ศาลทหารไม่ให้ประกัน “สิรภพ” คดี 112 ครั้งที่ 6 – จำเลยถูกคุมขังจวนครบ 4 ปี สืบพยานได้ 2 ปาก
27/04/2018
By Admin01
ที่มา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
27 เม.ย. 61 ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานโจทก์ในคดีของนายสิรภพ (สงวนนามสกุล) หรือ ‘รุ่งศิลา’ นักเขียนและกวีการเมือง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) จากการเขียนบทกลอนและเผยแพร่ข้อความในเว็บไซต์จำนวน 3 ข้อความ
ในนัดนี้ ศาลทหารนัดหมายสืบพยานโจทก์เป็นบุคคลทั่วไปผู้มาให้ความเห็นต่อเนื้อหาของข้อความที่จำเลยถูกกล่าวหา แต่พยานไม่มาศาล ทำให้ศาลทหารเลื่อนการสืบพยานโจทก์ออกไปเป็นวันที่ 6 สิงหาคม 2561 เวลา 8.30 น.
ในวันนี้ ครอบครัวของนายสิรภพยังได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อศาลทหาร โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นเงิน 500,000 บาท แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัวเช่นเดิม โดยทนายความระบุว่าครั้งนี้เป็นการยื่นขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดยศาลยังคงไม่อนุญาต ทำให้จนถึงปัจจุบันเขาถูกควบคุมตัวในเรือนจำมาเป็นเวลา 3 ปี 10 เดือน แล้ว
คดีนี้จำเลยถูกกล่าวหาว่าได้เขียนบทกลอนและข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 โดยใช้นามแฝงว่า “รุ่งศิลา” จำนวน 3 ข้อความ ข้อความหนึ่งเผยแพร่ลงในเว็บบอร์ดประชาไทในปี 2552 และอีกสองข้อความเผยแพร่ในเว็บบล็อกและเฟซบุ๊กส่วนตัวในปี 2556 และ 2557
นายสิรภพ ปัจจุบันอายุ 55 ปี เป็นนักกิจกรรมเสื้อแดง ใช้นามปากกา ‘รุ่งศิลา’ ในการเขียนบทความและกวีการเมืองในโลกออนไลน์ หลังรัฐประหาร เขาถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารขณะขับรถไปยังจังหวัดอุดรธานี ก่อนถูกนำตัวไปควบคุมตัวในค่ายทหารที่ขอนแก่นและกรุงเทพฯ จนครบ 7 วัน หลังจากนั้นเขาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งไม่ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนถูกส่งตัวไปฝากขังเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2557 ทำให้เขาถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา
อัยการทหารได้มีการสั่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2557 และศาลทหารนัดถามคำให้การตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 2557 โดยจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาสามปีครึ่งแล้ว คดีสืบพยานโจทก์ไปได้ทั้งหมดเพียง 2 ปาก โดยฝ่ายโจทก์มีการระบุพยานที่จะสืบจำนวนทั้งหมด 10 ปาก ส่วนฝ่ายจำเลยจะสืบทั้งหมด 3 ปาก
ในคดีนี้ อัยการทหารยังแถลงขอให้ศาลพิจารณาเป็นการลับ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร ซึ่งศาลทหารก็ได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับโดยตลอด ผู้สังเกตการณ์คดีโดยทั่วไปไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาได้
ในส่วนอีกคดีหนึ่งของสิรภพ ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวของ คสช. ศาลทหารกรุงเทพมีคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2559 โดยพิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 บาท โดยลดโทษจำคุกเหลือ 8 เดือน ปรับ 12,000 บาท เนื่องจากคำให้การเป็นประโยชน์ แต่ให้รอการลงโทษจำคุกเอาไว้ 2 ปี (ดูในรายงานและรายงานข่าว)
ที่มา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
27 เม.ย. 61 ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานโจทก์ในคดีของนายสิรภพ (สงวนนามสกุล) หรือ ‘รุ่งศิลา’ นักเขียนและกวีการเมือง ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) จากการเขียนบทกลอนและเผยแพร่ข้อความในเว็บไซต์จำนวน 3 ข้อความ
ในนัดนี้ ศาลทหารนัดหมายสืบพยานโจทก์เป็นบุคคลทั่วไปผู้มาให้ความเห็นต่อเนื้อหาของข้อความที่จำเลยถูกกล่าวหา แต่พยานไม่มาศาล ทำให้ศาลทหารเลื่อนการสืบพยานโจทก์ออกไปเป็นวันที่ 6 สิงหาคม 2561 เวลา 8.30 น.
ในวันนี้ ครอบครัวของนายสิรภพยังได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อศาลทหาร โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นเงิน 500,000 บาท แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัวเช่นเดิม โดยทนายความระบุว่าครั้งนี้เป็นการยื่นขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดยศาลยังคงไม่อนุญาต ทำให้จนถึงปัจจุบันเขาถูกควบคุมตัวในเรือนจำมาเป็นเวลา 3 ปี 10 เดือน แล้ว
คดีนี้จำเลยถูกกล่าวหาว่าได้เขียนบทกลอนและข้อความที่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 โดยใช้นามแฝงว่า “รุ่งศิลา” จำนวน 3 ข้อความ ข้อความหนึ่งเผยแพร่ลงในเว็บบอร์ดประชาไทในปี 2552 และอีกสองข้อความเผยแพร่ในเว็บบล็อกและเฟซบุ๊กส่วนตัวในปี 2556 และ 2557
นายสิรภพ ปัจจุบันอายุ 55 ปี เป็นนักกิจกรรมเสื้อแดง ใช้นามปากกา ‘รุ่งศิลา’ ในการเขียนบทความและกวีการเมืองในโลกออนไลน์ หลังรัฐประหาร เขาถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ทหารขณะขับรถไปยังจังหวัดอุดรธานี ก่อนถูกนำตัวไปควบคุมตัวในค่ายทหารที่ขอนแก่นและกรุงเทพฯ จนครบ 7 วัน หลังจากนั้นเขาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งไม่ไปรายงานตัวต่อ คสช. และถูกเจ้าหน้าที่จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แจ้งข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก่อนถูกส่งตัวไปฝากขังเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2557 ทำให้เขาถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา
อัยการทหารได้มีการสั่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2557 และศาลทหารนัดถามคำให้การตั้งแต่วันที่ 13 พ.ย. 2557 โดยจำเลยให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาสามปีครึ่งแล้ว คดีสืบพยานโจทก์ไปได้ทั้งหมดเพียง 2 ปาก โดยฝ่ายโจทก์มีการระบุพยานที่จะสืบจำนวนทั้งหมด 10 ปาก ส่วนฝ่ายจำเลยจะสืบทั้งหมด 3 ปาก
ในคดีนี้ อัยการทหารยังแถลงขอให้ศาลพิจารณาเป็นการลับ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร ซึ่งศาลทหารก็ได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับโดยตลอด ผู้สังเกตการณ์คดีโดยทั่วไปไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาได้
ในส่วนอีกคดีหนึ่งของสิรภพ ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวของ คสช. ศาลทหารกรุงเทพมีคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2559 โดยพิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 บาท โดยลดโทษจำคุกเหลือ 8 เดือน ปรับ 12,000 บาท เนื่องจากคำให้การเป็นประโยชน์ แต่ให้รอการลงโทษจำคุกเอาไว้ 2 ปี (ดูในรายงานและรายงานข่าว)