วันจันทร์, เมษายน 23, 2561
ไม่ต้องการให้พวกคสช. สืบทอดอำนาจ เลือกพรรคตรงข้าม คสช. - ประชาชนต้องเป็นเสียงตัดสิน ออกไปใช้สิทธิ
เรื่องการเมืองการรวมตัวกันเป็นเรื่องปกติ ใครรักใครชอบใคร อุปนิสัยไปด้วยกันได้ก็มารวมกัน
แต่คำว่ากองหนุนมีความหมายมากกว่านี้ ในทางทหารเราใช้กองหนุนเพื่อเอาชนะ ในตำบลและเวลาแตกหัก
คสช. ถ้ามีอำนาจเลือก สว. ได้ทั้งหมดด้วยตนเอง ไม่มีการแยกกลุ่มก๊วนเหมือนแบบ ๔๐ สว. หรือกลุ่ม ๑๖ หรือกลุ่มงูเห่า แบบนี้ถึงเรียกกองหนุน
หรือสมัยหนึ่ง พรรค ปชป. ชนะการเลือกตั้ง แต่หัวหน้าพรรคไม่กล้าเป็นนายกฯเอง นั่นแปลว่ามีกองหนุนพิเศษเข้ามา
กองหนุนในสมัยนี้มีทหาร กับ ประชาชนเท่านั้น ฝ่ายคสช.ถ้าใช้กำลังทหารประจำการได้ ก็ถือว่าเป็นกองหนุน นอกเหนือจาก สว. ฝ่ายไม่เอา คสช. ถ้าประชาชนหนุนหลังมาก ไม่โดนหลอกให้บอยคอทการเลือกตั้งก็เป็นกองหนุนได้เพียงแต่ไม่มีปืน
ส่วนพรรคการเมืองที่รวมตัวกัน เป้าหมายมีอย่างเดียวคือการได้ร่วมรัฐบาล
แบบนี้เรียกได้แค่ว่าเป็นพันธมิตรกัน ซึ่งเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง
กองหนุนทางทหารจะใช้ ณ ตำบล เวลาแตกหัก (decisive terrain &time) หลังรู้ผลการลงคะแนนแล้วนั่นล่ะครับ ถึงจะเห็นพลังของกองหนุน
ผมว่า วันนี้ประชาชนต้องเป็นเสียงตัดสิน มิฉะนั้นทุกอย่างจะไม่จบ ใครชอบ คสช. ออกมาเลือกพรรคที่สนับสนุนหรือทำเป็นเงียบๆเรื่อง คสช. หรือแกล้งทำว่าคนหนึ่งด่า คนหนึ่งชม หรือขอดูผลก่อน ก็คือสนับสนุน คสช.
ใครไม่อยากอยู่แบบโง่ งมโข่งอีกต่อไปก็เลือกพรรคที่ไม่สนับสนุน คสช.ครับ
รักใคร ชอบใคร ต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่าให้เขาโกง
พงศกร รอดชมภู