเรื่องกฎบัตรกฎหมาย แม้ไม่ใช่ผู้ใช้บังคับก็น่าจะถนัดกว่า เพราะต้องคอยตรวจตราระแวดระวังไม่ให้ผู้ใช้บังคับ มั่วประจำอย่างเคย คอยเอาเปรียบ ก้ำเกิน และก้าวล่วง

ไอลอว์เขาถือเป็นพันธะหน้าที่ “ชวนทำความเข้าใจ พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ ว่าเขียนไว้กว้างแค่ไหน” ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ถึงได้ใช้ความพยายามคุ้ยหาองค์ความผิด มาใช้ฟ้องร้องกลุ่มคนที่ใช้สิทธิทางประชาธิปไตย เพื่อเอาใจเจ้านายนักรัฐประหารของตน

ท้าวความ :ตามที่มีข่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มอบอำนาจให้ปลัดอำเภอเข้าแจ้งความเอาผิด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “City Life Chiang Mai” ที่โพสต์ภาพอนุสาวรีย์อดีตพระมหากษัตริย์ล้านนาสามพระองค์ สัญลักษณ์ประจำเมือง โดยมีหน้ากากสวมปิดพระพักตร์ เพื่อสื่อสารประเด็นอากาศเป็นพิษในเมืองเชียงใหม่ ว่า เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ”

หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว “อธิบายว่า การโพสต์ภาพนี้บนสื่อออนไลน์เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม” ไอลอว์บอกว่า “เพียงแค่เหตุผลว่า ไม่เหมาะสม ยังไม่เพียงพอจะดำเนินคดีกับผู้โพสต์ให้รับผิดตามกฎหมายได้ เพราะพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไม่ได้กำหนดเอาผิดทุกการกระทำที่มีคนเห็นว่าไม่เหมาะสม

เมื่อลงรายละเอียด มาตรา ๑๔(๑) เอาผิดเรื่อง ข้อมูลบิดเบือนหรือปลอม ซึ่งก็ต้องเป็นการกระทำโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง “ซึ่งหมายถึงต้องเจตนาแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ ภาพลักษณะนี้ไม่มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ใด จึงไม่ผิดมาตรา ๑๔()

ส่วนมาตรา ๑๔(๒) ซึ่งไอลอว์ชี้ว่าในหนังสือลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พยายาม หาวิธีอธิบาย หาช่องว่างกฎหมาย และตีความอย่างขยายขอบข่าย “เพื่อลากให้มาเข้าความผิดตามมาตรา ๑๔() ให้ได้

การใช้ถ้อยคำให้กินความหมายกว้างขวางมากๆ เช่นบอกว่าทำให้เกิดความเสียหาย ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย หรือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน นั้นไอลอว์บอกว่า “อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า ประชาชนที่ดูภาพแล้วตื่นตระหนกตกใจกันแค่ไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์กันได้ยาก และไม่ชัดเจน

ไอลอว์ให้ความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า “ปัจจุบันยังไม่เคยเห็นคำพิพากษาศาลฎีกา ที่วางหลักการตีความคำว่า "เกิดความไม่มั่นคงในเศรษฐกิจ" เอาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ตามหลักการตีความกฎหมายที่กำหนดโทษให้ประชาชน ก็ต้องตีความอย่างแคบ ไม่ขยายขอบเขตออกไปบังคับใช้ตามอำเภอใจ

ครั้นจะใช้มาตรา ๑๔(๓) ที่ระบุว่า “ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อการร้าย การยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนก่อความไม่สงบ การก่อกบฏ การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ

ประเด็นท้ายนั่นไปเข้าไคล้ว่าหมิ่นบูรพกษัตริย์ ที่กระบวนตุลาการไทยด้วยวิจารณญานวิเศษสุดจะเอาผิดให้ได้ ทำนองเดียวกับที่ ส.ศิวรักษ์ โดนข้อหาหมิ่นพระนเรศวร ซึ่งไอลอว์ไม่ได้ให้ความเห็นไว้ในข้อนี้ แต่ข้ามไปว่าถึง ม.๑๔(๔) ที่ใช้เอาผิดเรื่องลามกอนาจารก่อน ซึ่งไอลอว์เห็นว่า “ก็ยังห่างไกลจากภาพอนุสาวรีย์มีผ้าปิดปาก

มาถึงขอบข่ายมาตรา ๑๖ ที่บอกว่า “ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ตามการวิเคราะห์ของไอลอว์ กรณีภาพสามกษัตริย์สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ “เอาภาพที่คนอื่นวาดมาโพสต์ โดยไม่ได้ตัดต่อ และไม่ได้ทำให้คนวาดเสื่อมเสีย จึงไม่น่าจะใช้ดำเนินคดีกับภาพอนุสาวรีย์มีผ้าปิดปากได้

ในวรรคสองของมาตรา ๑๖ ชี้เฉพาะเจาะจงว่า “ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อภาพของผู้ตาย และการกระทำนั้นน่าจะทำให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอายผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง

ประเด็นนี้ไอลอว์ไม่ได้วิเคราะห์ไว้ แต่เดี๋ยวจะลองใช้สามัญสำนึกของคนที่มีจิตยึดมั่นในสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลในระบอบประชาธิปไตยสากลมาอธิบายดูสิว่าพอจะฟังขึ้นบ้างไหม เพราะในกระบวนการยุติธรรมสากล เสียง (หรือความเห็น) ของผู้ถูกแจ้งโทษว่าร้าย ย่อมได้รับการ ฟัง จากตุลาการเสมอ

ประเด็นเอาภาพของคนอื่นมาโพสต์ แต่เป็นภาพของผู้ตายและน่าจะทำให้ “บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง...” ฯลฯ นั้นองค์บูรพกษัตริย์ล้านนาทั้งสามพระองค์ ไม่น่าจะมีผู้สืบสายเลือดหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน อันจะทำให้ได้รับความเสียหายดังกล่าวได้

แม้การสืบเนื่องราชวงศ์ต่างๆ เรื่อยมา ได้มีการเปลี่ยนสายเลือดแล้วหลายครั้งหลายหน แม้แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับราชวงศ์จักรีก็ยังไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน (การต่อเนื่องโดยพระสุบินนั้น ทางกฎหมายสากลไม่นับเป็นหลักฐาน หรือ ‘exibit’) นับประสาอะไรกับราชวงศ์ล้านนา

(หมายเหตุ บทความเต็มของไอลอว์ ที่นี่ https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551.646424.299528675550/10160317475065551/?type=3&theater)