เรียนท่านรัฐมนตรี รู้หรือไม่? ข้อมูลบน 'หน้าบัตรประชาชน' เอาไปทำอะไรได้บ้าง
.
หลายคนอาจจะตกใจ ร้องเสียงหลง หรืออยากยกมือทาบอก เมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยออกมาพูดถึงกรณีค่ายมือถือหนึ่งทำข้อมูลลูกค้านับหมื่นคนรั่วไหล ว่า “มีเพียงข้อมูลหน้าบัตรประชาชน” (ย้ำคำว่า 'เพียง') ไม่ใช่ข้อมูลเชิงลึกอะไร
.
ทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฏในหน้าบัตรประชาชน ก็มีข้อมูลเชิงลึกอยู่ตั้งหลายอย่างแล้ว!
.
ถ้าคุณมีอายุเกินเจ็ดขวบ เราเชื่อว่าทุกคนมีบัตรประชาชนอยู่ในกระเป๋าสตางค์ ลองหยิบขึ้นมาพินิจพิจารณากันดูว่า บนหน้าบัตรมีข้อมูลอะไรปรากฏอยู่บ้าง เลขบัตรประชาชน 13 หนัก ชื่อตัว-ชื่อสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด ที่อยู่ วันออกบัตร ผู้ออกบัตร วันที่บัตรหมดอายุ และรูปถ่าย
.
ซึ่งแค่ ‘ข้อมูล 8 อย่าง’ นี้ก็เอาไปทำอะไรได้มากมาย The MATTER จะเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้าง เพียงข้อมูลหน้าบัตรประชาชนนี่แหละ ไม่ต้องไปใช้เครื่องดูข้อมูลอะไรในชิปที่แปะมากับบัตรเลย
.
- เปิดบัญชีธนาคาร
- สมัครบัตรเครดิต
- เปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือ
- ขอสินเชื่อ/กู้เงิน
- เช็คข้อมูลภาษี
- ใช้สมัครงาน
- ใช้สมัครสมาชิกสินค้า/บริการบางประเภท
- ใช้ทำธุรกรรม
- ใช้ยืนยันตัวตน
- ใช้รับเงิน
- ใช้เข้าถึงข้อมูลอื่นๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
- ฯลฯ
.
ด้วยความหลากหลายของการใช้งาน เพียงหน้าบัตรประชาชนนี่แหล่ะ ทำให้มีการรณรงค์ว่าเมื่อนำสำเนาไปใช้ทำอะไรแล้ว นอกจาก #เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง เจ้าของบัตรจำเป็นจะต้อง #ขีดคร่อมด้วยว่าเอาไปใช้ทำอะไร และหากบัตรหายก็#ควรจะไปลงบันทึกประจำวันกับตำรวจไว้ แม้ว่าการทำบัตรใหม่ในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องใช้ใบแจ้งความแล้วก็ตาม (แม้ต้องเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท) แต่เพื่อความสบายใจ เพราะมีกรณีการขโมยบัตรไปก่ออาชญากรรมอยู่เนืองๆ เจ้าของบัตรจะได้นอนหลับได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องสะดุ้งตื่นขวัญผวา
.
สำหรับต้นทุนการผลิตบัตรประชาชนต่อใบ จะมีราคาเฉลี่ย 19 บาท 58 สตางค์ โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต้องจัดทำคำสั่งซื้อทุกๆ ปี เป็นเงินปีละหลายร้อยล้านบาท
- ปี 2560 จัดซื้อ 12.51 ล้านใบ ใช้งบประมาณ 246 ล้านบาทเศษ
- ปี 2559 จัดซื้อ 19.59 ล้านใบ ใช้งบประมาณ 387 ล้านบาทเศษ
- ปี 2558 จัดซื้อ 9.89 ล้านใบ ใช้งบประมาณ 204 ล้านบาทเศษ
โดยทุกสัญญามี บริษัท ดาต้าโปรดักส์ ทอปปัง ฟอร์ม จำกัด เป็นคู่สัญญา
.
และไม่เพียงบัตรประชาชนเท่านั้นที่มีข้อมูลสำคัญปรากฏอยู่บนหน้าบัตร กระทั่ง ‘ใบขับขี่’ หรือ ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ(บัตรคนจน)’ ก็ยังมีข้อมูลสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเลขบัตรประชาชนและวัด/เดือน/ปีเกิด
.
การที่ข้อมูลบนหน้าบัตรประชาชนรั่วออกมา จึงไม่ต่างจาก ‘ข้อมูลสำคัญ’ หลุดมาแทบจะทั้งยวงเลยต่างหาก (กระทั่งถ่ายรูปบัตรประชาชนแชร์ลงในโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันเขายังห้ามเลย อย่าว่าแต่ให้จับบัตรตัวจริง) จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
- อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thematter.co/quick-bite/thai-id-card/49810
.
.
[ The MATTER เคยทำสกู๊ปเอาไว้ว่า นอกจากบัตรประชาชนแล้ว ยังมีของสำคัญอีก 5 อย่างที่ห้ามโพสต์ลงในโซเชียลฯ เด็ดขาด เพราะอาจถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ประโยชน์ได้ และตัวเจ้าของนั่นแหล่ะที่จะเดือดร้อน อยากรู้ไหมมีอะไรบ้าง ลองคลิกเข้าไปอ่านกันดู https://thematter.co/byte/5-things-you-should-not-post-online/36991 ]
#Quickbite #idcard #TheMATTER
The MATTER
...
Panupat Taothaisong เป็นเจ้ากระทรวงที่ออกบัตรประชาชน แต่กลับไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองออก มันสำคัญยังไง (ท่านมาเป็นรัฐมนตรีได้ยังไง)
Natha Thawanapong ที่อยากรู้ตอนนี้คือหน้าบัตรของใครบ้างที่เป็นหมื่นกว่ารายนั้น ควรให้พวกเขารู้ตัวและไปแจ้งความทำบัตรใบใหม่ พร้อมทั้งยกเลิกบัตรใบเก่าด้วย ไว้เป็นหลักฐานว่าหากใครนำสำเนาหน้าบัตรใบนั้นมาใช้ เจ้าของบัตรตัวจริงก็ยังมีสิทธิ์ต่อสู้ได้ว่าอาจไม่ใช่เขาที่นำไปทำธุรกรรมที่เป็นปัญหา
ooo
https://www.facebook.com/thairath/videos/10156840713362439/
...
กสทช.สั่ง 'ทรู' รับผิดชอบและเยียวยาความเสียหายต่อลูกค้า ทั้งทางแพ่งและอาญา กรณีข้อมูลบัตรประชาชนหลุด ชี้ต้องรายงานผลการดำเนินการภายใน 7 วัน ส่งรายงานความคืบหน้าทุก 15 วัน หากไม่ดำเนินการพร้อมปรับฯ วันละ 2 หมื่นบาท #VoiceOnlinehttps://t.co/MzPNmG6HSD— Voice Online (@VoiceOnlineTH) April 18, 2018