วันเสาร์, เมษายน 28, 2561

ชะตากรรม ของ "สนธยา คุณปลื้ม" และพรรคทหารในปัจจุบัน จะลงเอยเช่นไร






สนธยา คุณปลื้ม เข้าแก็งส์ไหนหัวหน้าตายหมด และชะตากรรม
ของสนธยาและพรรคทหารในปัจจุบัน

.........................
สนธยา คุณปลื้ม (10 ตุลาคม 2506) เป็นบุตรของ กำนันเป๊าะ นายสมชาย และนางยุพิน คุณปลื้ม เจ้าพ่อภาคตะวันออก ผู้เกี่ยวข้องกับคดีอาชญากรรมต่าง ๆ เช่น การค้าของเถื่อน การทุจริต และฆาตกรรม

ก่อนหน้านั้น กำนันเป๊าะ ได้เล่นการเมืองเบื้องหลังโดยสนับนักการเมืองคนอื่น ๆ รวมทั้งนายนิคม แสนเจริญ น้องเขยตัวเอง

จนกระทั่งสนธยาเข้าสู่การเมืองครั้งแรก เมื่ออายุ 29 ปี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ที่มีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรค

ในครั้งนั้นพรรคสามัคคีธรรมได้ 4 จาก 6 ที่นั่ง อย่างที่ทราบกันดีว่า พรรคสามัคคีธรรมคือพรรคที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น และชนะเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล ที่มีพล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี

แน่นอนว่า สนธยา คือ 1 ใน 195 เสียงที่โหวตให้สุจินดาเป็นนายก อย่างที่ทราบคือสุจินดาอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 47 วันก็ต้องลาออก ภายหลังการจากการปราบปรามประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาเลือด หลังจากนั้นพรรคสามัคคีธรรมก็ล่มสลาย เหมือนพรรคทหารก่อนหน้านั้น

ในการเลือกตั้ง 13 กันายน 2535 สนธยาได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ของพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยเริ่มต้นพรรคชาติพัฒนาเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาลชวน หลีกภัย และสนธยาก็เป็นหนึ่งในกลุ่ม 16 ที่เป็นการรวมตัวของ ส.ส. พรรคฝ่ายค้าน ที่มี เนวิน ชิดชอบ ไพโรจน์ สุวรณฉวี สุชาติ ตันเจริญ เป็นแกนนำ

แม้ต่อมาพรรคชาติพัฒนา จะพลิกลิ้นได้เข้าร่วมรัฐบาลชวน หลีกภัย ปลายปี 2537 สนธยาได้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ก็ไม่นานรัฐบาลชวน ก็ต้องยุบสภา อันเนื่องมาจากปัญหา ส.ป.ก. 4-01 ที่มีกลุ่ม 16 เป็นหัวหอกในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

หลังจากการเลือกตั้ง 2538 สนธยา คุณปลื้ม ได้ย้ายมาสังกัด พรรคชาติไทย ของบรรหาร ศิลปอาชา และในการเลือกตั้งครั้งนั้น สนธยา คุณปลื้ม ได้นำทีมพรรคชาติไทย ชนะเลือกตั้งแบบยกจังหวัดแต่รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ก็อยู่ได้ไม่นาน ก็ต้องยุบสภา ในวันที่ 27 กันยายน 2539

ในการเลือกตั้ง 2539 สนธยาคุณปลื้ม แม้จะนำทีม พรรคชาติไทย ชนะยกจังหวัดอีกครั้ง แต่ทว่า พรรคชาติไทย ของบรรหาร ศิลปอาชา ก็เป็นเพียงฝ่ายค้านเท่านั้น โดยมีรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จากพรรคความหวังใหม่ บริหารประเทศ ต่อมามีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล เป็น รัฐบาลชวน หลักภัย 2 สนทธยาได้ดำรงตำแหน่งรมช. มหาดไทย

ในการเลือกตั้ง 2544 สนธยา คุณปลื้ม ก็ยังคงสังกัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งครั้งนี้ สนธยา ได้นำ พรรคชาติไทยกวาด 6 ที่นั่ง เสียที่นั่ง ไปให้กับพลเรือโทโรช วิภัติภูมิประเทศ จากพรรคไทยรักไทย แต่ทว่า สนธยาก็ยังได้เข้าร่วมรัฐบาล ในนามพรรคชาติไทย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และเป็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547

และเมื่อถึงการเลือกตั้ง 2548 สนธยา คุณปลื้ม ได้ย้ายกลุ่มชลบุรีมาเข้าร่วมพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคไทยรักไทยได้กว่าที่นั่งทั้งจังหวัด จนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรคไทยรักไทยได้ 375 ที่นั่งจาก 500

แต่ทว่า พรรคไทยรักไทย ก็ โดนรัฐประหาร ใน 19 กันยายน 2549 และตามมาด้วยการยุบพรรคในวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 และสนธยาคือ 1 ใน 111 กรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสทิธิทางการเมือง 5 ปี

ดังนั้นในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 สนธยาได้แต่มองดูความพ่ายแพ้เพราะพรรคประชาธิปัตย์ชนะยกจังหวัดชลบุรีเป็นครั้งแรก

ต่อมาสนธยาคุณปลื้ม ได้ตั้งพรรคพลังชล ลงเลือกตั้งในปี 2554 ผลปรากฏว่า พรรคพลังชล ได้ 6 จาก 8 ที่นั่ง ในจังหวัดชลบุรี และระบบบัญชีรายชื่อ อีก 1 ที่นั่ง รวม 7 ที่นั่ง พรรคพลังชลได้เข้าร่วมรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีสุกุมล คุณปลื้ม ภรรยาสนธนาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555)

ต่อมาเมื่อครบ 5 ปีที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง นายสนธยา คุณปลื้ม ก็กลับมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แทนภรรยา

อย่างที่ทราบ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตร ก็ถูกรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 กล่าวได้ว่า สนธยา คุณปลื้ม คือหนึ่งในบุคคลที่เรียกว่าตัวซวนเพราะ เข้าแก๊งไหนหัวหน้าตายหมด โดยเฉพาะกับตระกูลชินวัตร
เข้าร่วมพรรคไทยรักไทย 2548 อีก 1 ปี 2549 ก็โดยรัฐประหาร
เข้าร่วม ครม.ยิ่งลักษณ์ ชิรวัตร 2555 อีก 2 ปี 2557 ก็โดนรัฐประหาร

ดังนั้นการเข้าร่วม ทำงานกับ คณะรัฐประหาร 2557 เราก็พอจะทราบกันดีว่า จุดจบของสนธยา คุณปลื้ม และพรรคทหารจะลงเอยเช่นไร

รานชื่อพรรคการเมือง ที่พรรคการเมือง สนธยา คุณปลื้ม เคยร่วมงาน

สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535 – 2538)
ชาติไทย (2538 – 2544)
ไทยรักไทย (2544 - 2549)
ภูมิใจไทย (2551 - 2554)
พลังชล (2554-ปัจจุบัน)


Thanapol Eawsakul